ผื่นผ้าอ้อม คือการอักเสบของผิวหนังบริเวณที่ลูกสวมใส่ผ้าอ้อม พบมากในทารกวัย 9-12 เดือน มีลักษณะคล้ายผดหรือผื่นร้อน ก้นจะแดง อาจมีอาการแสบคันหรือมีเลือดซึมออกมาร่วมด้วย ผื่นผ้าอ้อมนี้เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบมากคือการอักเสบจากการระคายเคืองสัมผัส ผิวหนังเกิดความชื้น ผิวหนังลูกสัมผัสปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเวลานานเกินไป หรือเชื้อราจากผ้าอ้อม โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผ้าอ้อมแบบห่อเอง และผ้าอ้อมสำเร็จรูป
1. หากเป็นผื่นแดงเล็กน้อย ให้ทำความสะอาดผิวบริเวณที่เป็นผื่นอย่างอ่อนโยน เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และใช้ผลิตภัณฑ์เคลือบผิวที่เหมาะสม
2. หากเป็นผื่นแดง และอักเสบมาก พิจารณายาทาต้านการอักเสบชนิดอ่อน ( low-potency topical steroid ) ทาวันละ 2 เวลา เช้า เย็น
3. การรักษาผื่นผ้าอ้อม ควรทำร่วมกับการป้องกัน เพื่อให้การรักษาได้ผลไวขึ้น และป้องกันไม่ให้ผื่นผ้าอ้อมรุนแรงไปกว่าเดิม
4. หากรักษาแล้วไม่หายภายใน 3 วัน ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน
1. เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งที่เปียกชื้น หรือทันทีที่เด็กถ่ายปัสสาวะ อุจจาระเรียบร้อนแล้ว
2. หลีกเลี่ยงการใช้แป้ง เพื่อลดการเสียดสี อีกทั้งแป้งยังอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจได้
3. หลังเปลี่ยนผ้าอ้อม ควรทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนต่อผิวทุกครั้ง ซับให้แห้ง แล้วจึงใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่
4. สำหรับผ้าอ้อมสำเร็จรูป ควรเลือกใช้ที่มีคุณสมบัติดูดซับได้ดี
5. เลือกขนาดผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้พอดีกับลูก เพราะถ้าหลวมไป แน่นไป อาจทำให้เกิดการเสียดสีจนทำให้ผิวหนังอักเสบได้
6. ใช้ผลิตภัณฑ์เคลือบผิวทาบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม อาทิ ครีมหรือ Ointment ที่มี Zinc Oxide หรือ Petrolatum (วาสลีน) เพื่อเคลือบปกป้องผิวไม่ให้เกิดการระคายเคือง
7. ให้ผิวของลูกสัมผัสอากาศบ้าง โดยลดการใส่ผ้าอ้อมลง ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดคือหลังจากลูกขับถ่ายใหม่ ๆ เพราะลูกจะยังไม่ถ่ายอีกทันที หลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมและทำความสะอาดแล้วให้ทิ้งระยะช่วงหนึ่งเพื่อให้ผิวลูกได้สัมผัสอากาศ ผิวจะได้แห้ง ไม่อับชื้น