Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

จับพิรุธคนโกหก ด้วยเทคนิคเจ๋ง ๆ จากนักจิตวิทยา

Posted By Plook Magazine | 02 ก.ค. 64
53,667 Views

  Favorite

หนึ่งในสกิลสำคัญทีี่เราควรมีติดตัวไว้คือการอ่านภาษากายของคนเรา เพราะมันสามารถบอกได้ว่าคน ๆ นั้นกำลังโกหกหรือรู้สึกอย่างไรอยู่ บทความนี้เลยอยากจะมาแชร์เทคนิคเจ๋ง ๆ จากนักจิตวิทยา ที่จะช่วยให้เราจับโป๊ะคนโกหกได้ ขอบอกเลยว่ามีประโยชน์ต่อการใช้ชีิวิตในทุกวันนี้มาก

 

 

 

มนุษย์เรียนรู้การโกหกตั้งแต่ทารก

คนเราเริ่มเรียนรู้การโกหกตั้งแต่ตอนเด็ก เมื่ออายุครบ 6 เดือน ทารกจะเริ่มรู้ว่าพฤติกรรมของตัวเองมีผลต่อผู้ดูแล และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว เช่น แกล้งร้องไห้เพื่อดึงความสนใจ หรือแกล้งหัวเราะเพราะเห็นว่าคนรอบข้างชอบท่าทางแบบนี้ เป็นต้น ในงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัท ประเทศอังกฤษ ได้บอกไว้ว่า เราไม่ควรตีความว่าการโกหกในช่วงอายุนี้เป็นข้อพิสูจน์ว่าคนเราไม่ซื่อสัตย์ การหลอกลวงถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทารกเรียนรู้เพื่อสื่อสารกับคนอื่นทางสังคมก่อนที่จะพูดเป็น

 

คนเรามักโกหกเรื่องอะไรกันบ้าง

• เรื่องเกี่ยวกับตัวเองมากกว่า 50%

• เรื่องของคนอื่น (โกหกเพื่อคุ้มครองคนอื่น) 25%

ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนเราต้องโกหกมักเกิดจากแรงจูงใจ 2 ประเภท คือ โกหกเพื่อโจมตีคนอื่น และโกหกเพื่อป้องกันตัวเอง

 

แรงจูงใจที่จะโกหกเพื่อโจมตีคนอื่น ได้แก่

• เพื่อเอารางวัล เพราะถ้าไม่โกหกก็ไม่มีทางได้มาง่าย ๆ

• เพื่อได้เปรียบคนอื่นหรือได้ประโยชน์จากสถานการณ์

• เพื่อสร้างความประทับใจเชิงบวกและได้รับการชื่นชม

• เพื่อแสดงอำนาจเหนือผู้อื่นด้วยการควบคุมข้อมูล

 

แรงจูงใจที่จะโกหกเพื่อป้องกันตัวเอง ได้แก่

• เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษหรือต้องอับอายขายหน้า

• เพื่อคุ้มครองไม่ให้คนอื่นโดนลงโทษ

• เพื่อคุ้มครองตนเองจากภัยอันตรายทางกายหรือทางอารมณ์

• เพื่อหลุดพ้นจากสถานการณ์ทางสังคมที่น่าอึดอัดใจ

• เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว

 

FUN FACT: คนชอบเข้าสังคมมักจะพูดโกหกมากกว่าคนเก็บตัว และรู้สึกสบายใจกว่าเวลาโกหก รวมทั้งยืนกรานเรื่องที่โกหกอยู่ได้นานกว่า 

 

 

 

13 เคล็ดลับจับโกหกจากนักจิตวิทยา

 

1. เวลาฟังใครเล่าอะไร ขอให้อดทนไว้ อย่าเติมข้อมูลที่ขาดหายไป แต่จงใส่ใจอย่างเต็มที่กับสิ่งที่เขาพูดและไม่ได้พูดออกมา

 

2. เด็กมักยกมือปิดปากเวลาพูดโกหก ส่วนผู้ใหญ่ที่โกหกจะพยายามอดทนไม่ทำแบบนั้น ทั้งที่เป็นแรงกระตุ้นสากลที่พบโดยทั่วไป แต่อาจจะยกมือแตะปากเร็ว ๆ หรือวาดมือไปบนแทน

 

3. คนเรามักจะแตะไปที่ดวงตาหรือพยายามหลับตาเวลาพูดโกหก ซึ่งมักจะทำไปโดยที่ไม่รู้ตัว ผู้ชายมักจะถูตา ส่วนผู้หญิงจะแตะใต้ดวงตาเบา ๆ 

 

4. ให้ฝึกมองหาการแสดงอารมณ์บนใบหน้าที่ออกมาเพียงชั่วพริบตาเดียว ซึ่งเรียกว่า ‘การแสดงสีหน้าในระดับไมโคร’ แม้จะปรากฎเพียงสั้น  ๆ แต่คนโกหกมักระงับไว้ไม่อยู่ ทำให้เราได้สัญญาณบอกใบ้ที่เชื่อถือได้ของคความรู้สึกที่แท้จริงของบุคคคลนั้น

 

5. ให้สังเกตสมมาตรในการแสดงท่าทางกับการแสดงสีหน้าของบุคคล เช่น รอยยิ้ม หน้าบึ้ง และการยักไหล่ ซึ่งถือเป็นหน้ากากด้านเดียวที่ปิดบังความรู้สึกอันแท้จริง ขณะที่การแสดงท่าทางของความจริงตามธรรมชาติมักเกิดขึ้นเท่า ๆ กันทั้งภายนอกและภายใน

 

6. ลองมองหากลุ่มพฤติกรรมที่สื่อถึงการหลอกลวง เพราะการแสดงท่าทางหรือการหลุดปากพูดโดยไม่ตั้งใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีความหมายอะไร แต่ถ้าสังเกตเห็นตัวชี้วัดการหลอกลวงหลาย ๆ แบบในกลุ่มพฤติกรรมดังกล่าวก็น่าจะช่วยให้เราระวังตัวได้

 

7. ให้ระวังการผงกศีรษะที่ไม่ตรงกับใจ เช่น เพื่อนที่บอกว่าขอยืมเงินหน่อยแล้วจะคืนแน่ ๆ แต่ในขณะที่พูดก็ส่ายหน้าไปด้วย ภาษากายแบบนั้นสื่อให้เห็นว่ากำลังโกหกอยู่

 

8. หากคู่สนทนาหยุดแสดงท่าทางหรือทำตัวนิ่งแข็งบริเวณร่างกายส่วนบน ซึ่งไม่ใช่พฤติกรรมตามธรรมชาติ สามารถสื่อได้ว่ากำลังหลอกเรา สิ่งสำคัญคือจงเชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง หากรู้สึึกแปลก ๆ 

 

9. เวลาจะตั้งคำถามเพื่อดูว่าอีกฝ่ายจะหลอกเราหรือไม่ ให้พยายามอยู่ตรงตำแหน่งที่เราจะมองเห็นใบหน้า ลำตัว และขาของคู่สนทนาได้ชัด ๆ เพื่่อจะจับพฤติกรรมที่ไม่สอดคคล้องกันได้มากขึ้น เช่น การยกมือบังหน้าเวลาที่เราพยายามสบตา หรือหันหน้าไปตรงทางออก เป็นต้น

 

10. มองหาความขัดกันในคำพูด การแสดงสีหน้า และภาษากาย คนโกหกมักจะทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ แต่คนพูดความจริงจะส่งสารเดียวกันออกมาอย่างสอดคล้องในทุกช่องทาง

 

11. ให้ซักถามด้วยคำถามปลายเปิดเพื่อเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง และใช้คำถามที่ตอบว่าใช่หรือไม่ เพื่อประเมินพฤติกรรม

 

12. การตอบคำถามยาก ๆ โดยพูดทวนทั้งหมด ถือเป็นชั้นเชิงในการซื้อเวลาเพื่อจะแต่งเรื่องโกหก หากเป็นคนที่พูดความจริงมักจะถามเพื่อให้มั่นใจว่าได้ยินคำถามถูกต้องแล้ว โดยจะพูดทวนคำถามแค่บางส่วนเท่านั้น

 

13. ให้ใส่ใจตอนจบการพูดคุยหรือสอบถาม ถ้าเขาแสดงความโล่งอกอย่างเห็นได้ชัดหลังจากการสอบถาม อาจเป็นเพราะเรื่องหลอกลวงของเขาใช้ได้ผล


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่ต้องเป็นหมอดู ก็อ่านใจคนได้

ความโง่ 4 แบบที่ทำให้เราพัฒนาตัวเองไม่สำเร็จ

ทำไมคน Gen Z ถึงไม่มีศาสนามากขึ้น

4 คำถามถ้าอยากคิดวิเคราะห์เก่ง เพราะ 'Critical Thinking' นั้นสำคัญ

Emotional Agility ทักษะการจัดการอารมณ์ให้สมดุลจากนักจิตวิทยา

ฝึก ‘ความฉลาดทางอารมณ์’ เคล็ดไม่ลับอัปผลการเรียนให้ดีขึ้น

‘AQ’ ทักษะจำเป็นในวันที่โลกหมุนเร็วจนตามไม่ทัน

เมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกันกับเพื่อนประจำ จะทำยังไงให้ไม่ทะเลาะกัน

มั่นหน้ามั่นใจเกินเบอร์ เสี่ยงเป็นคนมีบุคลิกภาพหลงตัวเอง !

รู้สึก ’โดดเดี่ยว’ ทั้งที่มีเพื่อนเยอะ แต่ไม่รู้ว่าสนิทกับใคร

ชอบตัดสินใจผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ จนเบื่อตัวเอง...แก้ยังไงดี ?


 

แหล่งข้อมูล
Pamela Meyer. (2559). เทคนิคจับเท็จ เคล็ดลับจับโกหก. แปลจาก Liespotting. แปลโดยพิมพ์ใจ สุรินทรเสรี. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์

 
 
 
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow