ทฤษฎีเส้นโค้งการลืมของเอบบิงเฮาส์ (Ebbinghaus’s Forgetting Curve) ได้กล่าวไว้ว่า ความจำของคนเราจะหายไปอย่างรวดเร็วหลังจากผ่านไป 1 วัน และจะค่อย ๆ ลดลงไปต่อจากนั้นเรื่อย ๆ
หลังจากผ่านไป 20 นาที เราจะลืมข้อมูลไป 42% และจะจำข้อมูลได้ 58%
หลังจากผ่านไป 1 ชั่วโมง เราจะลืมข้อมูลไป 56% และจะจำข้อมูลได้ 44%
หลังจากผ่านไป 1 วัน เราจะลืมข้อมูลไป 74% และจะจำข้อมูลได้ 26%
หลังจากผ่านไป 1 อาทิตย์ เราจะลืมข้อมูลไป 77% และจะจำข้อมูลได้ 23%
ทฤษฎีนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ลืมข้อมูลได้ง่ายมาก และจะใช้ข้อมูลที่ต้องการจะจำให้ได้ เป็นจุดเริ่มต้นของท่องจำเท่านั้น
ใครที่รู้ตัวว่าเป็นคนขี้ลืมและจำไม่เก่งเลย แถมไม่ค่อยมีเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็อยากจำบทเรียนให้เข้าหัว เรามีเทคนิคอ่านหนังสือสอบที่เหมาะกับคนจำไม่เก่งและมีเวลาอ่านหนังสือน้อยมาบอกค่ะ แนะนำให้ทำตามนี้อย่างต่อเนื่อง 1-3 เดือน แล้วจะเห็นพัฒนาการที่ดีในเรื่องของการจำมากขึ้น
อยากจำให้แม่นแค่ทบทวนก็พอแล้ว
การทบทวนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำให้ดีขึ้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทบทวนความจำที่ดีที่สุด คือ หลังจากที่เราจำข้อมูลนั้นได้ประมาณครึ่งหนึ่งแล้ว ซึ่งมักเป็นช่วงหลังจากที่เราจำข้อมูลนั้นได้ 20 นาที - 1 ชั่วโมง นี่คือช่วงเวลานาทีทองของการทบทวนที่จะทำให้เราจดจำไปได้ตลอดชีวิต
Tips: ทบทวนอีก 1 ครั้งหลังผ่านไป 20 นาที
ใน 1 วัน ควรทบทวน 3 ครั้ง จึงจะได้ผลดีที่สุด
วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ขี้ลืมและจำไม่เก่งมาก ๆ เพราะการแบ่งเวลาทบทวนออกเป็น 3 ครั้งใน 1 วัน จะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น จากการทดลองของเอบบิงเฮาส์พบว่า สมองของคนเราถูกสร้างมาให้มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าเมื่อได้ยินอะไรซ้ำกัน 3 ครั้ง สิ่งนั้นต้องเป็นเรื่องจริง ดังนั้นการทบทวน 3 ครั้งใน 1 วัน ก็จะช่วยให้สมองรับรู้ว่าข้อมูลที่เราอ่านอยู่เป็นสิ่งสำคัญและต้องจดจำให้ได้
วิธีจำแบบเร่งด่วนคือใช้ตามองแล้วท่องจำ
หลายคนมักคิดว่าการเขียนไปด้วยพร้อมกับท่องจำในใจจะช่วยให้เราจำได้เร็วขึ้น คำตอบคือใช่ แต่มันเหมาะกับการท่องจำการสะกดคำศัพท์มากกว่า ส่วนวิธีท่องจำความหมาย รวมถึงการอยากจำให้ได้เร็วที่สุด ควรใช้การมองแล้วท่องจำมากกว่า ทริคคือมองแล้วจำ 1 คำใน 1 วินาที ทำแบบนี้ทุกวันต่อเนื่อง 3 เดือนก็จะช่วยให้เราจำความหมายหรือคำศัพท์ของคำนั้นได้แม่นแบบไม่ลืมเลย
Tips: ท่องจำแบบเร่งด่วน คือ ให้ใช้ตามองทวนซ้ำ ๆ พร้อมกับท่องจำในใจซ้ำไปซ้ำมา ศัพท์ 1 คำให้ท่องในใจ 1-2 วินาที
แบ่งย่อยคือเคล็ดลับที่ดีในการจำ
ถ้ามีเรื่องให้ต้องจำเยอะ มีหลายวิชาให้เราต้องท่องเยอะมาก ๆ การอ่านทุกอย่างรวดเดียวคือวิธีที่ไม่ควรทำ เพราะมันจะทำให้สมองเราเหนื่อยล้าและจำอะไรไม่ได้เลย วิธีีที่ดีคือแบ่งเรื่องที่จะอ่านออกเป็นส่วน ๆ หรือแบ่งย่อย เช่น วิชานี้จะออกข้อสอบแบบให้เขียนเป็นหลัก เราก็แบ่งวิธีทบทวนด้วยการเขียนแล้วท่องจำ ส่วนวิชาที่เน้นกาเป็นหลักก็ใช้วิธีทบทวนด้วยการมองแล้วท่องจำ หรือวิชาประวัติศาสตร์มีหัวข้อให้อ่านเยอะมาก เราก็อาจแบ่งย่อยออกเป็น สมัยอยุธยา สมัยสุโขทัย สมัยธนบุรี แบ่งแบบนี้แล้วก็ค่อย ๆ ไล่อ่านไปตามหัวข้อ เป็นต้น
ใช้วิธีการจำแบบ ‘นิโนมิยะ คินจิโร่’
นิโนมิยะ คินจิโร่ เป็นบุคคลสำคัญที่พลิกชีวิตตัวเองจากการอ่านจนประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งการอ่านแบบนิโนมิยะ คินจิโร่ คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการจดจำนั่นเอง ตามปกติแล้วเรามักจะคุ้นเคยกับการจำด้วยวิธีจดโน้ตพร้อมกับท่องจำ ซึ่งทำให้เราได้ใช้ประสาทสัมผัส 2 อย่างคือ การใช้มือ (ประสาทการสัมผัส) และการใช้ตา (ประสาทการมองเห็น)
แต่ถ้าเราใช้วิธีจดจำด้วยการอ่านออกเสียง ก็จะได้ใช้ประสาทสัมผัส 3 อย่างคือ การใช้ลิ้น (ประสาทการรับรส) การใช้ตา (ประสาทการมองเห็น) และการใช้หู (ประสาทการได้ยิน) หลายคนอาจเก็ทแล้วว่าถ้าอยากจำให้แม่นขึ้นก็ควรใช้วิธีจดจำด้วยการอ่านออกเสียง ถูกต้องค่ะ แต่มันยังมีทีเด็ดกว่านั้นก็คือ ‘ท่องจำด้วยการเดินอ่านออกเสียง’ วิธีนี้จะทำให้เราได้ใช้ประสาทสัมผัสเกือบครบทุกด้าน ซึึ่งมันจะกระตุ้นให้สมองจดจำได้ดีมากขึ้นนั่นเอง เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นจึงขอเปรียบเทียบกับการจำแบบอื่น ๆ ตามนี้
เขียนไปด้วยขณะท่องจำ = ประสาทการสัมผัส ประสาทการมองเห็น
อ่านออกเสียงท่องจำ = ประสาทการรับรส ประสาทการมองเห็น ประสาทการได้ยิน
เดินอ่านออกเสียงท่องจำ = ประสาทการรับรส ประสาทการมองเห็น ประสาทการได้ยิน ประสาทการสัมผัส
ทั้งนี้อาจจะเห็นว่าเหลือประสาทสัมผัสการได้กลิ่น ซึ่งสามารถเพิ่มเติมได้ด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นทีี่ช่วยกระตุ้นในเรื่องความจำ เช่น กลิ่นโรสแมรี่ กลิ่นส้ม กลิ่นตะไคร้ เป็นต้น
15 นาทีคือตัวเลขแห่งการจดจำ
มนุษย์นั้นสามารถมีสมาธิได้สูงสุดแค่ 90 เท่านั้น หลังจากนั้นสมาธิของเราจะขาดหายไป และในทุก 90 นาทีนั้นจะเหมือนมีคลื่นมารบกวนทุก ๆ 15 นาที คือเราจะเริ่มมีอาการเบื่อหน่าย อยู่ไม่นิ่ง วอกแวก และอยากหาอย่างอื่นทำ เพราะฉะนั้นการพักหรือแบ่งเวลาอ่านหนังสือออกเป็นรอบ ๆ รอบละ 15 นาที จะช่วยให้เรามีสมาธิที่ดีและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการท่องจำได้ดีกว่าการอ่านแบบนาน ๆ โดยที่ไม่พักเลย
ใช้ ‘สี’ กระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวา
เพราะสมองซีกขวาทำหน้าที่เกี่ยวกับภาพและจินตนาการ จึงสามารถตอบสนองกับการใช้สีในการช่วยจำได้ดี ปากกาไฮไลท์และกระดาษโพสต์อิทที่ควรจะมี ได้แก่ สีน้ำเงิน สีเหลือง สีีเขียว และสีแดง สีทั้ง 4 นี้จะช่วยในเรื่องการจดจำได้ดีมาก โดยสามารถแบ่งการใช้สีได้ตามนี้
ความจำมี 4 ระดับ แบ่งใช้ 4 สี ในการจดจำ
1. สิ่งที่เห็นแล้วเข้าใจได้ทันที = สีแดง
2. สิ่งที่ใช้เวลา 3 วินาทีในการทำความเข้าใจหรือจำได้เลือนลาง = สีเขียว
3. สิ่งที่เคยเห็นผ่านตามาแล้ว แต่จำไม่ได้ = สีเหลือง
4. สิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อน = สีน้ำเงิน
นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ชีทสีวิเศษ (Color Magic Sheet) ที่จะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้นเพราะแบ่งช่องออกเป็น 4 สีตามจิตวิทยาแห่งการใช้สีที่จะช่วยให้เราจำแม่นแบบไม่ลืม ไอเดียในการใช้ชีทสีวิเศษในการช่วยจำตอนอ่านหนังสือสอบสามารถใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
สีแดง = คำนาม
สีเขียว = คำกริยา สำนวน
สีเหลือง = คำคุณศัพท์และอื่น ๆ
สีน้ำเงิน = คำวิเศษณ์ คำเชื่อม ไวยากรณ์
สีแดง = ชื่อคน
สีเขียว = เหตุการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้น
สีเหลือง = อื่น ๆ
สีน้ำเงิน = ปี
สามารถดาวน์โหลดชีทสีวิเศษมาใช้ได้ที่นี่ >>คลิก<<
บทความที่เกี่ยวข้อง
• เทคนิคจด Short Note ให้อ่านง่ายจำแม่น
• 4 วิธีเพิ่มนิสัยรักการอ่าน ช่วยให้อ่านหนังสือได้เยอะขึ้น
• รวมเทคนิคการจำ ที่จะช่วยให้กลายเป็นคนจำแม่น อ่านอะไรก็ไม่ลืม
• 9 อาหารช่วยเพิ่มความจำ ที่อยากแนะนำให้กินช่วงอ่านหนังสือสอบ
• เทคนิคการจำแบบไม่ต้องจำ โดยจิตแพทย์ชาวญี่ปุ่น
• รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมองที่จะช่วยให้เราฉลาดขึ้น !
• HOW TO พักผ่อนสมองให้ความจำดีด้วยวิธี Mindfulness
• 10 เกมมือถือน่าเล่น ช่วยบริหารสมอง ฝึกความจำให้ดีขึ้น
• 6 นิสัยยอดแย่ที่จะทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง
• ทำไมถึงอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ยิ่งอ่านยิ่งไม่มีสมาธิ ?
• รวมเคล็ดลับลดความกดดันไม่ให้เสียสมาธิเวลาสอบ
แหล่งข้อมูล
Takashi Ishii. (2559).เปลี่ยนตัวเอง ให้เป็นคนหัวดีด้วย วิธีการจำ ภายใน 1 นาที. แปลจาก HONTO NI ATAMA GA YOKUNARU IPPUNKAN KIOKUHOU. แปลโดยภาณิน เพียรโรจน์. กรุงเทพฯ: บิงโก