การดูแลตัวเองด้านอารมณ์ คือ การดูแลรักษาอารมณ์ของเราให้สมดุล รู้ทันอารมณ์ตัวเองและรู้จักจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ไม่ทำอะไรตามใจ ตามอารมณ์ของตัวเองจนทำให้คนอื่นเดือดร้อน ด้วยการทำกิจกรรมที่ช่วยให้เราเชื่อมต่อกับอารมณ์จนสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ได้ในเกณฑ์ดี
• ไปพบจิตแพทย์เมื่อต้องการเพื่อขอคำปรึกษา
• เขียนบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันว่าเรารู้สึกยังไง
• วาดภาพ ระบายสีให้ศิลปะบำบัด
• ฟังเพลง เต้นเมื่อมีความสุข
• มีแผนรับมือกับตัวเองเมื่อมีอารมณ์เศร้าหรือเครียด เช่น เมื่อเครียดเราจะหยุดทุกอย่างแล้วไปเดินเล่น เป็นต้น
• ลดการเล่นโซเชียลมีเดียให้น้อยลง เพิ่มเวลานอกจอ
• ปลูกต้นไม้ ผักสวนครัว หรือเลี้ยงสัตว์
การดูแลสุขภาพกาย คือ การดูแลร่างกายของตัวเองให้แข็งแรง ไม่เจ็บปวด และพร้อมที่จะออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่สมวัย การรู้จักกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี ทำกิจกรรมที่ได้ใช้แรงปานกลาง ได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่
• ออกกำลังกายให้สมวัยอย่างสม่ำเสมอ
• เดินให้มากขึ้น ไม่นั่งทำอะไรนาน ๆ เกิน 1 ชั่วโมง
• เพิ่มมื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพให้มากขึ้น กินผัก ผลไม้ ลดเนื้อแดง
• ลดหวาน มัน เค็ม ลดการปรุงเพิ่ม กินแต่พออิ่ม
• นอนให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ
• เมื่อเจ็บป่วยก็ให้หยุดพัก รักษาตัวเองให้ดี
• ดูแลตัวเองให้ดูดีสมวัย
การดูแลตัวเองในทางปฏิบัติ คือ การทำงานที่สำคัญต่อชีวิตให้สำเร็จลุล่วง เพื่อเติมเต็มเป้าหมายในชีวิต ทำให้การใช้ชีวิตไม่ติดขัด และเพื่ออนาคตที่สดใส การรู้จักป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดในอนาคตหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดี ไม่บกพร่อง
• จดบันทึกรายรับรายจ่ายสม่ำเสมอ
• ลงเรียนภาษาใหม่ ๆ หรือคอร์สที่สนใจและสำคัญสำหรับอนาคต
• จัดบ้าน เก็บของในตู้เสื้อผ้าให้เป็นระเบียบเสมอ
• ทำอาหารทานเอง
• เรียนให้ดี อ่านหนังสือ รักษาเกรดให้อยู่ในเกณฑ์ดี
• รู้จักมารยาทสังคม สิทธิเสรีภาพตามหลักสากล และรู้จักแก้ปัญหา
• ไม่กลัวที่จะออกไปลองอะไรใหม่ ๆ เพื่อประสบการณ์ชีวิต
การดูแลตัวเองด้านความสัมพันธ์ คือ การเอาตัวเองออกไปพบเจอผู้คน ทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ทำกิจกรรมกลุ่ม เล่นเป็นกลุ่ม เพื่อฝึกใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ลดความขัดแย้ง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นอย่างรู้ขอบเขต
• หาเวลาให้กับคนที่คุณรักให้มากขึ้น
• นัดเจอเพื่อนทั้งเก่าและใหม่เมื่อมีโอกาส
• ดูแลคนใกล้ชิด โทรหาหรือส่งข้อความหาเมื่อทำได้
• เข้ากลุ่มเพื่อทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น เล่นกีฬา ไปคอนเสิร์ต ไปเที่ยว ไปคาเฟ่ กินข้าว เดินเล่นด้วยกัน
• สอบถามสารทุกข์สุขดิบกับคนใกล้ตัวอย่างจริงใจสม่ำเสมอ
• ช่วยเหลือคนใกล้ตัว คนในสังคมเท่าที่ทำได้
การดูแลตัวเองด้านสติปัญญา คือ การทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายจิตใจ เบา ๆ ไม่เครียด ในขณะเดียวกันก็เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกใช้สมองทั้งสองซีก กระตุ้นให้เกิดการคิด การตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำอยู่อย่างมีเหตุผลเพื่อให้เรามีสติรู้ตัวอยู่กับปัจจุบัน
• การอ่านหนังสืออะไรก็ได้ที่สนใจ
• ต่อจิ๊กซอว์ลายที่ชอบ
• เล่นหมากรุก เล่นเกมฝึกสมองที่ไม่เครียด
• ไปเดินชมพิพิธภัณฑ์
• อ่านหนังสือภาษาต่างประเทศเพื่อสัมผัสวัฒนธรรม ค่านิยมที่แตกต่าง
การดูแลตัวเองด้านจิตวิญญาณ คือ ดูแล ปกป้องจิตตัวเองให้เข้มแข็ง อนุญาตและมองเห็นว่าตัวเองพัฒนาได้มากกว่าที่เป็นอยู่ กล้าหาญที่จะเชื่อในความคิดของตัวเอง เมื่อมีอุปสรรคก็สามารถที่จะเอาชนะได้ และไม่ไขว้เขวเมื่อมีใครมาพูดจาไม่ดีหรือดูถูก
• ทำสมาธิ ไม่ว่าจะนั่งสมาธิหรือนอนสมาธิ
• เล่นโยคะวันละ 30 นาที
• ออกไปเดินสัมผัสธรรมชาติ
• เขียนบันทึกและลองไตร่ตรองกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาว่าเรารู้สึกยังไงกับมัน
• เขียนบันทึกความรู้สึกขอบคุณว่าทุกชีวิตมีค่า
• อ่านหนังสือที่ส่งเสริมการเติบโตทางจิตวิญญาณของคุณ
ต่อไปนี้เราจะไม่โฟกัสที่คำว่า Health หรือสุขภาพเท่านั้น แต่เราจะโฟกัสที่คำว่า Wellness คือความสุขสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และสังคม ให้ทั้งหมดนี้สุขภาพดีไปพร้อมกันทั้งหมด
บทความที่เกี่ยวข้อง
คำแนะนำที่จะทำให้ 'รักตัวเอง' มากขึ้น ด้วยแนวคิด Body Positive
รวมคำพูดที่ควรพูดกับตัวเองบ่อย ๆ จะช่วยเพิ่มพลังใจ & เพิ่มพลังบวก
‘อ้อมกอดผีเสื้อ’ วิธีบำบัดจิตใจให้ผ่อนคลายจากซีรีส์เกาหลีที่ใช้ได้จริง
3 วิธี ‘ฝึกสมาธิ’ เรียกคืนสติในทุกสถานการณ์
ฮีลตัวเองยังไงดีในวันที่เหนื่อยและท้อจนหมดพลัง
20 ข้อคิดดีๆ ที่วัยรุ่นควรเก็บไว้เตือนสติตัวเองตอนอายุ 20
ทำยังไงดี เมื่อรู้สึกว่าตัวเองไม่สวยตาม 'Beauty Standard'
รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วยการพัฒนาบุคลิกผ่าน 'สี' ตัวเราคือสีอะไร ?
Emotional Agility ทักษะการจัดการอารมณ์ให้สมดุลจากนักจิตวิทยา
ไม่ Productive สักวันก็ไม่เป็นไร ใช้ชีวิตยากไปเดี๋ยวเครียด !
เปลี่ยนจากคนที่มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง เป็นคนที่รักตัวเอง
คำถามจิตวิทยา 10 ข้อ ช่วยให้เรารู้จักตัวเอง ค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่
แหล่งข้อมูล
WHO Consolidated Guideline on Self-Care Interventions for Health