Verbal Irony (ประชดวาจา) เป็นคำอุปมา คือการที่ผู้พูดพูดบางสิ่งบางอย่างที่ตรงข้ามกับสิ่งที่พวกเขาหมายถึง เช่น
Telling a quiet group, “don’t everybody speak all at once”
การบอกกับกลุ่มที่เงียบสนิทว่า “ทุกคนอย่าพูดพร้อมกันนะ”
Coming home to a big mess and saying, “it’s great to be back”
เมื่อกลับมาถึงบ้านพบกับความยุ่งเหยิงเลยพูดว่า “ดีใจที่ได้กลับมา”
Telling a rude customer to “have a nice day”
พนักงานบอกกับลูกค้าที่หยาบคายว่า “ขอให้มีวันที่ดีนะคะ”
Walking into an empty theater and asking, “it’s too crowded”
เมื่อเดินเข้าไปในโรงละครอันว่างเปล่าและเอ่ยว่า “คนมากจัง”
If it’s raining you’d say “it’s a beautiful day”
ถ้าฝนตกแล้วคุณพูดว่า “ช่างเป็นวันที่งดงาม”
Dramatic Irony (ประชดละคร) เป็นเทคนิคการเล่าเรื่องที่ให้ผู้ชมมีข้อมูลมากกว่าตัวละครในเรื่อง อุปกรณ์ทางวรรณกรรมชั้นเลิศนี้ได้รับความนิยมมากในโศกนาฏกรรมกรีก และในความเป็นจริงแล้ว ทั้งรูปแบบ ทั้งมุมมองที่แตกต่างกันมักนำไปสู่ผลลัพธ์อันน่าเศร้า เช่น
ในเรื่องโรมิโอแอนด์จูเลียต ผู้ชมรู้ว่าจูเลียตแค่หลับ ไม่ได้ตาย แต่โรมิโอไม่รู้ เขาเลยฆ่าตัวตาย
ในภาพยนตร์ของดิสนีย์ Beauty and the Beast ผู้ชมรู้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้วว่าอสูรคือเจ้าชาย แต่เบลล์ไม่รู้
Situational Irony (ประชดสถานการณ์) คือผลลัพธ์ของสถานการณ์ที่แตกต่างจากที่ผู้คนคาดหวังโดยสิ้นเชิง Irony รูปแบบนี้เป็นเทคนิคทางวรรณกรรมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและแตกต่าง เช่น
A fire station that burns down – ไฟไหม้สถานีดับเพลิง
Winner of a spelling bee failing a spelling test. - ผู้ชนะการสะกดคำ แต่สอบตกในการสอบสะกดคำ
A police station being burglarized. – สถานีตำรวจถูกยกเค้า
A t-shirt with a “Buy American” logo that is made in China. – เสื้อเชิ้ตซื้อที่อเมริกา แต่ที่ป้ายบอกว่า ผลิตที่จีน
It rains right after you wash your car. – ฝนตกทันทีหลังจากล้างรถ
a dentist with severe tooth decay. – หมอฟันฟันผุขั้นรุนแรง
โครงเรื่องของละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์มักใช้เทคนิค Situational Irony เสมอ เพื่อสร้างจุดพลิกผันอันน่าประหลาดใจและคาดไม่ถึงในตอนจบ หรือสื่อสารข้อความไปยังผู้ชม เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความเพลิดเพลินของผู้ชม และยังทำให้เกิดกระแสเป็นหัวข้อพูดถึงหลังจากรับชมไปแล้วอีกด้วย ภาพยนตร์เรื่องดังที่ใช้เทคนิค Situational Irony เช่น Parasite, Get Out, Fight Club, Shrek, Gone Girl, The Wizard of Oz, The Sixth Sense