Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รู้จัก 10 อาชีพเกี่ยวกับศิลปะและการออกแบบที่น่าสนใจ เป็นอาชีพที่ต้องการในอนาคต

Posted By Plook Magazine | 16 ส.ค. 65
80,560 Views

  Favorite

สำหรับใครที่กำลังมองหาอาชีพเกี่ยวกับศิลปะหรืออาชีพออกแบบ และเป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการทั้งในปัจจุบันและในอนาคต แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปทางไหน หรือจะเริ่มเรียนคณะอะไรดีให้ตรงกับสายงานที่ต้องการ วันนี้เรามีอาชีพด้านศิลปะและการออกแบบมานำเสนอให้ทุกคนได้ศึกษากัน เพื่อเป็นแนวทางในการหางาน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

 

1. ผู้กำกับศิลป์

ผู้กำกับศิลป์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาพและการจัดองค์ประกอบของงานต่าง ๆ เพื่อให้ภาพที่เราเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ สวยงามและตอบโจทย์ในการสื่อสารถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ผู้กำกับศิลป์ทำงานโดยดูแลภาพรวมของนักออกแบบและศิลปินในสื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ การแสดงสดหรือโฆษณา ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบและแนวทางเพื่อส่งสารหรือข้อมูลให้แก่ผู้ชม

 

cr. https://www.creativeboom.com/

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
• ปวช./ปวส. : ด้านศิลปะหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
• ปริญญาตรี : จบวุฒิการศึกษาด้านศิลปะหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น ศิลปบัณฑิต, ศิลปศาสตร์บัณฑิต, ศิลปประยุกต์บัณฑิต, นิเทศศาสตร์บัณฑิต หรือวุฒิวิชาชีพด้านการออกแบบอื่น ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

 

คณะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ ได้แก่
- คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
- คณะวิจิตรศิลป์- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะศิลปศึกษา
- คณะมัณฑนศิลป์
- คณะดิจิทัลมีเดีย
- คณะนิเทศศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม
1. รักและมีพื้นฐานด้านศิลปะ
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. มีความรับผิดชอบสูง
4. แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะด้านโปรแกรมที่เกี่ยวข้องตัวอย่างโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Adobe Photoshop, Adobe Illustrator, Adobe After Effect, Adobe Premier Pro เป็นต้น
2. ทักษะการสื่อสาร
3. ทักษะการเป็นผู้นำ
4. ทักษะการจัดการเวลา

 

 

2. นักบิดแสงและสี

อาชีพนักบิดแสงและสีหรือคัลเลอร์ลิสต์ (Colorist) คือ ผู้ปรับแต่งสี และแก้สีภาพในงานสื่อต่าง ๆ เช่น งานวิดีโอ MV, ภาพยนตร์ หรือภาพยนตร์โฆษณา เพื่อให้ตรงตามคอนเซ็ปต์ที่วางไว้ การบิดหรือปรับสีสามารถช่วยให้สื่อสารอารมณ์ ความรู้สึกได้ดีมากขึ้น

 

cr. https://jobschiangrai.com/

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
• ปริญญาตรี : สาขาวิชาภาพยนตร์ คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือสาขาด้านศิลปกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในสถาบันอื่น ๆ

 

ตัวอย่างสถาบันที่เปิดสอน
- คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ สาขาการผลิตภาพยนตร์
- คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาการออกแบบสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และดิจิตอล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และดิจิตอล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการออกแบบสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม
1. มีความรู้เรื่องศิลปะภาพยนตร์ หรือการทำสื่อต่าง ๆ
2. ชอบงานศิลปะ มีความรู้และเข้าใจความหมายของสี แสง เงา
3. มีความละเอียดรอบคอบ

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และตีความ
2. ทักษะการสื่อสารและเล่าเรื่อง
3. ทักษะด้านการตัดต่อ ลำดับภาพ
4. ทักษะด้านการใช้ทฤษฎีสี
5. ทักษะด้านการประยุกต์ใช้เครื่องมือเทคโนโลยี

 

 

3. นักออกแบบสามมิติ

นักออกแบบสามมิติ คือ ผู้ที่สร้างสรรค์และจำลองสิ่งต่าง ๆ ให้มีมิติขึ้นมา โดยการออกแบบผ่านโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน โครงสร้างอวัยวะของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วอย่างไดโนเสาร์ หรือแม้กระทั่งตัวละคร Animation ต่าง ๆ จะเห็นได้ว่างานออกแบบสามมิติมีส่วนเกี่ยวข้องกับแทบทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ การ์ตูน เกม โฆษณา สถาปัตยกรรม การศึกษา หรือกระทั่งการแพทย์ เพราะการรับรู้ของคนเราเป็นแบบสามมิติ ทั้งความกว้าง ความยาว ความลึก ดังนั้น การนำเสนอแบบสามมิติจะช่วยให้น่าสนใจ สมจริง สามารถเข้าใจและคล้อยตามได้ง่ายขึ้น

 

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
• ปวช./ปวส. : ด้านศิลปกรรม สาขาการออกแบบ มัลติมีเดีย เทคโนโลยีศิลปกรรม คอมพิวเตอร์กราฟิก หรือออกแบบนิเทศศิลป์ ฯลฯ
• ปริญญาตรี : หลักสูตรศิลปบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต ด้านนิเทศศิลป์ มัลติมีเดีย หรือคอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นต้น

 

งานออกแบบสามมิติสามารถศึกษาได้หลายหลักสูตร เช่น
- การออกแบบสนเทศสามมิติ
- สถาปัตยกรรมศาสตร์
- ออกแบบผลิตภัณฑ์
- Computer Graphics and Animation
- วิศวกรรมเครื่องกล
- วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม
1. มีความคิดสร้างสรรค์
2. ช่างสังเกต และเรียนรู้สิ่งรอบตัวที่มองเห็น
3. เชื่อมั่นในตัวเอง
4. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
5. มีวินัย อดทน
6. ละเอียดรอบคอบ
7. มีความรับผิดชอบ

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาในแต่ละโจทย์ที่ได้รับ
2. ทักษะการวางแผน
3. ทักษะด้านภาษา เพราะงานส่วนใหญ่จะถูกว่าจ้างจากต่างประเทศ
4. ทักษะการใช้โปรแกรม
5. ความเข้าใจในงานศิลปะและมิติสัมพันธ์

 

 

4. นักออกแบบผลิตภัณฑ์

เป็นอาชีพที่ดูเป็นงานแนวศิลปะ แต่ความจริงแล้วผสมผสานศาสตร์อื่น ๆ ไว้อย่างหลากหลาย ทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ตามรูปแบบของงานหรือโจทย์ที่ได้รับ

 

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
• ปวช./ปวส. : สาขาวิชาเทคโนโลยีออกแบบผลิตภัณฑ์
• ปริญญาตรี : หลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรมบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต ในสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์, ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, เทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม
1. ละเอียดรอบคอบ
2. มีความคิดสร้างสรรค์
3. ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่             
4. ทำงานภายใต้ความกดดันได้
5. มีความรับผิดชอบสูง

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะการสื่อสาร เพราะต้องมีการนำเสนอผลงานที่ต้องเรียบเรียงให้ดี เข้าใจง่ายและสื่อถึงรูปแบบงานได้ดี
2. ทักษะด้านศิลปะและองค์ประกอบศิลป์
3. ทักษะการจัดการเวลา
4. โปรแกรมเฉพาะทางของสายวิชาชีพ
5. ทักษะการนำเสนองาน ด้วยการสเก็ตแบบเร็ว ๆ ถือว่าได้เปรียบ เพราะจบงานง่าย เห็นภาพตรงกัน
6. ทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม อาจไม่ได้จำเป็นมาก แต่มีความรู้ติดไว้บ้างก็จะได้เปรียบ
7. ความเข้าใจพื้นฐานด้านงานช่าง เช่น งานไม้ งานเหล็ก งานเรซิน หรืองานปูน ควรมีความรู้เรื่องข้อจำกัดของวัสดุแต่ละชนิดว่าคืออะไร เข้าใจวิธีและขั้นตอนการของโรงงานว่าเป็นอย่างไร
8. ทักษะการเข้าใจสังคม

 

 

5. นักทำโมเดลอาหาร

ปัจจุบันในประเทศไทย การทำโมเดลอาหารได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหมู่ผู้ประกอบการร้านอาหารต่าง ๆ เพราะส่วนใหญ่ร้านอาหารจะใช้โมเดลในการจัดแสดงเมนูอาหารหน้าร้านเพื่อดึงดูดลูกค้า โดยเฉพาะร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี และร้านอาหารไทยแบรนด์ดังต่าง ๆ

นักทำโมเดลอาหารจะทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลงานโมเดลอาหารจากวัสดุต่าง ๆ ให้เหมือนของจริง หรือน่ารับประทานกว่าของจริง โดยใช้ความรู้และทักษะทางศิลปะ เพราะต้องทำทั้งหล่อแบบ แกะสลัก ปั้นขึ้นรูป การลงสี การเคลือบเงา

 

cr. https://marketeeronline.co/

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
• ปวช./ปวส. : ด้านศิลปกรรมหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
• ปริญญาตรี : สามารถเข้าศึกษาในสถาบันที่เปิดหลักสูตรศิลปะบัณฑิต เช่น
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ภาควิชาทัศนศิลป์ สาขาประติมากรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบเครื่องปั้นดินเผา สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาเซรามิก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาประติมากรรมและประติมากรรมเพื่อสังคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม
1. รักงานด้านศิลปะ
2. อดทนและมีสมาธิ
3. พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่
4. มีความคิดสร้างสรรค์
5. มีความละเอียดรอบคอบ
6. ช่างสังเกต

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะด้านศิลปะ
2. ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เพราะวัสดุบางอย่างที่นำมาใช้เป็นสารเคมี หรือมีการใช้สารเคมีผสมให้ได้ชิ้นงานที่เสมือนจริง
3. ทักษะการออกแบบ
4. ทักษะการวางแผนและจัดการเวลา ต้องมีการวางแผนการทำงาน ว่าควรทำชิ้นงานไหนก่อนหลัง เพราะบางชิ้นต้องใช้เวลามาก จึงต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและจัดการเวลาให้ดี
5. ทักษะการเรียนรู้

 

 

6. นักวาดภาพประกอบภาพยนตร์ / หนังสือ / การ์ตูน

นักวาดภาพประกอบเป็นผู้สร้างและเขียนหรือวาดภาพจากจินตนาการหรือจากแบบ เพื่อใช้ประโยชน์ และสื่อสารในสื่อต่าง ๆ

 

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
ตัวอย่างมหาวิทยาลัยและคณะที่เกี่ยวข้อง
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ วิชาเอกทัศนศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิจิตรกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปกรรม (ทัศนศิลป์) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

 

คุณสมบัติที่เหมะสม
1. รักการวาดภาพ
2. มีจินตนาการสูง
3. มีความคิดสร้างสรรค์
4. พร้อมเรียนรูสิ่งใหม่

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะการวาดภาพ
2. ทักษะด้านศิลปะ
3. ทักษะการเรียนรู้
4. ทักษะการนำเสนองาน

 

 

7. นักออกแบบแสงสถาปัตยกรรม

นอกจากข้อกำหนดทางกฎหมายเรื่องความสว่าง เราต้องสนใจทั้งฟังก์ชั่นและความสวยงาม ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจว่าส่วนไหนจะเน้นเรื่องอะไร นักออกแบบแสงสถาปัตยกรรมจะมีหน้าที่หลัก ๆ คือ ออกแบบแสงของอาคารสถาปัตยกรรม, เขียนวงจรไฟ, เลือกวัสดุ และตรวจสอบงาน การออกแบบแสงสว่างเป็นศาสตร์เฉพาะด้าน ซึ่งจะผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะ (ศิลปะการใช้แสง) โดยต้องประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีหลาย ๆ ด้านมาประกอบกัน

 

cr. https://www.linkedin.com/

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
• มัธยม : สายวิทย์-คณิต

คณะที่เกี่ยวข้อง
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม
1. มีความคิดสร้างสรรค์
2. ละเอียดรอบคอบ
3. ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่
4. มีความรับผิดชอบสูง
5. ทันสมัย ชอบตามเทรนด์
6. มองเห็นภาพในหลากหลายมิติ

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะการออกแบบวงจรไฟฟ้า
2. ทักษะการสื่อสาร
3. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์
5. ทักษะการบริหารจัดการ
6. ทักษะการใช้โปรแกรมออกแบบ

 

 

8. ช่างภาพ

ช่างภาพเป็นอาชีพที่สำคัญมากต่องานต่าง ๆ เพราะการถ่ายภาพคือการบันทึกเหตุการณ์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อถ่ายทอดความงาม เรื่องราว เหตุการณ์ ความรู้สึก สถานที่ หรือบุคคลต่าง ๆ

 

cr. https://www.freepik.com/

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
• ปวช./ปวส. : สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
• ปริญญาตรี : หลักสูตรศิลปบัณฑิต หรือเทคโนโลยีบัณฑิตในสาขาศิลปะการถ่ายภาพ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม
1. มีความคิดสร้างสรรค์
2. พร้อมเรียนรู้จุดเด่น-จุดด้อยของตัวเอง และฝึกฝีมืออยู่ตลอด
3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4. มีวินัย อดทน ตรงต่อเวลา
5. ใส่ใจในทุกรายละเอียด ใส่ใจในทุกองค์ประกอบ
6. มีความรับผิดชอบ
7. กล้าที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ ทั้งเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และเทคนิคการถ่ายภาพ

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะการคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา
2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบทางศิลปะการถ่ายภาพ
3. ทักษะการประยุกต์ใช้
4. ทักษะการใช้โปรแกรมแต่งภาพ
5. มีความเข้าใจเรื่องสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการถ่ายภาพ

 

 

9. นักออกแบบกราฟิก

นักออกแบบกราฟิก คือ ผู้ออกแบบภาพและตัวอักษรเพื่อใช้ในการสื่อสาร เราจะสังเกตได้ว่างานออกแบบกราฟิกมักจะปรากฎอยู่แทบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณา ปกหนังสือ ลายเสื้อ โลโก้สินค้าต่าง ๆ ตัวอักษร และอีกมากมายรอบตัว เพื่อใช้ในการสื่อสารให้ผู้คนเข้าใจความหมายที่ต้องการจะสื่อให้เห็นภาพนั่นเอง เนื่องจากกราฟิกนั้นมีอยู่ในทุกวงการ ทั้งโฆษณา สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ เว็บไซต์ต่าง ๆ งานอีเวนต์ และอีกมากมาย จะเห็นได้ว่าทุกสายงานล้วนต้องการนักออกแบบกราฟิก

 

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
• ปวช./ปวส. : ด้านศิลปกรรม สาขาการออกแบบ มันติมีเดีย เทคโนโลยีศิลปกรรม คอมพิวเตอร์กราฟิก หรือออกแบบนิเทศศิลป์ ฯลฯ
• ปริญญาตรี : หลักสูตรศิลปะบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต ด้านนิเทศศิลป์ มัลติมีเดีย หรือคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ

 

คุณสมบัตรที่เหมาะสม
1. มีความคิดสร้างสรรค์
2. ช่างสังเกต รักการเรียนรู้
3. เชื่อมั่นในตนเอง
4. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
5. มีวินัย อดทน
6. มีความเข้าใจคนอื่น
7. ละเอียดรอบคอบ
8. มีความรับผิดชอบ
9. กล้าที่จะลอง

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะการคิดวิเคราะห์
2. ทักษะการสื่อสาร
3. ทักษะการวาดรูป
4. ทักษะการประยุกต์ใช้
5. ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
6. ทักษะการจัดการเวลา
7. ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น Adobe Illustrator, Adobe Photoshop เป็นต้น

 

 

10. นักออกแบบผลิตภัณฑ์และไอเท็ม

ปิดท้ายด้วยอาชีพที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่จากโลก Metaverse อย่างที่หลาย ๆ คนพอจะทราบแล้วว่าในปัจจุบันได้มีการกำลังพัฒนาโลกของ Metaverse กันอยู่ ซึ่ง Metaverse ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือเป็นโลกเสมือนจริงนั่นเอง โลกเสมือนจริงกำลังจะเป็นพื้นที่ตลาดใหม่ในอนาคตที่หลายอุตสาหกรรมกำลังให้ความสนใจ เพราะฉะนั้นการสร้างสิ่งต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรม สถานที่ หรือสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีนักออกแบบโดยเฉพาะ เช่น ออกแบบเสื้อผ้า ออกแบบที่ดิน สิ่งของ และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

cr. https://www.freepik.com/

 

เส้นทางก้าวสู่อาชีพ
สาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- การออกแบบสนเทศสามมิติ
- สถาปัตยกรรมศาสตร์
- ออกแบบผลิตภัณฑ์
- Computer Graphics and Animation
- แฟชั่นดีไซน์
- ศิลปกรรมศาสตร์

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม
1. มีความคิดสร้างสรรค์
2. ช่างสังเกต และเรียนรู้สิ่งรอบตัวที่มองเห็น
3. เชื่อมั่นในตัวเอง
4. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
5. มีวินัย อดทน
6. ละเอียดรอบคอบ
7. มีความรับผิดชอบ

 

ทักษะที่ควรมี
1. ทักษะการคิดวิเคราะห์
2. ทักษะการวางแผน
3. ทักษะด้านภาษา
4. ทักษะการใช้โปรแกรม
5. ทักษะการแก้ปัญหา

 

นี่เป็นอาชีพด้านศิลปะและการออกแบบเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ยังเป็นที่ต้องการอยู่ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ยังมีอาชีพอีกมากมายที่น่าสนใจ บางอาชีพบางคนอาจจะคิดว่าเริ่มจะตายไปตามกาลเวลา แต่ในความจริงแล้วอาชีพเหล่านั้นได้มีการพัฒนาอยู่ตลอด หากนำมาปรับการทำงานให้เข้ากับยุคสมัยก็จะยังคงอยู่ต่อไป และก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่ตลอดไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี เพราะทุกอาชีพล้วนมีความสำคัญ เพียงแต่เราต้องรู้จากปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีด้วยเท่านั้นเอง

 

 

แหล่งข้อมูล
- รู้จักอาชีพนักสร้างสรรค์
- 6 อาชีพเกิดใหม่จากโลก Metaverse สกิลไหนทำเงินจากที่นี่ได้บ้าง?
- 14 อาชีพที่น่าสนใจ ทางด้านศิลปะ และการออกแบบ
- 10 อาชีพสายครีเอทีฟมาแรง นิเทศศาสตร์หลักสูตรใหม่ การผลิตเนื้อหาสร้างสรรค์และประสบการณ์ดิจิทัล
- นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- แนะ 12 งานสายอาร์ต เด็กกราฟิกต้องอ่าน
- 10 อาชีพนี้ เพื่อคนรักศิลปะ เท่านั้น!
- 7 สายงาน ‘นักวาดภาพประกอบ’ ที่ยึดเป็นอาชีพได้จริง
- โรงเรียนภาพยนตร์กรุงเทพ (Bangkok Film School)
- นักวาดภาพประกอบภาพยนตร์/หนังสือ/การ์ตูน
- 7 สิ่งที่ต้องรู้ กับการเป็น Lighting Designer | ฟาร์ ภคมน
- อาชีพช่างภาพ อีกหนึ่งอาชีพที่ง่ายและเป็นอิสระ
- 9 อาชีพด้านศิลปะ ที่น่าสนใจ

 
 
 
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow