Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

9 ความรู้ทางการเงินที่จะช่วยให้เก็บออมได้มากขึ้น

Posted By Plook Magazine | 07 ม.ค. 65
6,356 Views

  Favorite

หลายคนอยากมีเงินเก็บแต่ก็ใช้เก่งจนเก็บเงินไม่เคยสำเร็จ ในเมื่อเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ นั้นสำคัญต่อการใช้ชีวิตมาก และไม่ค่อยมีสอนในห้องเรียน Plook Friends จึงอยากแชร์บทความเกี่ยวกับความรู้ทางการเงินดี ๆ ที่จะช่วยปลูกฝังนิสัยทางการเงินให้ดีขึ้น ช่วยให้สามารถเก็บออมได้มากขึ้น มาดูกันเลยว่าต้องทำยังไงบ้าง 

 

 

 

1. เก็บออมทุกเดือน

การเก็บออมอย่างน้อย 10% ของรายรับหรือรายได้ จะทำให้เรามีเงินเก็บที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ แนะนำว่าให้เก็บออมเป็นประจำทุกเดือน เมื่อได้รายรับหรือรายได้มาแล้วให้หักออก 10% ทันทีเพื่อเก็บออมทันที ส่วนใครอยากจะเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 20-30% ก็ได้เช่นกัน  

 

 

2. บันทึกและควบคุมรายจ่ายประจำวัน

การทำบันทึกรายรับรายจ่ายทุกวันจะช่วยให้เรารู้ว่าในแต่ละวันเราใช้เงินไปเท่าไหร่และหมดไปกับอะไรบ้าง การทำแบบนี้จะช่วยให้เราได้สำรวจตัวเองว่าในเดือน ๆ หนึ่ง เราใช้จ่ายรวมแล้วเท่าไหร่ และถ้าอยากจะประหยัดให้มากขึ้น เราควรจะควบคุมรายจ่ายอะไรให้ลดน้อยลง 

 

 

3. รู้จักใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล

เราต้องแยกให้ออกระหว่าง ‘ความต้องการ’ กับ ‘ความจำเป็น’ ก่อนจะใช้จ่ายลองคิดทบทวนดูว่าเราต้องการสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร เช่น เพราะมันจำเป็น เพื่อความหรูหรา เพื่อความสนุก ลองคิดดูว่าหากเราสนุกแล้วเป็นทุกข์ทีหลังเพราะเงินไม่พอจะโอเคไหม หรือจะใช้วิธีแยกเงินสำหรับใช้จ่ายเพื่อความสุขในแต่ละเดือนออกมาเลย เช่น เงินช้อปปิ้งเพื่อความบันเทิงเดือนละ 3,000 บาท ถ้าใช้หมดก็คือห้ามช้อปปิ้งแล้ว เป็นต้น

 

 

 

4. ไม่สร้างหนี้เกินกำลัง

คนเรานั้นไม่ควรมีหนี้เกิน 20% ของรายรับหรือรายได้ เช่น ปัจจุบันมีรายรับ 30,000 บาทต่อเดือน ก็ไม่ควรเป็นหนี้เกิน 6,000 บาท หากเราทำตามนี้ก็จะช่วยให้ไม่ต้องแบกภาระหนี้ที่หนักเกินไป เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายผ่อนหนี้ที่จะต้องจ่ายทุกเดือนแล้ว เราก็ควรจะต้องเก็บออมทุกเดือนให้ได้เหมือนเดิมด้วย ดังนั้นจึงควรวางแผนดี ๆ ก่อนที่จะมีหนี้สินระยะยาว

 

 

5. เก็บเงินสำรองฉุกเฉินทุกเดือน

เงินสำรองฉุกเฉิน คือ เงินออมเพื่อเอาไว้ใช้จ่ายในยามเกิดเหตุไม่คาดคิด เช่น ตกงาน เจ็บป่วย เป็นต้น การมีเงินออมตรงนี้จะช่วยให้เราใช้ชีวิตหรือบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้เหมือนเดิม แนะนำว่าควรมีเงินสำรองไว้อย่างน้อย 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เช่น ใช้จ่ายต่อเดือน 25,000 บาท ก็ควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 150,000-300,000 บาท


 

6. วางแผนเกษียณไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

เราในช่วงวัยรุ่นอาจจะมองว่าการเกษียณเป็นเรื่องไกลตัวมาก ๆ แต่การวางแผนเกษียณไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ตอนที่อายุยังน้อยหรือเพิ่งเริ่มทำงานจะดีต่อตัวเราในอนาคตมาก ๆ เพราะเมื่อถึงวัยเกษียณที่ไม่มีรายได้แล้ว หากเราไม่มีเงินออมสำหรับใช้จ่ายเลยจะทำให้ใช้ชีวิตได้ลำบากมาก ลองนึกคร่าว ๆ ว่าชีวิตในวัยเกษียณเราต้องใช้เงินเดือนละประมาณเท่าไหร่เพื่อจะได้วางแผนเก็บเงินไว้ล่วงหน้า 

 

 

 

7. จัดแบ่งบัญชีให้ดี

การมีบัญชีธนาคารเพื่อเอาไว้ใช้จ่ายตามเป้าหมายที่เราวางไว้จะช่วยให้ทำได้สำเร็จมากขึ้น เช่น บัญชีเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บัญชีใช้จ่ายหนี้ บัญชีเพื่อเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน บัญชีเพื่อจ่ายภาษี บัญชีเพื่อลงทุนสำหรับตอนเกษียณ บัญชีช้อปปิ้งสิ่งของที่อยากได้ ฯลฯ การทำแบบนี้จะทำให้เราจัดสรรบัญชีและการใช้เงินได้ดีขึ้น

 

 

8. ศึกษาเรื่องการลงทุน

การลงทุนสามารถช่วยให้เงินงอกเงยได้มากขึ้น แต่ก่อนจะเริ่มลงทุนขอแนะนำให้ศึกษาวิธีหรือรูปแบบการลงทุนแต่ละประเภทให้ดีก่อน ดูว่าเราเหมาะกับการลงุทนแบบไหน และต้องเข้าใจด้วยว่าทุกการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นเงินที่จะนำมาลงทุนจึงควรเป็นเงินเย็นและไม่ใช่เงินสำรองฉุกเฉิน 

 

 

9. เรียนรู้เรื่องภาษี

เมื่อโตขึ้นและต้องทำงานมีรายได้ มีทรัพย์สินที่มากขึ้น เรื่องของภาษีก็จะแวะเวียนเข้ามาในชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเรียนรู้เรื่องภาษีจึงสำคัญและจำเป็นมาก เราควรเข้าใจวิธีคำนวณภาษีเพื่อจะได้วางแผนดูว่าสามารถลดหย่อนภาษีได้ด้วยวิธีไหนบ้าง 


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณเป็นคนที่มีความฉลาดทางการเงินพอหรือเปล่า ?

เรียนรู้วิชาการเงินผ่าน 5 พอดแคสต์การเงินฟังง่าย

รวมความรู้ทางการเงินที่วัยรุ่นควรรู้ก่อนเรียนจบ #อายุน้อยก็รวยได้

• เทคนิคเก็บเงินสำหรับวัยรุ่นวัยเรียน เป๋าตังค์ตุงได้แบบไม่ต้องอด

รวมไอเดียเก็บเงินที่วัยรุ่นวัยเรียนทำได้จริง ไม่ยากเลย !

ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม อยากขอทุนเพื่อส่งตัวเองเรียนต้องทำยังไง ?

แนะนำวิชาน่าเรียนที่โรงเรียนไม่ได้สอน แต่มีเรียนบนโลกออนไลน์ฟรี

รู้เท่าทันภัยทางการเงินที่อาจทำให้เราหมดตัวได้ !

เพราะชีวิตต้องใช้เงิน การลงทุนตั้งแต่วัยรุ่นจึงสำคัญ

เทคนิคการเก็บเงิน ตามแบบฉบับคนที่จนที่สุดในโลก

รวม ‘กองทุนรวม’ สำหรับคนงบน้อย เริ่มลงทุนได้ตั้งแต่ 1 บาท

The Psychology of Money จิตวิทยาการเงินที่จะทำให้เรามั่งคั่งร่ำรวย !

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow