Proper Nouns เป็นคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของ Common Noun จะต้องขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของประโยค เช่น
ชื่อคน (Person Name) เช่น Somsak, Tom, Daeng
ชื่อสถานที่ (Place Name) เช่น Australia, Bangkok, Sukhumvit Road, Toyota
ชื่อบอกระยะเวลา (Time name) เช่น Saturday, January, Christmas
Proper Nouns ปกติจะไม่มี determiner นำหน้า นอกจากอยู่ในรูปของพหูจน์ เช่น the Jones (ครอบครัวโจนส์), the United States, the Himalayas แต่บางคำนามที่ไม่ได้อยู่ในรูปพหูพจน์ก็มี determiner นำหน้า เช่น The White House, the Sahara, the Pacific ( Ocean ), the Vatican, the Kremlin
Common Noun เป็นคำนามที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ทั่ว ๆ ไป ความคิด โดยไม่เฉพาะเจาะจง กล่าวโดยสรุปคือ คำนามทั้งหลายที่ไม่ใช่ proper nouns เป็น common nouns เช่น
คน/สิ่งของ boy, sign, table, hill, water, sugar, atom, elephant
สถานที่ city, hill, road, stadium, school, company
เหตุการณ์ revolution, journey, meeting
ความรู้สึก fear, hate, love
เวลา year, minute, millennium
Common Nouns แบ่งออกเป็น
- นามรูปธรรม (Concrete Nouns) คำนามที่จับต้องได้ เช่น โต๊ะ (table), เก้าอี้ (chair)
- นามนามธรรม (Abstract Nouns) คำนามที่จับต้องไม่ได้ เช่น hope(ความหวัง), Beauty (ความสวย)
Common Nouns เป็นได้ทั้ง นามนับได้ (Countable) และนามนับไม่ได้ (Uncountable)
คำนามนับได้ (Countable Noun) เป็นคำนามที่สามารถนับจำนวนได้ มี 2 รูป คือ เอกพจน์และพหูพจน์
- การใช้นามนับได้เอกพจน์ ต้องนำหน้าด้วย article ‘a/an’
a ใช้กับคำที่ขั้นต้นด้วยพยัญชนะ เช่น a book, a pencil, a cat, a table, a knife เป็นต้น
an ใช้กับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ a, e, i, o, u เช่น an umbrella, an apple, an owl เป็นต้น
- การใช้นามนับได้พหูพจน์อาจจะนำหน้าด้วย articles หรือไม่ก็ได้ เช่น
I like to feed the birds. (เฉพาะเจาะจง ต้องมี articles ‘the)
Cats are interesting pets. (ไม่เฉพาะเจาะจง ไม่ต้องมี article)
I want those books on the table. (those เป็น determiners)
คำนามนับไม่ได้ (Uncountable Noun) เป็นคำนามที่ไม่สามารถนับได้โดยใช้เลขบอกจำนวน เช่น rice, sugar, money, water เป็นต้น การบอกจำนวนของคำนามนับไม่ได้ สามารถบอกได้ในรูปของภาชนะที่ใช้เก็บสิ่งนั้น เช่น a cup of coffee, a bag of sugar, a bottle of Coke, a bowl of cereal เป็นต้น หรือใช้ some, any นำหน้าคำนามนับไม่ได้ เช่น
Let’s listen to some music.
Do you have any idea?
1. คำนามทำหน้าที่เป็นประธาน (subject) จะอยู่ต้นประโยค เช่น My boss bought a new lamborghini for his wife. **My boss เป็นประธาน
2. คำนามทำหน้าที่เป็นกรรม (object) จะตามหลังกริยา เช่น My boss bought a new lamborghini for his wife. **a new lamborghini เป็นกรรม
3. คำนามต้องตามหลัง article (a, an, the) เช่น a car, an apple, The boy
4. ถ้ามีการแสดงความเป็นเจ้าของ คำนามจะตามหลัง Possessive adjective และ ’s เสมอ เช่น My boss, his cat, John's book
5. ถ้าในประโยคมีคำคุณศัพท์ (adjective) คำนามจะตามหลังคำคุณศัพท์เสมอ เช่น new car, blue dress
6. คำนามจะอยู่หลังคำบุพบท (Preposition) เสมอ เช่น My boss bought a new lamborghini for his wife. ** for เป็น Preposition ตามหลังด้วยคำนาม wife ที่ตามหลังสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ his