Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Tips: เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษ Skim vs Scan อ่านเร็ว ๆ แบบจับใจความให้ได้ประสิทธิภาพ

Posted By Plook Creator | 06 ก.ย. 64
14,333 Views

  Favorite

ในการเรียนภาษาอังกฤษ การอ่าน (Reading) ทักษะสำคัญมากที่เป็นหนึ่งในสี่ขาของการเรียนอันเป็นเสาหลักของบ้านภาษาอังกฤษคือ ฟัง พูด อ่าน เขียน (Listening, Speaking, Reading and Writing) และยังสำคัญมากเวลาสอบวัดระดับต่าง ๆ ที่จะมีบทความยาวเหยียดให้อ่านเสมอ ดังนั้นมารู้วิธีการอ่านจับใจความกันดีกว่า เพราะว่าถ้าเวลาสอบมีเวลาจำกัด เราไม่สามารถอ่านบทความยาวเป็นหน้า ๆ ได้ทุกคำแน่ ๆ


หลักการอ่านจับใจความ มีสองเทคนิคให้เราได้ใช้ ก็คือ Skim และ Scan ค่ะ โดยที่ทั้งสองวิธีนี้จะเหมือนและต่างกันอย่างไร ไปเรียนรู้กันเลย ก่อนอื่นต้องมาเข้าใจความหมายของสองคำนี้ก่อน

- Skimming is reading a text quickly to find out the general theme, topic or meaning. การอ่านแบบสกิมมิ่ง คือการอ่านบทความอย่างรวดเร็วเพื่อหาหัวข้อโดยรวม หรือความหมายโดยรวมที่บทความนี้ต้องการจะสื่อ
- Scanning reading a text quickly in order to find specific information, e.g. figures or name. การอ่านแบบแสกนนิ่งคือการอ่านบทความอย่างรวดเร็วเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ เช่น ตัวเลขหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ


Similarities of Skimming and Scanning (ความเหมือนกันระหว่างการอ่านแบบผิว ๆ และการอ่านแบบจับใจความหลัก)

- A quick reading technique. เป็นเทคนิคการอ่านแบบรวดเร็ว
- It saves a lot of time and energy. ประหยัดเวลาและพลังงานที่ใช้
- It has a focus on a single purpose. เป็นการมุ่งเน้นไปที่จุดประสงค์เดียว (หรือเนื้อหาที่ต้องการหา)
- Quick eye movement is involved. มีการเคลื่อนไหวของสายตาที่รวดเร็วเข้ามาเกี่ยวข้อง


Differences between Skimming and Scanning (ความแตกต่างกันระหว่างการอ่านแบบผิว ๆ และการอ่านแบบจับใจความหลัก)

Skim

การอ่านแบบ Skim ควรอ่านบทความโดยรวมแต่ไม่ต้องทั้งหมด (เช่นไม่ต้องอ่านทุก paragraph หรืออ่านทุกคำเป๊ะ ๆ โดยเมื่ออ่านเจอเนื้อหาหลักแล้ว อาจจะอ่านข้ามย่อหน้าถัดไปที่เป็นแค่รายละเอียดก็ได้) แต่แค่พอให้เข้าใจว่า บทความนี้ต้องการจะสื่ออะไร หัวข้ออะไร main idea คืออะไร เทคนิคการอ่านนี้ให้หา keyword ของประโยค หรือคำที่บทความเน้นหนามา (bold words) อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของย่อหน้านั้น ๆ  โดยที่การอ่านแบบ skim อาจได้ความเข้าใจอย่างละเอียดของเนื้อหา (comprehension) แค่ 50%

โดยหลักเลยคือ ต้องอ่านให้เร็ว speed is the most important ต้องเข้าใจว่า As speed increases, comprehension decreases. เมื่อความเร็วเพิ่มมากขึ้น ความเข้าใจอย่างละเอียดก็ลดลงเป็นการแปรผกผันกัน
อาจจะไม่ต้องเป๊ะในข้อมูลเฉพาะมาก เช่น วันที่ สถานที่ หรือชื่อคนต่าง ๆ มักใช้กับการอ่านบทความหรือเอกสารที่เราไม่เคยรู้เนื้อหา หรือเข้าใจมาก่อน


Scan

การอ่านแบบ Scan ไม่จำเป็นต้องอ่านบทความทั้งหมดทุกบรรทัดหรือทุกย่อหน้า แค่ต้องกวาดสายตาไปหาคำศัพท์ที่สื่อว่าต้องการข้อมูลนั้น ๆ โดยเร็ว เช่น ถ้าคำถามถามถึงชื่อสถานที่ ต้องกวาดตาอ่านชื่อสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศ เมือง และหยุดอ่านบริบทที่เกี่ยวข้องในประโยคข้างเคียงว่าใช่ที่ต้องการหาหรือไม่

อาจจะไม่ต้องอ่านให้เร็วเท่า Skim แต่ต้องเป๊ะในการหาตำแหน่งที่ต้องการ (Locate specific piece of information) ต้องเป๊ะในการหาข้อมูลเฉพาะมากกว่า Skim มักใช้กับการอ่านบทความหรือเอกสารที่รู้เนื้อหามาก่อนแล้ว แต่เพียงแค่อยากหารายละเอียดเพิ่มเติม เช่น หาเบอร์โทรศัพท์ หาเวลาที่รายการทีวีโปรดจะฉาย


เรียบเรียงโดย เบญจมาภรณ์ บุนนาค

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow