ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมด 20 ตารางฟุต หรือประมาณ 2 ตารางเมตร ผิวหนังของคนทั่วไปมีน้ำหนักรวมมากถึง 5 กิโลกรัม ผิวหนังแต่ละบริเวณจะมีความแตกต่างกันไปทั้งความหนา สี และลักษณะผิว เช่น บนศีรษะประกอบไปด้วยรูขุมขนมากกว่าผิวหนังบริเวณอื่น ผิวหนังบริเวณส้นเท้าและมือมีความหนามากกว่าบริเวณอื่น
ผิวหนังแบ่งเป็น 3 ชั้นด้วยกัน ได้แก่
1. หนังกำพร้า (Epidermis)
เป็นผิวหนังชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิดคือ 1) Squamous cells โดยจะหลุดออกอย่างต่อเนื่องเรียกว่า stratum corneum ซึ่งจะเป็นชั้นของขี้ไคล 2) Basal cells อยู่ใต้ Squamous cells ลงมา 3) Melanocytes ทำหน้าที่สร้างเมลานินซึ่งทำให้สีผิวของคนเราแตกต่างกันไป
2. หนังแท้ (Dermis)
อยู่ใต้ผิวหนังชั้นนอก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งแรง รูขุมขน เส้นเลือด เส้นประสาท ปลายประสาทรับความรู้สึก ท่อน้ำเหลือง ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน คอลลาเจนซึ่งสร้างจากไฟโบรบลาสต์ และอีลาสตินซึ่งช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น
3. ชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Layer หรือ Hypodermis)
ชั้นไขมันใต้ผิวหนังเป็นชั้นที่ลึกที่สุดของผิวหนัง ประกอบด้วยไขมันและเส้นใยคอลลาเจนประสานไขว้กันไปมา ช่วยรักษาความร้อนของร่างกายและปกป้องร่างกายจากการบาดเจ็บโดยทำหน้าที่เป็นตัวลดแรงกระแทก
- ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์จากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย
- ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
- เป็นแหล่งเก็บน้ำและไขมัน
- เป็นอวัยวะรับความรู้สึก
- สังเคราะห์วิตามินดี
- ขับเหงื่อและไขมัน