Personal Pronoun (บุรุษสรรพนาม) คือสรรพนามที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของในการพูดสนทนา มี 3 บุรุษ คือ
บุรุษที่ 1 คือ ตัวผู้พูด
บุรุษที่ 2 คือ ตัวผู้ฟัง
บุรุษที่ 3 คือ ผู้ที่พูดถึงหรือสิ่งที่พูดถึง
Personal Pronoun |
||
|
Subject Pronoun |
Object Pronoun |
สรรพนามบุรุษที่ 1 |
I We |
me us |
สรรพนามบุรุษที่ 2 |
You |
you |
สรรพนามบุรุษที่ 3 |
He She It They |
him her it them |
Subject Pronoun (สรรพนามรูปประธาน) ทำหน้าที่เป็นประธาน ได้แก่ I, you, we, he, she, it, they
ex. I am Thai.
(ฉันเป็นคนไทย)
ex. She is my friend from England.
(เธอเป็นเพื่อนของฉันมาจากอังกฤษ)
ex. It is a very interesting movie.
(มันเป็นหนังที่น่าสนใจมาก ๆ)
Object Pronoun (สรรพนามรูปกรรม) ทำหน้าที่เป็นกรรม ได้แก่ me, you, us, them, him, her, it โดยจะตามหลังคำกริยาหรือคำบุพบท
ex. She is going to meet me next week.
(เธอจะมาพบฉันสัปดาห์หน้า)
*me เป็น Object Pronoun ตามหลังกริยา meet
ex. Mr.Wilson talked with him about the project.
(คุณวิลสันพูดกับเขาเกี่ยวกับโครงการ)
* him เป็น Object Pronoun ตามหลังบุพบท with
หมายเหตุ : ถ้ากริยาเป็น verb to be สรรพนามที่ตามหลังจะใช้เป็นประธานหรือเป็นกรรม ให้พิจารณาว่า สรรพนามในประโยคนั้นอยู่ในรูปผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ เช่น
It was she who came here yesterday.
(เธอคนนึ้ ที่มาเมื่อวานนี้) *ใช้ she ที่เป็นรูปประธานเพราะเป็นผู้กระทำ
It was her whom you met at the party last night.
(เธอคนนี้ที่คุณพบที่งานเลี้ยงเมื่อคืนนี้) *ใช้ her ที่เป็นรูปกรรมเพราะเป็นกรรมของ you met
Possessive Form สรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
Possessive Form |
|
Possessive Adjective |
Possessive Pronoun |
my |
mine |
your |
yours |
our |
ours |
their |
theirs |
his |
his |
her |
hers |
its |
its *ไม่ค่อยใช้ |
Possessive Adjective สรรพนามใช้แสดงความเป็นเจ้าของทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ ได้แก่ my, your, our, their, his, her, its จะต้องตามหลังด้วยคำนามเสมอ
ex. My brother is an engineer.
(น้องชายเขาฉันเป็นวิศวกร)
ex. His parents were gone.
(พ่อแม่ของเขาได้จากไปแล้ว)
The dog is eating its food.
(สุนัขกำลังกินอาหารของมัน)
Possessive Pronoun สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ mine, yours, his, hers, its, yours, ours, theirs รูปแบบนี้ไม่ต้องมีคำนามตามหลัง สามารถใช้เดี่ยว ๆ ได้เลย
ex. This iPad is mine.
(ไอแพดเครื่องนี้คือของฉัน)
ex. That house is ours.
(บ้านหลังนั้นเป็นของพวกเรา)
Reflexive Pronouns (สรรพนามตนเอง) คือ สรรพนามที่อ้างถึงตัวของประธานของประโยคเอง และถูกนำมาใช้เป็นกรรมของประโยคเพื่อเน้นว่าตัวประธานนั้นทำกริยาบางอย่างต่อตัวเอง (Direct Object) หรือทำกริยาหรือกิจกรรมบางอย่างนั้นให้ตัวเอง (Indirect Object) ได้แก่ myself, yourself, himself, herself, yourselves, ourselves. themselves, itself จะใช้รูป -self หรือ -selves ขึ้นอยู่กับว่าประธานเป็นรูปเอกพจน์ (Single Subject) หรือว่าพหูพจน์ (Plural Subject)
ex. I have some food on the table. You can help yourselves if you are hungry.
(ฉันมีอาหารวางอยู่บนโต๊ะ ถ้าพวกเธอหิวเธอจัดการตัวเองได้เลย)
ex. I cut myself with a kitchen knife.
(ฉันทำมีดบาดตัวเอง)
ตัวอย่างประโยคข้างต้นเป็นการใช้ Reflexive Pronouns เพื่อเป็นกรรมหลัก (Direct Object) เพราะว่ากริยาของประโยคเป็นการบ่งบอกว่าทำสิ่งนั้นกับประธานเอง อย่างไรก็ตามสามารถใช้ Reflexive Pronouns เป็น กรรมรอง (Indirect Object) เพื่อบอกว่ากริยาหรือกิจกรรมนั้นทำเพื่อตัวประธานของประโยคเอง และอาจใช้บุพบท for หรือ to เพื่อเน้นตัว Indirect Object
ex. My father bought himself a car.
(พ่อฉันซื้อรถยนต์ให้ตัวเขาเอง)
car คือ Direct Object ส่วน himself เป็น Indirect Object
ex. I sent a postcard to myself when I was on vacation.
(ฉันส่งไปรษณีย์ให้ตัวเองตอนที่ฉันไปพักร้อน)
postcard คือ Direct Object ส่วน myself เป็น Indirect Object และ to เน้นว่า myself คือ Indirect Object
อ่านเนื้อหาเรื่อง Reflexive Pronoun เพิ่มเติมได้ที่ : Grammar: การใช้ Reflexive Pronouns (สรรพนามแสดงตนเอง) อย่างละเอียด
Definite Pronouns หรือ Demonstrative Pronouns คือ สรรพนามที่บ่งชี้ชัดเจนว่าใช้แทนสิ่งใด เช่น this, that, these, those, one, ones, such, the same, the former, the latter
ex. I will never forget this.
(ฉันจะไม่ลืมเรื่องนี้เลย)
Grace and Jane are good girls. The former is more beautiful than the latter.
(เกรซและเจนเป็นเด็กดีทั้งคู่ แต่คนแรก (เกรซ) สวยกว่าคนหลัง (เจน))
Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่เจาะจง) คำสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นคนใด สิ่งใด หรือที่ใด โดยสรรพนามประเภทนี้ส่วนมากนับเป็นเอกพจน์ (singular) แต่ก็มีบางคำเป็นพหูพจน์ (plural) ด้วย เช่น one, all, some, any, somebody, something, someone, many, both
ex. Everybody is here for celebrating Christmas Day together.
(ทุกคนมาฉลองวันคริสมาตส์ด้วยกัน)
ex. Your PC is already broken. You’d better buy a new one.
(คอมพิวเตอร์ของคุณพร้อมจะพังเต็มที คุณซื้อเครื่องใหม่ดีกว่านะ)
ex. Many have suffered from starvation.
(หลายคนต้องทนทุกข์ทรมานจากความอดอยาก)
Relative pronoun (สรรพนามเชื่อมความ) สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในประโยคหน้าและความประโยคหลังให้มีความหมายไปทางเดียวกัน ได้แก่ Who, Whom, Whose, Which, That
ex. There is a boy who is running in the park.
(มีเด็กผู้ชายที่กำลังวิ่งอยู่ในสวน)
ex. All the dogs that got adopted today will be loved.
(สุนัขทุกตัวที่รับเลี้ยงในวันนี้จะกลายเป็นที่รัก)
Interrogative Pronoun (สรรพนามคำถาม) ใช้ในการตั้งคำถาม เช่น Who, Which, What
ex. What is your name? (คุณชื่ออะไร)
ex. Which movie do you want to watch? (หนังเรื่องไหนที่คุณอยากดู)