• ข้อมูลพื้นฐานครบถ้วน
• อย่าลืมความสามารถพิเศษ
• รูปภาพที่คมชัด ภาพ Portrait
การเตรียมในส่วนของประวัติส่วนตัวควรเน้นที่ความอ่านง่าย สบายตา เน้นตัวอักษรที่อ่านง่ายขนาดตัวอักษรที่เหมาะสม บางคนอาจใช้วิธี Single Space หรือเขียนด้วยลายมือตัวบรรจงเอง โดยส่วนใหญ่จะเหมือน ๆ กันคือประกอบด้วย ประวัติส่วนตัวฉบับย่อ ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด ประวัติการศึกษาจนถึงปัจจุบัน คติประจำใจ วิชาที่เราชอบ อาชีพในฝัน บางคนอาจทำเป็นแบบสองภาษาก็แล้วแต่ว่ามันเหมาะกับคณะที่เราจะเข้าไหม แต่อย่าใส่อะไรที่ไม่เป็นทางการเหมือนแนะนำตัวในโซเชียลมีเดีย และควรใส่ใจกับความสามารถพิเศษที่จะใส่ด้วยนะคะ ใครมีเยอะก็ใส่ไปสัก 3-4 อย่าง เน้นความสามารถที่โดดเด่นและแตกต่าง ปิดท้ายด้วยรูปภาพที่ต้องลงทุนถ่ายให้คมชัด ไม่เบลอ เป็นปัจจุบัน และเป็นรูปที่ดูสุภาพเรียบร้อย
• โรงเรียนที่จบมาในแต่ละระดับชั้น อาจแยกแค่ ม.ต้น ม.ปลาย ก็ได้
• ผลการศึกษา หรือเกรดเฉลี่ย (GPAX)
ในส่วนของประวัติการศึกษาอาจดูเหมือนง่าย แต่ก็ทำให้พลาดง่ายเช่นกัน หลัก ๆ คือ การเรียงลำดับระดับชั้นการศึกษาตั้งแต่ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นไปจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมกับบอกเกรดเฉลี่ยในแต่ละระดับชั้นและปีที่จบ บางคนอาจทำเป็นตารางเพราะอ่านง่าย
• เขียนเป็นเรียงความแบบย่อ
• ความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4
• เน้นแสดงถึงความตั้งใจ และทัศนคติที่ดีต่อคณะ
• บางโครงการจะกำหนดหัวข้อมาให้ด้วย ศึกษาได้จากระเบียบการ
มาถึงหัวข้อปราบเซียนที่หลายคนเป็นกังวล แต่ไม่ยากเลยค่ะ ข้อแรกอย่าไปลอกในอินเทอร์เน็ตมาเด็ดขาด สิ่งที่เราต้องทำคือ ทำหัวให้โล่ง หยิบกระดาษมาหนึ่งแผ่น แล้วทำความเข้าใจกับรูปแบบหรือ Pattern ของการเขียนก่อน เพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่เขียนวกไปวนมาแล้วสรุปจบหาที่ลงไม่ได้ ทำให้คนอ่านเขาไม่เก็ทว่าทำไมเราถึงอยากเรียนคณะนี้ โดยเริ่มแรกให้เราพูดถึงแรงจูงใจและแรงผลักดันที่ทำให้เราอยากเข้าเรียนคณะนี้ เช่น “ดิฉันโตมาในครอบครัวที่มีคุณยายเปิดร้านทำขนมมาตั้งแต่เด็ก นอกจากจะได้กินขนมอร่อย ๆ ทุกวันแล้ว ฉันยังได้เรียนรู้การทำขนมกับคุณยาย การทำขนมทำให้ฉันมีความสุข จนอยากศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจัง” นี้คือสิ่งที่จะบอกกรรมการว่าทำไมคุณถึงเหมาะสมกับคณะนี้
ต่อไปคือการบอกกรรมการว่าทำไมเราถึงเลือกที่จะเรียนที่นี้ไม่ใช่มหาวิทยาลัยอื่น มันคือการแสดงออกถึงความเป็นแฟนคลับที่คุณมีต่อมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ใช่แค่ตัวมหาวิทยาลัยแต่รวมไปถึงค่านิยม พันธกิจของมหาวิทยาลัยนั้นที่มันเหมือนกับตัวคุณอย่างไร เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยย่อมมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน เช่น “ฉันศึกษาหาข้อมูลมาตลอดและค้นพบว่าหนึ่งในวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ด้วยการหยิบยื่นความรู้ ทักษะที่ดี มีอาจารย์ที่มีความสามารถ และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉันอยากเข้ามาเรียนและเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยนี้” เน้นทัศนคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัยและคณะเข้าไว้ค่ะ
• เน้นผลงานที่โดดเด่น ได้รับรางวัล
• ถ้ามีเยอะ คัดเฉพาะที่โดดเด่น ไม่จำเป็นต้องใส่ทั้งหมด
สมมติว่าเราอยากเข้าคณะเกี่ยวกับการออกแบบ เราก็ต้องเน้นไปที่การนำเสนอผลงานด้านศิลปะและการออกแบบที่หลากหลายไม่ใช่แค่แบบเดียว เพื่อที่จะแสดงออกถึงความมีประสบการณ์และทักษะที่เรามีเกี่ยวกับงานศิลปะและการออกแบบ
การคัดเลือกผลงานเพื่อจะใส่ในแฟ้มสะสมผลงานให้เลือกชิ้นที่เราภูมิใจที่สุด เอาแบบถ้าเราเล่าให้ใครฟัง เขาจะอินไปด้วยและเห็นถึงความพยายามของเรา ทั้งนี้ควรเป็นผลงานในช่วงตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 เป็นหลัก และต้องเรียงลำดับตามปี พ.ศ. เพื่อที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาไล่ระดับขึ้นมาเรื่อย ๆ หากใครมีผลงานที่เป็นคลิปหรือไวรัลก็ให้แนบ QR Code ไปด้วย และทำให้แน่ใจว่ามันใช้ได้
ส่วนน้อง ๆ ที่มีผลงานไม่มากก็ไม่ต้องซีเรียส ถ้าผลงานของเราปังซะอย่าง คุณภาพคับแก้วก็ไม่ต้องเครียดเลยค่ะ เขาเรียกว่า น้อย ๆ แต่ต่อยหนัก !
• ถ้าคัดเฉพาะที่เกี่ยวกับคณะที่สมัครได้จะดีมาก
• เน้นประสบการณ์ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
บางคนอาจไม่ได้เป็นประธานนักเรียน แต่อาจได้รับผิดชอบหรือทำหน้าที่ในการแต่งหน้าในขบวนกีฬาสี ทุกหน้าที่และความรับผิดชอบที่เราได้ทำไป เราต้องสกัดมันออกมาให้เป็นทักษะ ความสามารถพิเศษ ที่คนอื่นหยิบขึ้นมาอ่านแล้วจะเห็นคุณค่าของเราตรงนี้
สรุปแล้วกิจกรรมที่เราจะนำมาใส่ในแฟ้มสะสมผลงานควรจะเป็นกิจกรรมที่เอื้อต่อคณะที่เราอยากจะเรียน ในแง่ของการลงมือทำ การได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง เข้าใจกระบวนการ และเราสามารถทำงานเป็นทีมได้ เป็นผู้นำได้ เป็นผู้ตามก็ดี หรืออาจเป็นเกียรติบัตรจากการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนชีวิตเรา ทำให้เราเข้าใจตัวเอง มีเป้าหมายในอาชีพและนำมาสู่การอยากเข้าคณะนี้ แล้วแนบรูปประกอบการทำกิจกรรมสวย ๆ ไปด้วย หรือเอกสารรับรองต่าง ๆ หากเราไปร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานใหญ่ ๆ หรือองค์กรเพื่อพิสูจน์ว่าเราพูดจริง ทำจริง ไม่ได้โม้นะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
• รวมเทคนิคและข้อควรรู้ในการทำ Portfolio ให้ปัง โดนใจกรรมการ !
• รวมเว็บแจกเทมเพลตทำ Portfolio ฟรี !!!
• 16 อาชีพน่าสนใจ และเป็นที่ต้องการในโลกอนาคต
• Teen’s Guide ทุกปัญหาของวัยรุ่นมีทางออกเสมอ
• เมื่อ ‘งานอดิเรก’ ช่วยให้เรียนได้ดีขึ้นกว่าที่คิด !
• 12 Soft Skills สำคัญที่ควรมีติดตัวก่อนเรียนจบ
• รวมประเทศน่าไปเรียนต่อ มีทุนแจกฟรี !
• รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วยการพัฒนาบุคลิกผ่าน 'สี' ตัวเราคือสีอะไร ?
• 10 กิจกรรมน่าทำก่อนเปิดเทอม ช่วยเพิ่มประสบการณ์ชีวิต
• ‘AQ’ ทักษะจำเป็นในวันที่โลกหมุนเร็วจนตามไม่ทัน
• 11 พอดแคสต์น่าฟัง สำหรับวัยรุ่น-วัยเรียน
• ค้นหาตัวเองอย่างมีความสุขไปพร้อมกันกับ 'Self Concept'
• เคล็ดลับการทำ ‘Mood Board' เพื่อค้นหาตัวเอง
แหล่งข้อมูล
- 4 วิธีตอบคำถาม “ทำไมคุณถึงต้องการงานนี้?”