ผลกระทบแรกที่ชัดเจนก็คือ แมลงคือสัตว์ในห่วงโซ่อาหารที่บรรดานก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลา กินเป็นอาหาร หากแหล่งอาหารอย่างแมลงหายไป สัตว์เหล่านี้จะขาดอาหาร และสัตว์ใหญ่ที่อาศัยกินสัตว์ในห่วงโซ่อาหารต่อมาก็ต้องล้มตายเป็นทอด ๆ ตัวอย่างจากการศึกษาของการหายไปของแมลงและสัตว์ต่าง ๆ ที่เปอร์โตริโก ก็พบว่า เมื่อแมลงหายไป ปริมาณนกและกบก็หายไปร้อยละ 50-65 ส่วนนกท้องถิ่นเปอร์โตริกัน โทดี (Puerto Rican tody) ที่กินแต่แมลง ก็หายไปอย่างน่าใจหายร้อยละ 90
ร้อยละ 80 ของการผสมเกสรของพืชทั่วโลกเกิดขึ้นโดยผึ้ง พืชจำพวกธัญญาหารมักจะได้รับการผสมเกสรทางลม แต่พืชประเภทอื่น เช่น ผลไม้ ถั่ว ผักต่าง ๆ รวมถึงโกโก้ และกาแฟ ต่างเป็นผลงานชิ้นเอกของผึ้ง แต่ถิ่นที่อยู่ของผึ้งกำลังหายไป และต้องถูกซ้ำาเติมด้วยสารเคมีฆ่าแมลง นอกจากนี้แมลงยังเป็นผู้ที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินด้วยการย่อยสลายเศษซากพืช ซากสัตว์ และของเสียในสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนเป็นธาตุอาหารอินทรียวัตถุทำให้ผืนดินอุดมสมบูรณ์ กระบวนการผลิตอาหารเหล่านี้กำาลังล่มสลายไปด้วยการใช้สารเคมี ซึ่งทวีฤทธิ์รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งแมลงซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนระบบนิเวศตามธรรมชาติไม่สามารถฟื้นตัวได้ทัน เมื่อไม่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ก็ไม่มีอาหาร ไม่มีแหล่งน้ำที่สะอาด ดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก หรือแม้แต่อากาศดีๆ สำหรับหายใจ
1. ร่วมกันแบนการใช้สารเคมีอันตรายหลักในการทำาเกษตร อาทิเช่น พาราควอต คลอร์ไพริฟอส ไกลโฟเสท ซึ่งสารเคมีอันตรายเหล่านี้ ท้ายที่สุดแล้วก็ส่งผลต่อคนเช่นกัน
2. ลดการบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีกระบวนการทำลายป่าไม้ และปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ เพื่อเป็นอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง เป็นการทำลายถิ่นที่อยู่ของแมลง ใช้สารเคมีมหาศาล และก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ และทางอากาศตามมา (จากการเผาวัสดุการเกษตรในที่โล่ง)
3. อุดหนุนและสนับสนุนอาหารที่ผลิตขึ้นด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ที่จริงแล้วเกษตรกรรมเชิงนิเวศไม่ใช่วิธีการทำาเกษตรแบบใหม่แต่อย่างไร แต่เป็นวิถีเกษตรแบบดั้งเดิมที่บรรพบุรุษของไทยเราทำกันมา โดยที่ไม่ใช้สารเคมี และอิงวิถีธรรมชาติ ไม่เน้นการผลิตเพื่อปริมาณและอุตสาหกรรม เกษตรกรรมเชิงนิเวศ จะเลี่ยงการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและส่งเสริมความหลากหลายเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของน้ำและดิน ซึ่งเอื้อกับการผสมเกสรของแมลง และมีกระบวนการควบคุมโรคและศัตรูพืชตามธรรมชาติ สุขภาพของคนปลูกและคนกินก็ดีตามด้วย
แม้จะหน้าตาไม่น่ารัก แต่มนุษย์เราและโลกของเราจะคงอยู่ไม่ได้หากปราศจากแมลง หนึ่งในนักวิจัยของงาน Worldwide Decline of the Entomofauna: A Review of Its Drivers กล่าวว่า “ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงวิธีในการผลิตอาหาร แมลงทั้งหมดจะสูญพันธุ์ไปภายในไม่กี่สิบปี” และหากวันที่น่ากลัวนั้นมาถึง ไม่อยากจะคาดคิดเลยว่า อาหารการกินเราจะเป็นอย่างไร โลกของเราจะเป็นอย่างไร ช่วงเวลากว่าที่ระบบนิเวศจะฟื้นฟูทดแทนสายพันธุ์ที่หายไปมาได้ที่อาจกินเวลานับร้อยนับพันปี ระหว่างนั้น ลูกหลานของเราจะอยู่อย่างไร เพราะฉะนั้น เราต้องช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมและช่วยให้แมลงได้อยู่รอด ก่อนที่เราจะเหลือเพียงแต่ภาพถ่ายและภาพวาดของแมลงที่เก็บไว้ให้รุ่นต่อ ๆ ไปได้เห็นได้ชม
จากวิทย์ปริทัศน์ ฉบับที่ 6/2564 ประจำเดือนมิถุนายน 2564