Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รู้ให้ทันอาการสมาธิสั้นในวัยรุ่น พร้อมวิธีปรับพฤติกรรมเบื้องต้น

Posted By Plook Magazine | 06 ส.ค. 64
7,717 Views

  Favorite

ไม่ว่าเราจะอยู่ในช่วงวัยไหน เราก็อาจจะเป็นโรคสมาธิสั้นได้เหมือนกัน เพราะโรคนี้ไม่ได้เกิดแค่ในวัยเด็กเท่านั้น อาจจะมีบางครั้งที่เรารู้สึกว่าตัวเองไม่มีสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ เลย แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเราแค่ไม่มีสมาธิเฉย ๆ หรือเราเป็นโรคสมาธิสั้นกันแน่ มาเช็กตัวเองเบื้องต้นกันเลย !

 

 

หากเรามีพฤติกรรมมาสายประจำ ลืมนัดสำคัญ ทำงานตกหล่นไม่รอบคอบ จัดระเบียบการทำงานหรือการเรียนไม่ได้ ค้างงานบ่อย ๆ ส่งทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ถูกตำหนิว่าไม่มีความรับผิดชอบบ่อย เครียดจนนอนไม่หลับ พฤติกรรมเหล่านี้อาจบ่งบอกได้ว่าเรากำลังเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ก็ได้ ซึ่งหลายคนมีอาการเหล่านี้ แต่ไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่

 

cr. www.freepik.com

 

สาเหตุของสมาธิสั้นเกิดจากอะไร ?

โรคสมาธิสั้น (ADHD : Attention Deficit Hyperactivity Disorder) ยังไม่มีสาเหตุชัดเจนที่สามารถสรุปได้โดยชัด แต่ก็มีงานวิจัยที่ผ่านมาบ่งชี้ได้ว่า สาเหตุของสมาธิสั้นนั้นเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีที่เป็นสารสื่อประสาทในสมองชื่อว่า โดพามีน (Dopamine) ทำงานบกพร่อง หรือมีปริมาณน้อยกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นโรคที่เกิดในวัยเด็ก แต่จะเป็นต่อเนื่องจนถึงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัวที่สมองส่วนหน้า (Frontal Cortex) และจากการศึกษาส่วนใหญ่ยังพบว่ามีปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นต้น

 

อาการสมาธิสั้นที่พบบ่อยในวัยรุ่น

1. มีปัญหาในการทำสิ่งที่ต้องใช้สมาธิ

2. ขี้ลืมและมีปัญหาในการจัดงานให้เป็นระบบ

3. หุนหันพลันแล่น

4. เบื่อง่าย หรืออึดอัดเวลาอยู่เฉย ๆ นาน ๆ

5. มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ เครียด หงุดหงิดง่าย  ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ

 

cr. www.freepik.com

 

วิธีรักษาโรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น

 

1. การรักษาด้วยยา เป็นวิธีแรกที่แพทย์มักเลือกใช้ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาโรคสมาธิสั้นนั้นก็มีหลากหลาย ดังนี้

• ยากระตุ้นจิตประสาท (Psychostimulant) กลุ่ม Methylphenidate จะทำให้มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น แต่ก็อาจมีผลข้างเคียง เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด น้ำหนักตัวลดลง เป็นต้น

• ยาต้านซึมเศร้า เช่น Imiprimine, Buspirone มักจะถูกใช้ป็นยาขนานที่สองในการรักษา

• ยาลดอาการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่รวดเร็ว เช่น ยากลุ่ม Propanalol จะช่วยลดอาการความถี่ในการระเบิดอารมณ์ที่รุนแรง

• ยากลุ่มคลายกังวล เช่น Fluoxetine

 

cr. www.freepik.com

 

2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยนักจิตวิทยา จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการก้าวร้าวอย่างรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

 

3. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม (Psychosocial Intervention) โดยการฝึกทักษะทางสังคม ทำให้รู้จักสังเกตอารมณ์ของคนอื่น รู้จักการรอคอย รับฟังมากขึ้น เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อลดปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และยังสามารถช่วยให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความชำนาญ ไม่มีอารมณ์เครียดมากเกินไป

 

นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว เรายังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เพื่อเป็นการป้องกันสมาธิสั้นได้ ดังนี้

 

cr. www.freepik.com

 

พยายามฝึกอารมณ์ของตัวเอง เช่น ไม่ควรดีใจหรือเสียใจเร็วเกินไป หรือถ้าเราโกรธก็ควรระบายออกมาบ้าง แต่ไม่ใช่การระบายออกมาแบบรุนแรง

 

จัดตารางเวลาการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ชัดเจน เช่น ถ้าเราจะต้องเดินทางไปไหนก็ควรจะมีการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้า และควรมีแผนสำรองติดตัวไว้เสมอ

 

cr. www.freepik.com
 

จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบ เป็นการป้องกันการลืมทรัพย์สินและของมีค่าต่าง ๆ จะทำให้เราหาของได้ง่ายขึ้นและลดอาการขี้หลงขี้ลืมได้

 

ทำประโยชน์ให้ตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่น ถือเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเอง และจะทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้น

 

นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะทำให้ช่วยลดอาการหงุดหงิดลงได้มาก

 

cr. www.freepik.com

 

ทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค เช่น หลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาล คาเฟอีน เลือกทานอาหารที่ไม่ผ่านการย้อมหรือขัดสี ทานอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีและแมกนีเซียม เพราะวิตามินและแร่ธาตที่ผู้เป็นโรคสมาธิสั้นขาดบ่อยที่สุดคือ แมกนีเซียม ซึ่งมีผลทำให้อยู่ไม่สุข วิตกกังวล กระวนกระวาย และคลื่นไส้


หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดพลังงานส่วนเกิน และหลั่งสารเอ็นโดรฟิน (Endorphin) ให้รู้สึกแฮปปี้มากขึ้น

 

cr. www.freepik.com

 

โรคสมาธิสั้นและอาการไม่มีสมาธินั้น ในความจริงแล้วเป็นอาการที่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เพราะจากอาการเบื้องต้นนั้น หลายคนก็มีอาการเหล่านี้บ้างในบางครั้ง แต่ถ้าคิดว่าเราอาจจะเป็นโรคสมาธิสั้นจริง ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของเรานั่นเอง

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านหนังสือไม่ได้ เอาแต่เล่นมือถือ ระวังเป็นโรค ‘สมาธิสั้นเทียม'

โรคขาดธรรมชาติอาจทำให้สมาธิสั้นลง เคล็ดลับเชื่อมต่อกับธรรมชาติในยุค New Normal

เรียนออนไลน์แล้วไม่มีสมาธิเลย มาฝึกเพิ่มสมาธิแบบง่าย ๆ

3 วิธี ‘ฝึกสมาธิ’ เรียกคืนสติในทุกสถานการณ์

รู้จักความต่างระหว่างนักจิตวิทยา จิตแพทย์ และนักจิตบำบัด

ทำไมถึงอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ยิ่งอ่านยิ่งไม่มีสมาธิ ?

รวมเคล็ดลับลดความกดดันไม่ให้เสียสมาธิเวลาสอบ

If-Then Plans การวางแผนที่จะช่วยแก้นิสัยผัดวันประกันพรุ่งให้ดีขึ้นได้

เมื่อสิ่งที่คิดไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ เราจะรับมือกับความผิดหวังยังไงดี

รักตัวเองให้มากขึ้นด้วย 'Self-Care' เทรนด์ใหม่ของการดูแลตัวเอง

‘ความเครียดแฝง' อาการเครียดที่ไม่ควรมองข้าม

เคล็ดลับพัฒนาตัวเองของ 'Late Bloomer' คนที่ประสบความสำเร็จช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน


 

แหล่งข้อมูล

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

โรคสมาธิสั้น'ในวัยรุ่น-ผู้ใหญ่กรมสุขภาพจิตย้ำรักษาเร็วใช้ชีวิตร่วมผู้อื่นได้

สาเหตุของสมาธิสั้น

 
 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow