บางครั้งเราอาจจะใช้ทักษะนี้โดยไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ เพราะปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ในทุก ๆ วันของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นปัญหารถเสียกลางทาง แล้วเราต้องแก้ปัญหาตัดสินใจการเดินทางใหม่เพื่อไปถึงจุดหมายได้ทันเวลา ปัญหารอบตัวที่เกิดขึ้นบางอย่างเป็นปัญหาระยะสั้นที่ต้องอาศัยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า บางอย่างต้องแก้ปัญหาแบบระยะยาว เพราะการตัดสินใจนั้น ๆ อาจส่งผลต่ออนาคตหรือมีผลกระทบกับผู้คนอื่น ๆ เช่น การวางแผนศึกษาต่อ หรือการตัดสินใจเปลี่ยนสายงาน วันนี้เรามาลองดูเทคนิคการจัดการปัญหาตัดสินใจกัน
การแก้ไขปัญหา อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ย่อมทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่า พื้นฐานง่าย ๆ อาจเริ่มต้นจาก 6 ขั้นตอน ดังนี้
1.ค้นหานิยามหรือต้นตอของปัญหาที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่พื้นๆ ง่าย ๆ หรือปัญหาที่ซับซ้อน มีหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้น การค้นหาต้นตอของปัญหาจริงๆ ว่าคืออะไร สิ่งใดที่เราหวังว่าจะแก้ไขให้ได้ เช่น การทำงานกลุ่มที่ล่าช้าและไม่เสร็จทันเวลา เราต้องทำการวิเคราะห์ ปัญหาอยู่ที่ปริมาณคนทำงานที่น้อย หรือคนทำงานไม่เหมาะกับงาน เมื่อเจอต้นตอที่ถูกจุด เราจะสามารถแก้ปัญหาต่อไปได้อย่างตรงประเด็น
2. ศึกษาปัญหาให้รอบด้าน เมื่อหาต้นตอหรือปัญหาที่แท้จริงได้แล้ว ต้องลองศึกษาหาข้อมูลถึงธรรมชาติของปัญหานั้น ๆ ลองดูว่าปัญหาแนวนี้หรือกรณีีที่ใกล้เคียง เคยใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างไร และวิธีเหล่านั้นช่วยแก้ปัญหาได้จริงและยั่งยืนหรือไม่ หรือควรหาแนวทางใหม่ที่ดีกว่า
3. มองหาทางแก้ไขที่เป็นไปได้ เมื่อคำนวณมาแล้ว สมมุติว่าทางแก้ที่เคยทำในปัญหานี้หรือเคสที่ใกล้เคียงกัน ใช้วิธีการแก้ไขที่ไม่ยั่งยืน เราอาจะลอง list ทางแก้ไขอื่น ๆ ที่พอจะเป็นไปได้ออกมาเป็นข้อ ๆ ซึ่งในส่วนนี้หากเป็นงานกลุ่ม หรือการทำงานเป็นทีมเราอาจจะขอความช่วยเหลือจากสมาชิกในทีม ให้ช่วยกันระดมสมองได้
4. ถึงเวลาตัดสินใจเลือก เมื่อมีลิสต์ทางออกแล้ว ลองทำการประเมินข้อดีข้อเสียของแต่ละทางแก้ปัญหา ว่าทางออกได้คุ้มค่าหรือประสิทธิภาพมากกกว่า โดยการคิดแก้ปัญหาและกระบวนการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ประการ คือ
• การได้ประโยชน์สูงสุด (Maximize Utility) เป็นการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด เป็นไปได้มากที่สุด ให้ผลในทางบวกมากที่สุด และให้ผลในทางลบน้อยที่สุด ผลของทางเลือกทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและค่าใช้จ่ายต่าสุด หรือมีผลตอบแทนที่ได้กลับมามากกว่า
• ความพอใจสูงสุด (Maximize Satisfaction) การเลือกทางเลือกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดทำให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้บางครั้งการเลือกทางเลือกแบบ Maximize อาจทำได้มีการยอมรับน้อย แต่ทางเลือกแบบ 2. Satisfice มีผู้ยอมรับเห็นพ้องต้องกันมากกว่า
• ทางเลือกที่มีความเหมาะสมที่สุด (Optimizing) การเลือกทางเลือกที่ทำให้บรรลุเป้าหมายหลายอย่างพร้อม ๆ กันเป็นกลยุทธ์การตัดสินใจที่ทำให้เกิดผลที่ดีสุดในหลาย ๆ เป้าหมาย (The best balance among multiple goals)
หากทำงานเป็นทีม อาจร่วมกันประเมินและตัดสินใจได้ โดยอาจมีแผนแก้ปัญหาสำรอง รองรับกรณีที่คิดว่า แผนรแรกอาจมีช่องโหว่
5. ลงมือแก้ปัญหาอย่างแบบเผน เมื่อเลือกทางนั้นแล้วก็ควรลงมือทำ โดยไม่เร่งรีบจนหลงลืมการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทางออกของปัญหาที่เลือกไว้นั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด
6. รอผลการแก้ปัญหา รวมทั้งประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ว่าทางแก้ไขนั้นมีผลเป็นอย่างไร เป็นไปตามคาดหรือไม่ หรือควรเปลี่ยนแผนสำรองหรือไม่
---------
1.อย่าหมกมุ่นกับปัญหาจนเกินไป แต่ให้กลับมาโฟกัส ที่วิธีการแก้ปัญหาแทน เป็นสำคัฐ จะช่วยให้เรามีความคิดในทิศทางบวกมากขึ้น แลัะเปิดตาให้กว้างต่อการหาทางแก้ปัญหาใหม่ๆ
2. พยายามเป็นผู้ฟังที่ดี เราะในการแก้ไขปัญหา อาจมีคนจากหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรระมัดระวังในเรื่องความคิดเห็น การวิเคราะห์ต่างๆ ให้มาก เพราะมันอาจะส่งผลกระทบให้กับบางคนมากเกินไป
3. นำทักษะอื่น ๆ มาเป็นตัวช่วยได้การแก้ปัญหา เช่น ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อหาทางออกโดยไม่ต้องยึดติดวิธีเดิม ๆ ใช่ทักษะการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ต้นตอปัญหาที่แท้จริง ให้แก้ไขได้ตรงจุด รวมทั้งควรมี EQ และการรู้จักทำงานเป็นทีม เพื่อให้การแก้ปัญหาเดินหน้าต่อไปได้ เพราะมีการช่วยเหลือกันภายในหน่วยงาน
มาลองเช็คกันอีกทีว่าน้องๆ มีกระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ แล้วหรือยัง
น้อง ๆ มีลักษณะตามด้านล่างนี้หรือไม่ | ใช่/มีลักษณะดังกล่าว | ไม่ใช่/ไม่มีลักษณะแบบนี้ |
1. เมื่อเกิดปัญหามีกระบวนการในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้น | ||
2. ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ | ||
3. ไม่ยึดติดวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ | ||
4. มีการตั้งคำถามที่ดีในการแก้ปัญหา | ||
5. ยอมรับในสถานการณ์ต่างๆ และมีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา | ||
6. มีมนุษยสัมพันธ์ ในการสร้างสัมพันธ์ภาพกับผู้อื่น | ||
7. ปรับตัวได้ดีกับสถานการณ์ต่าง ๆ |