ส่งผลให้จำนวนการเพิ่มของประชากรพะยูนน้อย ‘พะยูน’ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น พะยูนกินหญ้าทะเลเป็นอาหารหลัก และยังเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศของหญ้าทะเลอีกด้วย
ตามมติคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 และนอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ที่เน้นเป้าหมายเพิ่มประชากรพะยูนและการดูแลพื้นที่อาศัยของพะยูนอีกด้วย
.
พะยูน ได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในปีพ.ศ. 2562 โดยอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือไซเตส (CITES) พะยูนได้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ลำดับที่ 86 ของบัญชีไซเตส ซึ่งเป็นสัตว์ที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัย และเพาะพันธุ์เท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยแหล่งที่พบพะยูนมากที่สุดคือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นบ้านหลังใหญ่ของพะยูนในประเทศไทย
และด้วยปัจจุบันมีการเติบโตของชุมชนชายฝั่งทะเล ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ยาฆ่าแมลงและสารเคมีเกษตรกรรมแผนใหม่ส่งผลกระทบและทำลายระบบนิเวศของหญ้าทะเล เมื่อพะยูนได้รับอาหารไม่เพียงพอทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ ย่อมส่งผลให้มีอัตราการสืบพันธุ์ที่ต่ำกว่าปกติหรือเป็นหมัน และลูกที่ได้ก็ไม่แข็งแรง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกพะยูนเสียชีวิตได้ง่าย จึงอยากให้พวกเราทุกคนตระหนัก และตื่นตัว ที่จะหันมาร่วมกันอนุรักษ์พะยูน สัตว์ทะเลหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูเหล่านี้ พร้อมทั้งดูแลรักษาท้องทะเลสีครามให้กลับมาเป็นบ้านที่สวยงามให้กับพะยูนต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: fm91bkk, คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง