Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

6 เคล็ดลับสร้างภูมิคุ้มกันต้านความเศร้าจาก TED Talks

Posted By Plook Magazine | 21 ต.ค. 64
6,175 Views

  Favorite

ความเศร้าเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นเมื่อเจอสถานการณ์ที่ยากลำบาก หากใครไม่เคยรู้สึกเศร้าเลยแสดงว่าเขาพลาดส่วนหนึ่งของความหมายของการเป็นมนุษย์ไปแล้ว นอกจากนี้ความเศร้ายังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญญาอีกด้วย (Wisdom) เช่น ความเศร้าของต้นไม้ที่เสียใบของมันไปในฤดูใบไม้ร่วง คือการเข้าใจว่าเราจะมีดอกไม้สวย ๆ ให้ชมเมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึง นั่นเพราะชีวิตไม่มีทางเป็นดั่งอิโมจิยิ้มแฉ่งอยู่ตลอดเวลา แทนที่จะนั่งกังวล มาทำความเข้าใจและหาคำตอบให้ตัวเองกันว่าเมื่อมีอารมณ์เศร้าแล้ว เราควรจะจัดการมันอย่างไรไม่ให้มันกัดกินเราจนป่วยใจ

 

 

ทานผลไม้รสเปรี้ยว

ช็อกโกแลต ไอศกรีม เฟรนช์ฟรายส์ พิซซ่า คุกกี้ และเค้ก ขอหงายการ์ดบอกไว้ก่อนว่าของหวานเหล่านี้แม้มันจะช่วยให้เราหายจากอารมณ์เศร้าได้อย่างรวดเร็ว (เวลาที่เราเครียดหรือเศร้า น้ำตาลในเลือดจะต่ำ) เนื่องจากน้ำตาลจะเข้าไปทำให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินส่งผลให้เราอารมณ์ดีขึ้นอย่างรวดเร็วตามมา แต่เอ็นดอร์ฟินที่ขึ้นชื่อว่าเป็นยาแก้ปวดชั้นดีจากธรรมชาติที่หลั่งออกมาในสมองเมื่อร่างกายของเราเผชิญกับความเครียดที่ได้จากการกินของหวาน ๆ น้ำตาลสูงถือเป็นแหล่งเอ็นดอร์ฟินที่ส่งผลเสียต่อเราภายหลังได้เช่น เสพติดของหวาน มีน้ำตาลในเลือดสูง แถมยังทำให้ผิวหน้าเหี่ยวเกินวัย หากเราเครียดให้ลองเปลี่ยนจากการเปิดตู้เย็นหรือกดสั่งเค้กหวาน ๆ มาเป็นผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้ม หรือผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เนื่องจากผลไม้รสเปรี้ยวช่วยลดความเครียดและคลายกล้ามเนื้อที่เเน่นและตึงจากความเครียดให้ผ่อนคลายลงได้ 

 

 

ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน 

เมื่อรู้สึกเหนื่อยหน่ายท้อแท้ รู้สึกแย่กับเรื่องต่าง ๆ ถ้าคุณยังมีแรงเหลืออยู่บ้าง แนะนำให้ลุกขึ้นมาคาร์ดิโอแบบต่อเนื่อง หรือไม่ก็เทรนนิ่งแบบมีแรงต้าน (Resistance Training) คือการออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์อย่างดัมเบล หรือยางยืด ช่วยลดอาการวิตกกังวลได้ในทุกระดับเพราะเราต้องใส่ใจกับท่าทางในการยกน้ำหนักและความรู้สึกของร่างกายให้มากจนสมองแทบจะคิดเรื่องอื่นไม่ได้อีก พยายามขยับให้ช้าและจับความรู้สึกไปยังกลุ่มกล้ามเนื้อที่ต้องออกแรง เช่น ทุกครั้งที่งอแขนยกน้ำหนักขึ้นมาให้รู้สึกถึงการหดเกร็งของไบเซ็ปส์ค้างไว้สัก 1 นาที ทำสมาธิแล้วยกมันขึ้นเหมือนคุณกำลังจะยกเรื่องหนักอกหนักใจในหัวทิ้งไปด้วย แล้วโฟกัสถึงความแข็งแรงและความมั่นคงของตัวเองไว้

 

 

ยิ้มเข้าไว้ 

มีงานวิจัยที่เนิร์ดมาก ๆ ชิ้นหนึ่งของคุณ Ron Gutman ที่ชื่อว่า The hidden power of smiling พวกเขาทำการวิจัยความสุขและความสำเร็จของคนจากรอยยิ้มที่ถ่ายในหนังสือรุ่นของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เป็นเวลา 30 ปี พวกเขาพบว่าคนที่ยิ้มเยอะ ๆ ในหนังสือรุ่นจะอายุยืนกว่าคนที่ไม่ยิ้ม หรือยิ้มหน่อย ๆ โดยคนที่ยิ้มจะมีอายุยืนยาวถึง 80 ปี ในขณะคนที่ยิ้มหน่อย ๆ จะอยู่ที่ 70 กว่าปี การยิ้มจะทำให้เราค่อย ๆ รู้สึกดีขึ้น และยังช่วยกระตุ้นกลไกการให้รางวัลของสมองในลักษณะเดียวกับการได้กินช็อกโกแลต 2,000 แท่งหรือได้เงิน 16,000 ปอนด์ ช่วยลดฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอล อะดรีนาลีน และโดปามีน โดยจะช่วยเพิ่มระดับของฮอร์โมนที่สร้างอารมณ์ดีอย่างเอ็นดอร์ฟิน ลดความดันโลหิตไม่ให้สูง ทำให้เกิดความรู้สึกมั่นใจ ทำให้บรรยากาศมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้

 

 

ฟังเพลงที่มีเสียงเบสต่ำ 

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นพบว่า เพลงที่เน้นเสียงเบสจะทำให้เรามีพลังและมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น ขณะที่สถาบันดนตรีบำบัด British Academy of Sound Therapy ทดลองใช้เพลงในการบำบัดและพบว่าการฟังดนตรีที่มีเสียงเบสต่ำ ๆ จะทำให้เรารู้สึกมีพลัง ส่วนเสียงเบสหนัก ๆ จะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ แต่อาจจะทำให้เสียสมาธิและทำงานไม่รอบคอบได้ เพลงบรรเลงที่มีเมโลดี้เรียบ ๆ เหมาะกับการฟังเพื่อให้มีสมาธิ ดนตรีคลาสสิกจะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ดนตรีป็อปที่มีดนตรีสนุกสนานจะช่วยกระตุ้นการรับรู้ให้ดียิ่งขึ้นหรือมีความสดใสมากขึ้น

 

 

ออกไปสร้างประสบการ์ณบางอย่าง

การกินหรือช้อปปิ้งเป็นเรื่องสนุกและชุบชูใจได้ดีจริง ๆ กระเป๋าใบใหม่ทำให้เราแฮปปี้ แต่มันจะจบลงแบบเดียวกับกระเป๋าใบก่อนหน้าที่เคยทำให้เราแฮปปี้นั่นแหละ ความสุขชั่วคราวที่ต้องมีตังค์ซื้อถึงจะได้มาเป็นดาบสองคม แต่การทำกิจกรรมที่เราเข้าไปมีส่วนร่วม กิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดแข็งของเราจะมอบผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากว่า เช่น หากเราเป็นคนที่รักการเรียนรู้ให้ลองเล่นกีฬาชนิดใหม่ อยากปลูกต้นไม้ในห้องนั่งเล่นให้ไปเข้าร่วมกับสวนชุมชนและหาแปลงปลูกผักเป็นของตัวเอง หรือเป็นคนที่หยุดถ่ายรูปไม่ได้เมื่อเห็นอะไรสวย ๆ งาม ๆ ให้ไปที่พิพิธภัณฑ์หรือลงเรียนถ่ายภาพ หากชอบดูซีรีส์สเปนก็ไปลงเรียนภาษาสเปนซะเลย หากมีคนถามว่าแล้วรู้สึกยังไงบ้างล่ะ ? แน่นอนมันอาจเหนื่อย ไม่ได้มีความสุขจนล้นเหมือนโดนบอกรัก แต่เราจะพบความสงบจากการได้ทำบางอย่างและได้ความเชื่อเล็ก ๆ กลับมาว่า เรานี่แหละเป็นคนที่จะทำให้ตัวเราเองมีความสุขอีกครั้ง

 

 

เขียนสิ่งที่ทำให้มีความสุขลงกระดาษ 

เติมไฟให้ตัวเองด้วยการเขียนเรื่องที่ทำให้เรามีความสุข สิ่งซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เราอบอุ่นหัวใจ เหตุการณ์ที่เคยทำสำเร็จในอดีตและเมื่อเร็ว ๆ นี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพเหตุการณ์จริงหรือสิ่งวาดฝันไว้ที่ยังไม่เกิด ทั้งหมดถือเป็นหลักฐานว่าเราเคยทำเรื่องยาก ๆ มาแล้วและเราจะผ่านครั้งนี้ไปได้ด้วยดีอีกครั้ง แล้วให้เก็บลิสต์นี้ไว้ในจุดที่จะมองเห็นบ่อย ๆ อย่างเช่นตรงกระจกในห้องน้ำ โต๊ะเขียนหนังสือ หรือถ่ายรูปไว้เพื่อตั้งเป็นหน้าจอมือถือ สิ่งนี้จะเป็นเครื่องเตือนใจเราว่าถึงจะพบความเศร้า ความล้มเหลว การไม่ถูกรัก อกหัก สอบไม่ติด แต่เราก็จะยังไปต่อได้ การได้เห็นหลักฐานว่าความมั่นใจของเราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เรารู้ว่าตัวเองมีดีกว่าที่คิด นี่แหละคือสิ่งที่ช่วยให้เรารู้สึกภูมิใจและเป็นแรงผลักดันให้ลองออกไปเสี่ยงมากขึ้น กล้าอยู่นอกคอมฟอร์ทโซนมากขึ้น และมีภูมิคุ้มกันต้านเศร้าที่แข็งแรง

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

30 วิธีเพิ่มความบันเทิงให้ตัวเอง ในช่วงที่รู้สึกสิ้นหวังและหดหู่มาก ๆ

วิธีรับมือกับความเจ็บปวดและความเครียด เมื่ออารมณ์ดำดิ่งจนเกินรับไหว

Teen’s Guide ทุกปัญหาของวัยรุ่นมีทางออกเสมอ

เมื่อสิ่งที่คิดไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ เราจะรับมือกับความผิดหวังยังไงดี

รักตัวเองให้มากขึ้นด้วย 'Self-Care' เทรนด์ใหม่ของการดูแลตัวเอง

เคล็ดลับพัฒนาตัวเองของ 'Late Bloomer' คนที่ประสบความสำเร็จช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน

เป็นคนอารมณ์อ่อนไหวง่าย จะรับมือกับอารมณ์ตัวเองยังไงดี

Emotional Agility ทักษะการจัดการอารมณ์ให้สมดุลจากนักจิตวิทยา

วิธีลดความกดดันในตัวเอง เมื่อคนรอบข้างคาดหวังมากเกินไป

5 วิธีเปลี่ยนแปลงตัวเอง เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่เจ๋งกว่าเดิม

9 วิธีเพิ่มความเข้มแข็งให้ตัวเอง ไม่หวั่นไหวแม้เจอเรื่องยาก ๆ

ฮีลตัวเองยังไงดีในวันที่เหนื่อยและท้อจนหมดพลัง

 

 

แหล่งข้อมูล

- The hidden power of smiling - Ron Gutman 

- 3 tips to boost your confidence - TED-Ed 

- how the food you eat affects your brain

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow