อย่างเช่นทำไมเราถึงตอบตกลงที่จะไปปาร์ตี้หมูกระทะกับเพื่อนทุกที ไม่เคยพลาดเลยสักแมตช์ แต่เมื่อเพื่อนชวนไปวิ่งออกกำลังกาย ไปติวหนังสือ เปอร์เซ็นต์ที่จะตอบตกลงมันกลับน้อยมากจนแทบจะนับครั้งได้ (และต่อมหาข้ออ้างมันต้องทำงานเก่งขึ้นมาทันที) ทำไมเราถึงได้หยิบของที่ไม่มีประโยชน์อย่างชานมไข่มุก ชีสเค้กเข้าปาก แทนที่จะเป็นของที่มีประโยชน์อย่างถั่วหรือว่าผัก ทำไมเราถึงได้ผัดวันประกันพรุ่งที่จะทำการบ้านหรืออ่านหนังสือ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าใกล้จะส่งหรือใกล้จะสอบแล้ว รวมไปถึงเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ว่าทำไมเราถึงยังรัก ยังคบเพื่อนที่ไม่ให้เกียรติ ดูถูก toxic กับชีวิตเรา ทำไมเราถึงได้ตัดสินใจเอนเอียงไปในทางที่แย่ทั้งที่รู้อยู่เต็มอกว่าไม่ได้ดีกับชีวิตของเรา
พูดไปแล้วจะหาว่าเนิร์ด แต่เชื่อไหมว่าสมองของคนเราเนี่ยทำงานไม่ต่างจากลิ้นเลย คือยิ่งเรากินแต่ของหวาน ๆ มัน ๆ ลิ้นก็จะจำรสและชอบรสชาตินั้นไปโดยปริยาย ทำให้เวลากินผักแล้วรู้สึกอี๋เพราะลิ้นถูกเปลี่ยนให้ชอบแต่ของหวาน สมองของเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราชอบคิดแต่ในแง่ลบท้ายที่สุดเราจะลงเอยที่การตัดสินใจทำอะไรแย่ ๆ
Franklin Templeton บริษัทการลงทุนระดับโลกที่รวบรวมคนที่ตัดสินใจเก่ง ๆ เทพ ๆ เอาไว้มากมาย ก่อตั้งขึ้นในนิวยอร์กตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ได้ออกเปเปอร์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมอง 2 ส่วนที่ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมการตัดสินใจของคนเราเอาไว้ว่า สิ่งที่ควบคุมความคิดที่ดีและแย่ของเรานั่นมาจากสมอง 2 ส่วน
ส่วนแรกคือ Frontal Cortex สมองส่วนนี้จะมีหน้าที่ประมวลข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบด้านเพื่อช่วยให้เราทำการตัดสินใจได้อย่างมีเหตุมีผล พร้อมประเมินตัวเลือกที่มีประโยชน์ให้กับเราอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เราทำอะไรโง่ ๆ หรือตัดสินใจแย่ ๆ ที่อาจขัดต่อศีลธรรมหรือกฎหมายตามที่เราได้ถูกขัดเกลามาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
อีกส่วนหนึ่งคือ Amygdala เป็นสมองส่วนเล็ก ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบอารมณ์และสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของเรา จะประมวลผลแบบรวดเร็วมาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ปัญหา อุบัติเหตุ เพื่อหาแต่ความฟิน ความสุข หรือรางวัล พูดง่าย ๆ ก็คือได้หมดถ้าสดชื่น หาเอาแต่ความสุขใส่ตัวไว้ก่อน
เราจะเห็นได้ว่ามนุษย์เรามีทั้งสมองส่วนที่ใช้เหตุผลและใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ ซึ่งทั้งคู่มีประโยชน์หมด เพียงแต่เราต้องหาจุดสมดุลให้ทั้งคู่ไม่ทำงานข้ามเส้นกันจนเกินไป เพราะหากเราใช้สมองส่วนที่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจบ่อยจนชิน มันอาจนำไปสู่การตัดสินใจตามอารมณ์ ตามใจ จนไร้เหตุผลสร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองได้ เพราะการตัดสินใจกินของหวานก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง การตัดสินใจเรื่องการเงิน การเรียน ความสัมพันธ์ที่มันสำคัญต่อชีวิตมากกว่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เราคงไม่อยากให้สมองส่วนอารมณ์มันชนะในเรื่องสำคัญ ๆ หรอกจริงไหม ข่าวดีก็คือเรามีเคล็ดลับในการช่วยให้การตัดสินใจแย่ ๆ ไม่ชนะด้วยการรู้ทันปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดนั่นก็คือ ‘อคติ’ ของเราเอง
พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเมื่อความคิดของเราถูกชักจูงหรือโน้มน้าวโดยเหตุการณ์ที่เพิ่งประสบพบเจอมา จึงทำให้เราเหมารวมว่ามันก็น่าจะเป็นเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมาก ยกตัวอย่างเช่น คะแนนสอบเข้าของคณะแพทย์ที่สูงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ อาจทำให้เรากลัวว่าจะไม่ติด บวกกับการเสพสื่อ หรืออาจมีโอกาสได้พูดคุยกับคนที่สอบไม่ติดปีที่แล้ว ทำให้กลัวว่าตัวเองจะสอบไม่ติดเหมือนกัน ทั้งที่คะแนนมันก็ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่แล้ว สิ่งที่สำคัญที่เราต้องคิดมันไม่ใช่ตัวเลขที่สูงขึ้น ถ้าค่าเฉลี่ยมันสูงขึ้นนั่นก็แปลว่าข้อสอบอาจง่ายขึ้น หรือข้อสอบอาจออกซ้ำแนวเดิมหลายครั้งจนคนทั้งประเทศทำได้เยอะขึ้นหรือเปล่า
เห็นไหมว่าบางครั้งเหตุการณ์จริงมักจะตรงกันข้ามกับสิ่งที่คนเราคิดโดยสิ้นเชิง สาเหตุที่คนยังคงคิดแบบนั้นก็เป็นไปได้ว่าพวกเขายังยึดติดกับความกลัวที่ว่าจะสอบไม่ติดเหมือนปีก่อน ๆ เลยทำให้พลาดโอกาสไป
การตัดสินใจแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อทำตามที่คนส่วนใหญ่เขาทำกัน เพราะกลัวว่าเราจะตกเทรนด์ ไม่ทันชาวบ้านเขา โดยไม่ได้สนใจว่าข้อมูลนั้นมันจริงหรือเปล่า หรือมันเหมาะกับตัวเองไหม เราแค่ตามกระแสสังคมไป ตามคนหมู่มากไปก่อน เพราะคิดว่าในเมื่อคนส่วนใหญ่ทำกันงั้นก็คงไม่พลาดหรอกมั้ง
ยกตัวอย่างเช่น การที่บางคนไปลงเรียนตามเพื่อน ลงเรียนคณะที่เพื่อนร่วมชั้นลงกันเยอะที่สุด หรือลงเรียนบางวิชาที่ขึ้นชื่อว่าได้เกรดง่าย ๆ แทนที่จะลงเรียนในสิ่งที่ตัวเองสนใจจริง ๆ นั่นจึงทำให้ท้ายที่สุดหลายคนต้องดรอปเรียน หรือมานั่งเสียใจทีหลังที่เรียนตามคนอื่นแทนที่จะเรียนในสิ่งที่ชอบ
เป็นการตัดสินใจด้วยอคติที่ว่า ฉันจะไม่ยอมเสียใจหรือเสี่ยงแบบนั้นอีกแล้ว ใครที่มีความกลัวแบบนี้เยอะ ๆ จะไม่กล้าเสี่ยงในสิ่งที่ครั้งหนึ่งตัวเองเคยเสียไปเลย หรือมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับมันมาก่อน ดังนั้นคนกลุ่มนี้จะชอบ Play Safe หรือมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจที่จะทำอะไรที่เสี่ยงน้อยไปจนถึงไม่เสี่ยงเลย อารมณ์แบบว่าเข็ดแล้ว จะไม่ทำอีกแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเคยไปติวหนังสือกับเพื่อนเป็นกลุ่ม แล้วปรากฏว่าเรากลับเป็นคนที่ได้คะแนนน้อยที่สุดในกลุ่ม ทำให้เราไม่อยากติวกับเพื่อนอีกเพราะเสียใจที่ได้คะแนนน้อยที่สุด แต่ความจริงถ้าเราอ่านหนังสือคนเดียว เราอาจจะได้คะแนนน้อยกว่านั้นก็ได้ การได้คะแนนน้อยที่สุดในกลุ่มอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เราจึงต้องพึงระวังไว้ว่าสิ่งที่ดูเหมือนจะดี แท้จริงอาจไม่ได้ดีไปเสียทั้งหมด หรือสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่ดีก็อาจจะดีก็ได้ ต้องลองทำไปเเล้วแต่เรื่อง
การตัดสินใจด้วยอคติแบบ Present Bias คือการที่เรายึดกับปัจจุบันมากจนลืมมองการณ์ไกล (Look forward) ไปเลย นั่นทำให้เรามักจะเผลอทำอะไร ๆ ที่ให้ค่ากับความสุขในปัจจุบัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่ออนาคตของเรา โดยอคตินี้มักเกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน
ยกตัวอย่างเช่น การเก็บเงิน การอ่านหนังสือสอบ พฤติกรรมแบบ Present Bias สามารถอธิบายได้ว่าทำไมคนเราถึงไม่อยากเก็บเงินไว้เพื่อวันข้างหน้าหรือเอาเงินในอนาคตมาใช้ หรือเลือกที่จะไปทำอะไรก็ได้แทนที่จะอ่านหนังสือ นั่นเพราะว่าพวกเขามองว่ารีบใช้เงินวันนี้ก็จะมีความสุขทันที หรือเรื่องอื่นเอาไว้ก่อน ทำให้อาจอ่านหนังสือไม่ทัน
การตัดสินใจโดยยึดอคติแบบ Anchoring คือพฤติกรรมที่เราอินข้อมูลเพียงชิ้นเดียว หรืออิงคน ๆ เดียวมากจนเกินไปในการตัดสินใจ โดยไม่ศึกษาข้อมูลชิ้นอื่นจากคนอื่นเพื่อประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย ซึ่งก็อาจจะทำให้เราตัดสินใจได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ยกตัวอย่างเช่น การที่เราไปติวหนังสือกวดวิชาที่ขึ้นชื่อ การันตีว่าสอบติดแน่นอน โดยที่เราอาจจะไม่ได้ศึกษาข้อมูลอื่นประกอบ ทำให้เราเสียเงิน เสียเวลา เสียสุขภาพจิต เพราะกวดวิชาแห่งนั้นอาจแพงมากเมื่อเทียบกับอีกที่ที่ใกล้บ้านกว่าแถมยังถูกกว่า ให้ระวังไว้ว่าเราอาจตัดสินใจพลาดเมื่อมองแต่ผลตอบแทน ความคิดของเราก็จะถูกโน้มน้าวได้ แต่ความจริงแล้วเราอาจผิดหวังได้
เป็นการตัดสินใจที่มีอคติมักจะลำเอียงเข้าข้างบริษัท สินค้า หรือคนที่มาจากประเทศหรือภูมิภาคของตัวเอง นั่นเพราะเราเห็นมันอยู่ทุกวัน เราคุ้นชินกับมันเหมือนที่หลายคนกลัวที่จะพูดคุย เรียนรู้ เเลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนต่างชาติ แต่เลือกที่จะคบค้ากับคนประเทศตัวเองเพราะความเป็นพวกเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น เราอาจกลัวการไปต่างประเทศ กลัวการเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ กลัวการทำงานร่วมกับคนที่ไม่ได้พูดภาษาเดียวกับเรา นั่นอาจทำให้เราเสียโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองไป ทั้งที่หากเราลองทำดู เราอาจเปิดประตูโอกาสอื่นในอนาคตได้อีกมาก เนื่องจากปัจจุบันอาชีพต่าง ๆ เน้นทำงานแบบองค์รวมคือ แม้ว่าเราจะเรียนสายวิทย์แต่การได้ภาษาก็จะยิ่งส่งเสริมให้เราทำงานง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และมีรายได้มากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
ระหว่าง 'สมอง' กับ 'หัวใจ' ใช้อะไรในการตัดสินใจถึงจะดีที่สุด
เคล็ดลับการตัดสินใจให้ไม่พลาดโอกาสที่ดีที่สุด ไร้อาการ 'FOBO'
หลักการคิดแก้ปัญหา 3 แบบ รู้ไว้คิดอะไรก็ไม่มีตัน
ความโง่ 4 แบบที่ทำให้เราพัฒนาตัวเองไม่สำเร็จ
วิธีลดความกดดันในตัวเอง เมื่อคนรอบข้างคาดหวังมากเกินไป
เคล็ดลับที่จะทำให้เราเก่งขึ้น 1% ทุกวัน
ไม่ Productive สักวันก็ไม่เป็นไร ใช้ชีวิตยากไปเดี๋ยวเครียด !
‘AQ’ ทักษะจำเป็นในวันที่โลกหมุนเร็วจนตามไม่ทัน
เคล็ดลับที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนชอบลงมือทำจาก Stanford
HOW TO พักผ่อนสมองให้ความจำดีด้วยวิธี Mindfulness
6 วิธีพัฒนาทักษะสมอง EF ในวัยรุ่นให้เก่งและดี เอาตัวรอดได้
เทคนิคพัฒนาสมอง “ช่วยเพิ่ม IQ” เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
คำถามจิตวิทยา 10 ข้อ ช่วยให้เรารู้จักตัวเอง ค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่
วิธีปรับ Mindset ปลุก Passion ปลดล็อคความสามารถเจ๋ง ๆ ในตัวเอง
แหล่งข้อมูล
SIX BARRIERS TO INVESTMENT SUCCESS Uncovering your behavioral biases