การเรียกชื่อคู่สนทนาจะส่งผลให้ผู้ถูกเรียกรู้สึกดีและแสดงถึงการมีตัวตนในสายตาของเรา หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การเรียกชื่อคู่สนทนาในระหว่างที่พูดคุยกันจะช่วยลดบรรยากาศอึดอัดให้ผ่อนคลายขึ้นได้ โดยเฉพาะในคนที่พึ่งทำความรู้จักกันใหม่ ๆ และยังช่วยเปิดโอกาสให้เกิดการพูดคุยกันมากขึ้นด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องเรียกชื่อบ่อยมากหรือทุกคำที่คุยกัน เพราะมันดูไม่เป็นธรรมชาติเอาซะเลย
สิ่งสำคัญที่จะทำให้คนรอบข้างรู้สึกว่าเราเป็นคนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจก็คือ การเป็นคนไม่จุกจิกและมีเจตนาที่ดี ยิ่งเรามีเจตนาที่ดีต่อคนอื่นมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งเป็นคนที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจมากเท่านั้น และคนอื่น ๆ ก็ยินดีที่จะมอบเจตนาที่ดีกลับมาให้เราด้วยเช่นกัน เจตนาดีที่ทำได้ง่าย ๆ เช่น ไม่คิดแง่ลบหรือตัดสินคนอื่นเพียงแรกพบ มีความห่วงใยคนอื่น รู้จักพูดให้กำลังใจคนอื่น เป็นต้น
อยากให้จำไว้ว่าเราทุกคนต่างก็มีข้อดีอยู่มากมาย ขอย้ำว่าทุกคน ! การมองหาข้อดีของคนอื่นให้เจอและพูดชื่นชมเขาคือเรื่องที่ดี แม้จะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกดีขึ้นได้ เช่น ชื่นชมสไตล์ของเพื่อน ชมความใจดีของแม่ ชมความกล้าหาญของน้อง ฯลฯ แต่อย่าชมแบบเยินยอเกินจริง เพราะมันคือคำโกหก และคนฟังเขาจะรู้สึกไม่ดีกับเราได้
ถ้าเราอยากให้คนอื่นรู้สึกดีกับเรา เราก็ควรจะต้องสนใจคนอื่นก่อน เพราะการสนใจแต่เรื่องของตัวเองจะทำให้คนที่อยู่ด้วยรู้สึกอึดอัดได้ วิธีใส่ใจผู้อื่นที่เราสามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น ชวนไปกินข้าว ถามสารทุกข์สุกดิบ หรือกล่าวคำทักทายและยิ้มให้เสมอที่เจอกัน เป็นต้น
เวลามีคนคิดเห็นไม่เหมือนเรา อย่ารีบตัดสินว่าเขาไม่ชอบเราหรือปฏิเสธตัวตนของเรา เพราะคน ๆ นั้นอาจแค่เห็นต่างไปจากเราเท่านั้น การคิดเห็นไม่ตรงกันไม่ใช่เรื่องที่ผิด และเราควรเรียนรู้ที่จะยอมรับการคิดต่างให้ได้ เพราะฉะนั้นการที่จะเป็นคนแบบที่ใครอยู่ด้วยก็สบายใจ เราควรจะมีความคิดที่เปิดกว้างและยอมรับความคิดที่หลากหลายและแตกต่างให้ได้
คำว่า “ขอบคุณ” จะทำให้คนที่ได้ยินรู้สึกยินดีและรู้สึกดีกับเรามากขึ้น เราสามารถพูดขอบคุณได้กับทุกคน และพูดได้แม้กระทั่งมันจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ยิ่งเราพูดขอบคุณมากเท่าไหร่ อีกฝ่ายก็จะลดกำแพงในใจที่มีต่อเรา และช่วยให้เขารู้สึกสบายใจเวลาที่อยู่กับเรามากขึ้น
นี่คือทักษะแห่งการสานสัมพันธ์ที่เหมาะตั้งแต่เริ่มต้นยังไม่รู้จักกันเลย ทำตามนี้รับรองว่าจะช่วยให้เกิดความคุ้นเคย และคบหากันต่อไปได้นาน ๆ แน่นอน !
• ถามเปิด (Asking) - ให้ถาม “อะไร” “อย่างไร” มากกว่า “ใช่หรือไม่” “ทำไม” เช่น ช่วงนี้ชอบดูหนังแนวไหน มีหนังเด็ด ๆ อะไรแนะนำบ้างไหม เป็นต้น
• ตอบสนองอย่างใส่ใจ (Attending) - เวลาคุยกันต้องสบสายตา หันหน้าไปหา ไม่กอดอก สนใจฟัง ยิ้มให้ และตอบรับ เพื่อให้เขารับรู้ว่าเราตั้งใจฟังอยู่
• เสริมเพิ่มเรื่อง (Adding) - ใช้หลักการคุยแบบ Outside In คือชวนคุยจากนอกสู่ใน เริ่มจากเรื่องทั่ว ๆ ไปสู่เรื่องใกล้ตัว เช่น อากาศเมื่อวาน > อาหารที่กินเมื่อเช้า > ปกติเวลาว่างชอบทำอะไร เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
The Power of saying ‘Hi’ ชวนคุยอย่างไรให้ได้เพื่อน
The Anatomy of Friendship สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘เพื่อน’
Philosophy of Youth Life ปรัชญาชีวิตวัยรุ่น
กฎเหล็ก 25 ข้อของการเป็นเพื่อนที่ดี
รู้สึก ’โดดเดี่ยว’ ทั้งที่มีเพื่อนเยอะ แต่ไม่รู้ว่าสนิทกับใคร
เพื่อนที่ดี 4 ประเภทที่คบแล้วชีวิตจะดีขึ้นคูณสอง
เพื่อนบอกว่าเราพูดไม่รู้เรื่อง อยากเป็นคนที่พูดรู้เรื่องกว่านี้ต้องทำยังไง
โดนเพื่อนอันฟอล อันเฟรนด์ บล็อกเฟส ? ทริคเล่นโซเชียลให้สบายใจ
เพื่อนเป็นโรคซึมเศร้า จะคุยกับเพื่อนยังไงดี ?
เมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกันกับเพื่อนประจำ จะทำยังไงให้ไม่ทะเลาะกัน
แหล่งข้อมูล
Komiya Noboru. (2564). คนแบบไหนอยู่ด้วยแล้วสบายใจ คนแบบไหนอยู่ใกล้แล้วเพลีย. แปลจาก ISSHONITE RAKUNA HITO, TSUKARERU HITO. แปลโดยจิตรลดา มีเสมา. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์