Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รู้จักความต่างระหว่างนักจิตวิทยา จิตแพทย์ และนักจิตบำบัด

Posted By Plook Magazine | 14 ก.ค. 64
26,373 Views

  Favorite

ปัจุบันนี้ปัญหาสุขภาพจิตกลายมาเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากขึ้น ไม่ว่าตอนนี้คุณจะอายุเท่าไหร่ทุกคนล้วนแล้วแต่เคยเจอปัญหาด้านสุขภาพจิตกันมาไม่มากก็น้อย ซึ่งหลายคนอาจสับสนว่าแล้วถ้าเรามีปัญหาทางจิต เราควรจะไปพบใครดีระหว่างนักจิตวิทยา จิตแพทย์ และนักจิตบำบัด วันนี้เรามีคำตอบมาให้ว่าแต่ละอาชีพนั้นแตกต่างกันอย่างไร   

 

 

จิตแพทย์ (Psychiatrist) 


ขึ้นชื่อว่าแพทย์แล้วนั่นก็หมายความว่าจะต้องมีความรู้ด้านการแพทย์โดยเฉพาะ คือเรียนจบหมอทั่วไป 6 ปีแล้วเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวชต่อ จำไว้เลยว่าเมื่อเห็นคำว่า จิตแพทย์ แปลว่าส่วนใหญ่แล้วจะรักษาคนไข้ที่มีความผิดปกติทางด้านความคิดและจิตใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่ผิดปกติ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจิตแพทย์จะไม่รู้วิธีการให้คำปรึกษาหรือบำบัดด้วยการพูดคุย การให้คำปรึกษานะ เพียงแต่ว่าหน้าที่หลักของจิตแพทย์จะเน้นไปที่โรคต่าง ๆ เช่น โรคไบโพลาร์ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท ฯลฯ เราจะทำอย่างไรให้เขาดีขึ้น จำเป็นต้องใช้ยาตัวไหนประมาณนี้
 

ลักษณะงาน: งานของจิตแพทย์ในปัจจุบันคือการพยายามหาคำตอบว่าคนไข้มีปัญหาใดที่ทำให้สมองทำงานผิดปกติ ซึ่งในการรักษาและปรับการทำงานของสมองในยุคปัจจุบันจะใช้ยาเป็นหลัก เพื่อช่วยรักษาและเปลี่ยนสารเคมีในสมองให้วงจรต่าง ๆ กลับมาทำงานปกติขึ้น

 

 

นักจิตวิทยา (Psychologist)


จำไว้เลยว่าเมื่อเห็นคำว่า นักจิตวิทยา นั่นหมายความว่าเขาคือผู้ที่จบการศึกษาจากสาขาจิตวิทยา ไม่ใช่หมอนะ แต่เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาในเชิงจิตวิทยา ซึ่งนักจิตวิทยามีอยู่ 10 สาขาด้วยกัน เช่น จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาพัฒนาการ ฯลฯ นักจิตวิทยาจะรับฟังและให้คำปรึกษาในเชิงจิตวิทยาตลอดจนบำบัดด้วยการทำให้คนไข้เข้าใจเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของการกระทำนั้น ๆ ไม่ใช่แค่ให้กำลังใจหรือว่าปลอบใจเฉย ๆ 

 

ลักษณะงาน: นักจิตวิทยาจะทำงานร่วมกับจิตแพทย์เพื่อให้จิตแพทย์ได้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ลึกมากขึ้นในการวินิจฉัยโรค ดังนั้นนักจิตวิทยาจึงไม่มีอำนาจในการวินิจฉัยหรือสั่งยารักษาได้เหมือนจิตแพทย์ หน้าที่หลักจึงเป็นการรับฟังคนไข้พร้อมกับให้คำปรึกษาปัญหาที่เกิดจากความเครียด อารมณ์ ความรู้สึก จนคนไข้เข้าใจถึงการกระทำของตัวเองจนดีขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

นักจิตบำบัด (Psychotherapist) 

 

ในไทยไม่มีปริญญาทางจิตบำบัดโดยตรงเหมือนเมืองนอก ดังนั้นเราจะไม่ค่อยได้ยินคำว่า นักจิตบำบัด เท่ากับนักจิตวิทยาคลินิกที่ทำได้แทบทุกอย่าง นักจิตบำบัดจะต้องไปเรียนโทต่อเฉพาะทาง เช่น ศิลปะบำบัด ละครบำบัด ดนตรีบำบัด การเคลื่อนไหวบำบัด ตามแต่ที่นักจิตบำบัดคนนั้นถนัดและร่ำเรียนมาโดยเฉพาะ เพราะบางครั้งคนไข้ก็ไม่สามารถที่จะระบายพูดคุยสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ จึงทำให้เป็นที่มาของนักจิตบำบัด เพื่อที่จะได้ช่วยบำบัดปัญหาของคนไข้ให้เบาลงด้วยการใช้กิจกรรมนั้น ๆ มาช่วยตีความอาการ

 

ลักษณะการทำงาน: เช่น การใช้ศิลปะบำบัด บางคนอาจตอบไม่ได้เมื่อถูกถามว่า ‘คุณรู้สึกยังไง’ นักจิตบำบัดก็จะให้เขาลองทำอะไรก็ได้กับอุปกรณ์เหล่านี้ให้เกิดภาพอะไรก็ได้แล้วถ่ายทอดออกมา ศิลปะบำบัดก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจจะเหมาะกับคนประเภทนี้เพื่อที่จะได้รักษาคนไข้ให้อาการดีขึ้น

 

มนุษย์เราประกอบด้วยกายกับจิต กายที่ดีก็ทำให้สุขภาพจิตดีได้ แต่บางครั้งจิตก็เป็นตัวนำทางชีวิต ถ้ามันขาดความเข้าใจในตัวเองหรือมีความทุกข์ จิตก็สามารถที่จะบั่นทอนร่างกายได้เหมือนกัน ดังนั้นรักษาสุขภาพกายดีแล้ว อย่าลืมใส่ใจสุขภาพจิตด้วยนะคะ ถ้ารู้สึกว่าไม่ไหวก็หาคนปรึกษาที่มีความรู้จริงเพื่อค่อย ๆ แก้ไขมันไป

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

THERAPIST CAREERS อาชีพบำบัดใจ

Pop Culture jobs อาชีพป๊อปป๊อปบนโลกออนไลน์

Boost Your Self-Esteem บูสต์ความรู้สึกดีต่อตัวเองให้มากขึ้น

วิธีเยียวยาใจตัวเอง เมื่อโดนปฏิเสธบ่อย ๆ

เป็นคนอารมณ์อ่อนไหวง่าย จะรับมือกับอารมณ์ตัวเองยังไงดี

Ambiverts จะโลกภายในหรือภายนอกก็เอาอยู่

Emotional Agility ทักษะการจัดการอารมณ์ให้สมดุลจากนักจิตวิทยา

รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วยการพัฒนาบุคลิกผ่าน 'สี' ตัวเราคือสีอะไร ?

วิธีลดความกดดันในตัวเอง เมื่อคนรอบข้างคาดหวังมากเกินไป

3 วิธี ‘ฝึกสมาธิ’ เรียกคืนสติในทุกสถานการณ์

ฮีลตัวเองยังไงดีในวันที่เหนื่อยและท้อจนหมดพลัง

สอบตก แม่ด่า แมวไม่เล่นด้วย 5 วิธีเรียกคืนความสดใสไม่ให้คิดมาก

เพิ่มเวลาออฟไลน์ ลดความเครียดกับ ‘Social Media Detox’

 

 

แหล่งข้อมูล

จิตแพทย์

He, Art, Psychotherapy พื้นที่ดี ๆ จาก โดม Summer Stop ที่อยากให้จิตบำบัดเป็นเรื่องใกล้ตัว

 
 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow