จากหัวข้อจะใช้คำว่า climb ที่แปลว่า ปีน (จริง ๆ คือ walk up/walk down the stairs) เพื่อให้ฟังดูเข้ากับการออกกำลังกายไปในตัว
Stairs : บันไดที่มากกว่าหนึ่งขั้น อย่าลืมเติม s เสมอค่ะ
Benefits : คือสิทธิประโยชน์ หรือในที่นี้ก็คือ ประโยชน์ที่ได้รับ
Healthy bones, Muscles and Joints : เราจะมีกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อที่แข็งแรง หรือสุขภาพดีค่ะ
Joints = ข้อต่อ
Strong your limbs & knees : ช่วยทำให้แขนขาและข้อเข่าแข็งแรง
ข้อนี้เป็นการเฉพาะเจาะจงลงไปว่า การเดินขึ้นลงบันไดนั้น ทำให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้นแน่นอน เพราะเราต้องใช้กำลังในการเดินขึ้นลงตลอด วันแรก ๆ อาจจะเมื่อยล้าเป็นธรรมดา แต่ถ้าทำไปหลาย ๆ วันแล้วมันต้องดีขึ้นค่ะ
Limbs : ส่วนที่ยื่นออกจากแกนกลางของลำตัว ทั้งในมนุษย์หรือสัตว์ ถ้าใช้กับคนก็คือ แขนและขานั่นเอง
Increase core muscle strength : ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว เนื่องจากร่างกายต้องสร้างสมดุลเวลาเดินขึ้นลงตลอดเวลาอีกด้วย
Reduces risk of heart disease : ลดอัตราการเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
Fight headache : ช่วยต่อสู้ หรือลดอาการปวดหัวได้
Weight loss : น้ำหนักลด แน่นอนค่ะว่า การออกกำลังทุกอย่างนั้น ผลพลอยได้ก็คือการที่ร่างกายได้เบิร์นแคลอรี่ออกไป และเราก็จะน้ำหนักลดผอมเพรียวกันเลย
ถ้าอยากจะพูดว่า ฉันลดน้ำหนักได้ 5 กิโลตอนทำงานจากบ้าน ต้องพูดว่า I lost 5 kgs during WFH.
Lost คือคำกริยาช่องสองของ lose ที่แปลว่า “หายไป ทำหาย” โดยเวลาเล่าให้ใครฟังว่า เราลดน้ำหนักไปได้เท่าไหร่ นั่นคือการพูดถึงอดีตที่ผ่านมาแล้วเสมอ เพราะฉะนั้นต้องใช้คำว่า lost แทน lose
ในกรณีที่จะใช้กริยาช่อง 1 อาจจะใช้ในแง่ของประโยคคำถาม เช่น
How to lose 5 Kgs in one month? (จะลดน้ำหนักห้ากิโลกรัมในหนึ่งเดือนได้อย่างไร)
Aid sleep : ช่วยเรื่องการนอนหลับ สำหรับคนที่มีปัญหานอนหลับยาก เมื่อได้ออกกำลังกายแล้วจะช่วยให้เราหลับได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
Aid = ช่วย
Produce happy hormone : ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ทำให้มีความสุข หรือที่ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Endorphin (เอนโดรฟิน)
นอกเหนือจากประโยชน์ที่น่าทึ่งจากการเดินขั้นลงบันไดแล้ว วิธีการออกกำลังแบบนี้นั้นได้ผลดีมาก สำหรับการเบิร์นแคลอรี่ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น หรืออาจเรียกได้ว่า one of the best calorie burner หรือเป็นหนึ่งในวิธีการเผาผลาญแคลอรี่ที่ดีที่สุด โดยสามารถเบิร์นได้ถึง 8-11 Kcal / minute หรือ 8-11 กิโลแคลอรี่ต่อนาทีเลย
เรียบเรียงโดย เบญจมาภรณ์ บุนนาค