Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

จำนวนเต็ม (Integer)

Posted By Thananthorn | 08 ก.ค. 64
36,434 Views

  Favorite

มนุษย์เราเริ่มต้นในการจดบันทึกจากการเขียนเป็นภาษาไปพร้อม ๆ กับการนับจำนวน เพื่อเป็นการบอกปริมาณความมากน้อยของทรัพยากรที่มีอยู่ ดังนั้น มนุษย์ในยุคโบราณจึงได้พัฒนาจำนวนประเภทต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการจดบันทึก ดังจะเห็นได้จากการใช้ลูกคิดของชาวจีนโบราณ การใช้ขีดเส้นต่าง ๆ ตามผนังถ้ำหรือแกะสลักรอยต่าง ๆ บนกระดูกสัตว์ หรือการเก็บก้อนหินใส่ไว้ในหลุมแทนจำนวนของชาวแอฟริกา

ภาพ : Shutterstock

 

หนึ่งในจำนวนชนิดแรก ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมานั่นคือจำนวนนับ ซึ่งอาจจะเกิดจากการนับจำนวนทรัพยากรที่มี เช่น นับจำนวนสมาชิกในครอบครัว นับปริมาณอาหาร ไม่ว่าจะเป็นธัญพืช หรือผัก ผลไม้ ตลอดจนสัตว์ที่ล่ามาได้ ไปจนถึงนับจำนวนสัตว์เลี้ยง แต่เมื่อมนุษย์มีพัฒนาการทางด้านสังคมมากขึ้น เพียงแค่จำนวนนับอย่างเดียวจึงไม่สามารถตอบคำถามในหลาย ๆ กรณี ดังนั้น มนุษย์จึงสร้างระบบของจำนวนขึ้นมา เพื่อที่จะใช้ระบุปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญคือ จำนวนเต็ม

 

จำนวนเต็ม (Integer:I) หมายถึง จำนวนที่ไม่มีเศษส่วนและทศนิยมประกอบในนั้น ซึ่งจำนวนเต็มประกอบไปด้วยจำนวนที่เป็นพื้นฐานมากที่สุด คือ จำนวนนับ จากนั้นมนุษย์จึงประดิษฐ์ตัวเลข 0 (ศูนย์, Zero) ขึ้นมา เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ไม่มีหรือสิ่งที่ใช้หมดไปแล้ว จากนั้นจึงเริ่มมีแนวความคิดเกี่ยวกับปริมาณที่น้อยกว่าศูนย์ นั่นคือ จำนวนติดลบ เพื่อที่จะใช้แก้ปริศนาของการที่มีจำนวนซึ่งน้อยกว่าศูนย์ เพราะฉะนั้นจำนวนเต็มจึงสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ นั่นคือ
1) จำนวนเต็มบวก หรือจำนวนนับ มีสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนเซตของจำนวนเต็มบวก หรือจำนวนนับคือ     
จำนวนเต็มบวก เขียนแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ I+
จำนวนนับ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ N หรือ Z
2) จำนวนเต็มศูนย์หรือศูนย์ เป็นจำนวนเต็มชนิดหนึ่ง มีสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์คือ 0
3) จำนวนเต็มลบ มีสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์คือ I-

ภาพ : Shuttersock

 

นอกจากนี้ในเรื่องของระบบตัวเลขทางคณิตศาสตร์ยังประกอบขึ้นจากตัวเลขฐานที่แตกต่างกัน เช่น ระบบเลขฐานสอง หรือ Binary Numeral System ซึ่งเกิดจากสัญลักษณ์ทางตัวเลขเพียง 2 ชนิดคือ 1 และ 0 เป็นหลักการที่นำไปใช้ในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ส่วนระบบจำนวนจริงที่ใช้โดยทั่วไปจะใช้เป็นเลขฐานสิบ หรือ Decimal Numeral System เกิดจากสัญลักษณ์แทนตัวเลขนั่นคือ เลข 0 ถึง 9 เพื่อนำมาจัดเรียงกันเป็นตัวเลขต่าง ๆ ที่เราใช้กันในปัจจุบัน โดยแต่ละหลักมีค่าประจำหลักแตกต่างกันเป็นพหุคูณของสิบ จึงเรียกว่าเลขฐานสิบ ยกตัวอย่างเช่น
324 เกิดจาก 300+20+4
นั่นคือ เลข 3 อยู่ในหลักร้อย จึงมีค่าประจำหลักเป็น 100 หรือ 102
เลข 2 อยู่ในหลักสิบ มีค่าประจำหลักเป็น 10 หรือ 101
และ เลข 4 อยู่ในหลักหน่วย มีค่าประจำหลักเป็น 1 หรือ หรือ 100
การที่ตัวเลขจำนวนเต็มอยู่ต่างหลักกัน ทำให้มีค่าประจำหลักที่แตกต่างมาประกอบกันจนเกิดเป็นเลขจำนวนเต็ม ฐานสิบได้

ภาพ : Shutterstock

 

นอกจากนี้เรื่องราวของจำนวนเต็มยังมีอีกหลากหลายเรื่องให้ศึกษา ทั้งเกี่ยวกับการหารลงตัว ทำให้เกิดทฤษฎีของ ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) จำนวนคู่ จำนวนคี่ และอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Thananthorn
  • 4 Followers
  • Follow