Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคนิคการจดโน้ตให้เป็นมิตรกับสมอง ช่วยให้จำเนื้อหาได้

Posted By Plook Magazine | 03 ธ.ค. 64
8,841 Views

  Favorite

จุดปราบเซียนในการอ่านแล้วจำได้ไม่ลืมอาจอยู่ที่วิธีที่เราจดโน้ต การรู้วิธีจดโน้ตให้ตัวเองจำได้แม่นเป๊ะและในขณะเดียวกันก็เป็นวิธีที่สมองชอบก็เหมือนเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกตั้งสองตัว ไปดูเทคนิคการจดโน้ตให้เป็นมิตรกับสมอง ไอเดียเกิด จำเนื้อหาได้จากนักเขียนชาวญี่ปุ่น ‘โคนิชิ โทชิยูกิ’ (Konishi Toshoyuki)

 

 

มาจดโน้ตให้เป็นมิตรกับสมองกันเถอะ

Cr.freepik/benzoix

 

สมองของคนเรานั้นมีน้ำหนักแค่ 3 ปอนด์หรือ 1.5 กิโลกรัม ประกอบด้วยเซลล์ประสาทกว่า 50 พันล้านเซลล์ (ไม่ใช่ 84,000 เซลล์ตามที่นายกกล่าว) สมองของคนเราทำหน้าที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ควบคุมการรับรู้ การคิด การเรียนรู้และการจำ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ควบคุมความรู้สึกและพฤติกรรม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสมองไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะการรับรู้เพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอวัยวะทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งจะรวมถึงการคิด การเรียนรู้ การจำ และพฤติกรรมของมนุษย์ โดยสมองจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ซีกซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน

 

เวลาอ่านหนังสือสมองซีกซ้ายจะคิดเป็นเหตุเป็นผลและเป็นขั้นตอน ทำความเข้าใจ จดจำ รับข้อมูลทีละน้อย เป็นขั้นตอนเรียงตามลำดับ สมองซีกซ้ายจะรับข้อมูลทีละช้า ๆ ส่วนสมองซีกขวาจะคิดไม่เป็นขั้นตอน ทำความเข้าใจและจดจำรับข้อมูลทีละมาก ๆ ใน 1 ครั้ง รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว เวลาทำงานสมองซีกซ้ายจะมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ในการคำนวณและการวิเคราะห์ ส่วนสมองซีกขวามีความสามารถในการวางแผน การคิดสร้างสรรค์และการมองการณ์ไกลได้ดี 

 

หากเราอยากจดโน้ตที่เป็นมิตรกับสมอง เราต้องใช้สมองทั้ง 2 ซีกให้เท่า ๆ กันและทำให้สมองทั้งสองซีกมีการทำงานประสานกันเป็นทีมเวิร์คให้มากที่สุดในระหว่างที่เราบรรจงจดโน้ต โดยทุกครั้งที่เราจดโน้ตเราต้องมีเป้าหมายเอาไว้ในหัวคร่าว ๆ ดังนี้

 

• เรียง เรียบเรียงประเด็นสำคัญให้ได้

เป้า กำหนดเป้าหมายในการจดโน้ต

แก้ พิจารณาวิธีแก้ไขปัญหา

ค้น ค้นหาไอเดียใหม่ ๆ 

แนะ ให้คำแนะนำต่อคนอื่นได้ นำเสนอได้ ถ่ายทอดออกไปได้

 

ขั้นตอนการจดโน้ตให้สมองชอบ จำแม่นและไม่ลืมง่าย มีอยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การจดโน้ตสำหรับสรุปข้อมูล การจดโน้ตสำหรับคิดไอเดีย และการจดโน้ตสำหรับถ่ายทอดความคิด ซึ่งทุกครั้งที่เราจดโน้ตเราจะต้องนึกถึง 3 ก้อนนี้เพื่อการจดข้อมูลที่อ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องพึ่งความทรงจำและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในอนาคต เพื่อเวลาที่กลับมาอ่านสิ่งที่โน้ตไว้ทีหลังก็ยังสามารถต่อเติมไอเดียได้เหมือนอย่างที่เจ้าของหนังสือเขาเกริ่นมาว่า ก่อนหน้านี้เขาก็จดโน้ตไม่เป็น แต่พอได้มาทำงานด้านโฆษณากับแบรนด์ดัง ๆ อย่าง Toyota หรือ Sony เจ้าตัวก็เลยเรียนรู้วิธีจดโน้ตให้เวิร์คด้วยประสบการณ์การทำงานมานานกว่า 20 ปี  

 

สรุป + หาไอเดีย + ถ่ายทอด

 

 

การจดโน้ตสรุปข้อมูล

Cr.f.hatena.ne.jp

 

ใส่ Ο (วงกลม) 3 อัน

• ใส่ตรงข้อมูลที่ถูกต้องและสำคัญ

• ใส่ตรงสิ่งที่น่าจะลืม

• ใส่ตรงข้อสงสัยเพื่อให้คิดวิเคราะห์วิธีแก้ปัญหาได้แม่นยำ

 

ใส่ → (ลูกศร)

• สร้างความเป็นระเบียบ ทำให้เข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น

• ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลชัดเจนและเป็นระบบ

• แสดงทิศทางของไอเดียหรือลำดับการคิดเมื่อต้องกลับมาคิดไอเดียในอนาคต

• ช่วยให้เกิดข้อสงสัยเมื่อข้อมูลที่แตกต่างหรือไม่สอดคล้องกัน ทำให้ค้นพบประเด็นปัญหาใหม่

 

ใส่สัญลักษณ์อื่น ๆ

???? = คู่แข่ง, ปัญหา

❓ = คำถาม, ข้อสงสัย

⭕️ ❌ = แนวทางที่ถูกและผิด

ใส่ ❌ ไว้ในแนวทางที่ผิด, สิ่งที่เข้าใจผิด

ใส่ Ο ในหน้าสิ่งที่ค้นพบ

⭐️ = สำคัญเป็นพิเศษมากกว่า Ο

⇔ = เปรียบเทียบสองสิ่งที่ตรงข้ามกัน

 

 

การจดโน้ตคิดหาไอเดีย

Cr.anaki.goat.me

 

โน้ตคำถาม

• สร้างเป้าหมายในการคิดทำให้กระตุ้นให้เราคิดแก้ปัญหา

• เป็นการกำหนดขอบเขตช่วยสร้างกรอบความคิดให้รู้ว่าต้องเริ่มคิดจากตรงไหน

 

โน้ตการ์ตูน

• รูปภาพและคำพูดทำให้สมองจดจำได้ง่าย

• ทำให้เกิดจินตนาการเรื่องราว เข้าใจภาพและความรู้สึกของตัวการ์ตูน

• การ์ตูนไม่จำเป็นต้องสวยอลังการ ขอเเค่เป็นภาพจำให้สมองจำเท่านั้น

 

โน้ตด้วยสามเหลี่ยมสีดำสองอัน 

• หาเหตุผลของความไม่พอใจเบื้องหลัง

• เป็นภาพสามเหลี่ยมสองอันทับซ้อนกันบางส่วน ฝั่งซ้ายเป็นข้อมูล ฝั่งขวาเป็นความไม่พอใจ ส่วนทับซ้อนตรงกลางคือคุณค่าที่แท้จริงที่ต้องการ

 

โน้ตเชื่อมโยง 

• ช่วยเรียบเรียงและสร้างผลงานได้ดี ลดการผิดพลาด

• เป็นการคิดทีละขั้นแล้วมาผูกกันเป็นเรื่อง เช่น ทำไมถึงมีปัญหานี้ → แก้ด้วยวิธีนี้ดีไหม → แต่วิธีนี้มีปัญหานี้ → งั้นทำแบบนี้เพิ่มไหม

 

จดโน้ตด้วยความคิดตรงกันข้าม

• เป็นการคิดไอเดียแบบคิดย้อน เช่น จากสาเหตุ → ผลลัพธ์ เปลี่ยนเป็น ผลลัพธ์ → สาเหตุ

 

 

การจดโน้ตถ่ายทอดความคิด

Cr..amazon.co.jp

 

ใส่หัวเรื่อง 

• ใส่วันเดือนปี หัวเรื่อง 

• ใส่ประเด็นสำคัญ เหมือนเป็นหัวข้อข่าว ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร 

 

จดโน้ตแผนภูมิ 

• แปลงข้อมูลให้เป็นรูปภาพ

• แผนภูมิระดับความสำคัญ ทำให้เห็นสัดส่วนข้อมูลและรู้ว่าสิ่งไหนสำคัญกว่า เช่น แผนภูมิวงกลม (pie chart) เป็นต้น

• แผนภูมิบ้าน ทำให้เห็นโครงสร้างของข้อมูลและมองเห็นความเกี่ยวข้องของข้อมูล

• แผนภูมิความสัมพันธ์ ลักษณะคล้าย mindmap โดยเน้นเส้นหนาที่ความสัมพันธ์ที่สำคัญ เหมาะกับเวลาต้องการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือการส่งเสริมการขาย เพราะทำให้รู้จุดแข็งและจุดอ่อน

 

จดโน้ตนำเสนอ

• เริ่มด้วย “ทำไม…ถึง…” เพราะคนจะสนใจเมื่อเกิดข้อสงสัย

• ใช้ตัวเลขมาช่วยกระตุ้นความน่าสนใจ

• จดโน้ตแบบเดียวกับชื่อหนังสือคือดึงดูดความสนใจผู้ฟัง

• จดประเด็นพูดเป็นข้อ ข้อละ 1 บรรทัดสั้น ๆ 

• ตั้งข้อสงสัยให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ แล้วจึงไขข้อสงสัยนั้น


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับการจดบันทึกแบบ 'บูโจ' ที่จะทำให้เรากลับมาสนุกกับการจดอีกครั้ง

Input & Output วิธีจดจำเนื้อหาให้ได้มากกว่า 90% โดยจิตแพทย์ญี่ปุ่น

เทคนิคจด Short Note ให้อ่านง่ายจำแม่น

เคล็ดลับที่จะทำให้เราเก่งขึ้น 1% ทุกวัน

เบื่อจัง ชีวิตจะเป็นอะไรได้อีก ถ้าหากไม่ได้เป็น ‘คนเรียนเก่ง’

รวมเทคนิคการจำ ที่จะช่วยให้กลายเป็นคนจำแม่น อ่านอะไรก็ไม่ลืม

ตั้งใจเรียน ไม่เคยเท แต่ทำไมเกรดตก นี่เราพลาดอะไรไป ?

Critical Reading & Critical Thinking แพ็คคู่แห่งความเจริญทางปัญญา


 

แหล่งข้อมูล

- โคนิชิ โทชิยูกิ. (2562). จดโน้ตแบบนี้สมองชอบจัง. แปลจาก 仕事のスピード・質が 劇的に上がるすごいメモ。. แปลโดย ทินภาส พาหะนิชย์. กรุงเทพฯ: วีเลิร์น

- Brain Basics: Know Your Brain 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow