ตัวบวมหรืออาการบวมน้ำเป็นปัญหาที่คนชอบกินรสเค็มรสจัดและอาหารแปรรูปมักต้องเจอ เนื่องจากอาหารดังกล่าวมีโซเดียมสูง เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณมากก็จะทำการเก็บน้ำเอาไว้เพื่อขับโซเดียมส่วนเกินออก เซลล์ก็จะขยายตัวขึ้น และกว่าจะขับออกหมดก็ต้องใช้เวลา จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมถึงตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกตัวบวม ๆ นั่นเอง รวมถึงการกินอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส สำหรับการลดอาการตัวบวมนั้นก็มีหลากหลายวิธี ซึ่งวิธีง่ายที่สุดก็คือปรับพฤติกรรมการกินหรือเลือกกินให้เหมาะสม อย่างอาหารที่เราจะมาแนะนำต่อไปนี้ ก็เป็นอาหารขับโซเดียมและลดอาการตัวบวมน้ำได้ดีทีเดียว มีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูเลยค่ะ
ส้มมีโพแทสเซียมสูง ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย ช่วยกำจัดของเสียในร่างกาย และมีกากใยอาหารสูงซึ่งช่วยในระบบขับถ่าย
กีวีไม่เพียงแต่เป็นผลไม้ที่มีวิตามินสูงเท่านั้น ในกีวียังมีเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อย และมีโพแทสเซียมสูงด้วย
นอกจากกล้วยจะให้พลังงานมากแล้ว ในกล้วยยังมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งมีส่วนช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย และยังช่วยบรรเทาอาการท้องอืดได้
อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ รักษาอาการบวมน้ำ และช่วยย่อยได้ดี
มีเอนไซม์ที่เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ช่วยรักษาอาการขัดเบา ทำให้ปัสสาวะได้ดี เป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้อาการท้องผูก
ผลไม้ให้น้ำเยอะ มีสรรพคุณโดดเด่นในการขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร และยังช่วยล้างพิษจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ด้วย
ในมะเขือเทศมีสารที่มีฤทธิ์ในการช่วยขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำในร่างกาย ช่วยควบคุมสมดุลของเหลวในเซลล์ และเนื้อเยื่อ
แตงกวาเป็นผักที่มีน้ำเยอะ มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ และมีส่วนช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
ผลและเมล็ดของฟักเขียวสามารถลดอาการบวมน้ำ และช่วยขับปัสสาวะ รและยังแก้อาการอืดแน่นท้องได้ด้วย
ผักใบเขียวกลิ่นฉุน อุดมไปด้วยโพแทสเซียม มีสรรพคุณในการช่วยขับปัสสาวะ ขับลมในกระเพาะอาหาร ลดอาการบวมน้ำได้ดี
สารแอสพาราจีนในหน่อไม้ฝรั่งมีสรรพคุณในการช่วยกระตุ้นการผลิตปัสสาวะ ช่วยลดอาการบวมน้ำ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ไม่มีโซเดียมตามธรรมชาติ
อะโวคาโดเป็นแหล่งของกรดไขมันชนิดดี (HDL) มีโพแทสเซียมสูง และมีโปรตีนสูงกว่าผลไม้ชนิดอื่น ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย มีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี ไม่ทำให้เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหาร
โยเกิร์ตมีโพรไบโอติกส์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีต่อลำไส้ ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรียบเรียงข้อมูลจาก