Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เคล็ดลับเลือกอาชีพที่ใช่ด้วย weighting score

Posted By PlookExplorer1 | 09 มิ.ย. 64
13,159 Views

  Favorite

สำหรับน้อง ๆ ที่มีอาชีพในฝันอยู่ในใจ อาจจะหาทางไปไม่ยาก

แต่สำหรับใครที่ยังลังเลว่า โตขึ้นจะเป็นอะไรดี ตัดสินใจยาก พี่ ๆ มีเคล็ดลับหนึ่งวิธีที่จะช่วยตัดสินใจมาให้ลองใช้กัน เรียกว่า “weighting score” 

 

Shutterstock 

       weighting score คือ การให้คะแนนของสิ่งนั้น ๆ ตามค่าน้ำหนักความพึงพอใจของเรา โดยน้อง ๆ ต้องเริ่มลิสต์ออกมาให้ได้ก่อนว่า ปัจจัยหรือเหตุผลในการตัดสินใจเข้าศึกษาหรือประกอบอาชีพนั้น ๆ มีอะไรบ้าง โดยแต่ละปัจจัยนั้น น้องต้องสามารถให้ค่าน้ำหนักได้ว่า ให้ความสำคัญกับปัจจัยนั้น ๆ มากน้อยเพียงใด ตัวอย่างปัจจัย เช่น

• เนื้องานที่ทำ: รูปแบบงาน เนื้องาน สิ่งที่ทำ เป็นสิ่งที่น้อง ๆ ชอบมากน้อยแค่ไหน

• เงินเดือน: เงินเดือนหรือรายได้จากงานนี้เป็นที่พอใจหรือไม่

• เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน: งานที่เราเลือกนี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดไหม การแข่งขันสูงมากน้อยเพียงใด 

• สถานที่ทำงาน: บางคนชอบทำงานนั่งโต๊ะ งานที่ได้อยู่กับที่ แต่บางคนก็ชอบงานที่ได้เดินทาง ออกไปข้างนอกเปลี่ยนบรรยากาศ 

 

       หลังจากนั้น น้อง ๆ ก็ต้องนำค่าน้ำหนักมาใส่ ในแต่ละปัจจัยว่า น้อง ๆ ให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด หากบางคนเน้นเรื่องเนื้องานต้องเป็นสิ่งที่ชอบที่ถนัดเป็นอันดับ 1 ก็ให้น้ำหนักปัจจัยนั้น ปเลย x5 รองลงมาเป็นเรื่องเงินเดือน x4 แล้วก็ลดหลั่นลงมาตามลำดับความสำคัญ หลังจากนั้นก็นำตัวเลือกอาชีพที่สนใจ มาใส่ในตาราง หลังจากนั้นจึงหยอดคะแนนลงไปตามที่เราพิจารณาว่า แต่ละอาชีพควรได้รับคะแนนตามปัจจัยนั้น ๆ มากน้อยแค่ไหน เช่น งานบัญชี เราชอบเนื้องานน้อยที่สุดให้ 1 แต่ว่า เรทเงินเดือนสูง ให้ 4 เป็นต้น 

 

ตัวอย่าง weighting score

ปัจจัยที่ใช้ตัดสินใจ (criteria) ค่าน้ำหนัก (Weighting) วิศวกรโยธา นักบัญชี นักดนตรีบำบัด 
ค่าตอบแทน  x 4 3 4 2
ลักษะงาน x 5 2 1 5
งานเป็นที่ต้องการของตลาด x 3 2 3 4
สถานที่ทำงาน x 1 5 1 3
มีช่องทางการเติบโตในสายงาน x 2 4 3 3
รวมคะแนน   12 + 10 + 6 + 5 + 8 = 41 16 + 5 + 9 + 1 + 6 = 37 8 + 25 + 12 + 3 + 6 = 54

    
       หลังจากหยอดคะแนนให้แต่ละช่อง ของแต่ละตัวเลือกอาชีพแล้ว ก็จะถึงการรวมคะแนนของแต่ละอาชีพกัน โดยแต่ละข้อคะแนน จะต้องถูกคูณด้วยค่าน้ำหนักที่เราตั้งไว้เสียก่อน ตัวอย่างตามตาราง อาชีพวิศวกร เรทเงินเดือนเป็นที่น่าพอใจ 3 คะแนน ก็จะต้องนำไปคูณกับค่าน้ำหนัก x4 ได้เท่ากับ 12 / เนื้องานที่ทำ พึงพอใจอยู่ 2 คะแนน นำไปคูณกับค่าน้ำหนัก x 5 ได้เท่ากับ 10 ทำไปจนครบทุกช่องแล้วนำตัวเลขมาบวกกัน ก็จะได้คะแนนว่า อาชีพใด ได้คะแนนเท่าไหร่ อาชีพใดได้มาก ก็แสดงว่าอาชีพนั้นอาจจะเป็นอันดับหนึ่งในใจน้อง ๆ อยู่แน่นอน 

น้อง ๆ อาจสงสัยว่า "ปัจจัย หรือ Criteria" จะต้องนำมาตัดสินใจนี่ล่ะ เราจะเลือกมาจากไหนได้บ้าง

วันนี้เรามีเคล็ดลับมาฝาก โดยเราเรียกหลักการนี้ว่า IKIGAI (อิคิไก) หลักคิดการดำเนินชีวิวตของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้กับการเลือกเส้นทางให้ชีวิตมีความสุขได้

โดยวงกลม 4 วงนี้ คือ สิ่งที่เราควรหาคำตอบว่าเราต้องการอะไร แต่ละวงจะมีจุดร่วมกันอย่างไรบ้าง หากเราได้คำตอบแล้ว เราก็สามารถนำสิ่งเหล่านี้ มาตั้งเป็นปัจจัย หรือ criteria สำหรับการตัดสินใจเลือกอาชีพได้

• วงกลมที่ 1: สิ่งที่เรารัก: สิ่งที่เราชอบ หลงใหล ที่จะทำ หากเป็นงานก็อาจหมายถึง เนื้องานที่ชอบ การได้รักษาคนให้หายอย่างหมอ การได้ออกแบบพื้นที่ต่าง ๆ ในบ้านอย่างมัณฑนากร 

• วงกลมที่ 2: สิ่งที่เราทำได้ดี และไม่รู้สึกฝืนความรู้สึก ในที่นี้อาจจะช่วยให้น้อง ๆ นึกถึงอาชีพที่คิดว่าน่าจะถนัด หรือพอมีทักษะที่น่าจะพอทำได้ 
• วงกลมที่ 3: ผลตอบแทน: ซึ่งอาจจะหมายถึงทั้งรายได้ และความภาคภูมิใจในการทำงาน หรือทักษะความเชี่ยวชาญที่จะเพิ่มพูนขึ้นด้วย 

• วงกลมที่ 4: สิ่งที่เราสามารถทำประโยชน์กับผู้อื่นได้ งานเหล่านี้เป็นที่ต้องการของโลก หรือสร้างประโยชน์อย่างไรให้สังคม หรือเป็นที่ต้องการในสังคมและตลาดแรงงานมากน้อยแค่ไหน 

 

หากน้อง ๆ อยากทำความเข้าใจเรื่อง IKIGAI เพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก 

Ikigai คืออะไร ? มาทำความเข้าใจแนวคิดการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขจากญี่ปุ่น และ ค้นหาตัวเองให้เจอเพื่ออาชีพในฝันด้วยหลักอิคิไกสไตล์ญี่ปุ่น

 

       นี่เป็นเพียงเคล็ดลับเล็กน้อยที่จะช่วยให้น้อง ๆ ได้ลองทำความเข้าใจตัวเอง ถามตัวเองดูว่าอะไรคือความต้องการที่แท้จริง ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเรียนหรือสอบเข้าคณะต่าง ๆ เพื่อประกอบอาชีพในฝัน โดยหลักการ weighting score และ ikigai นี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุก ๆ การตัดสินใจ หรือการดำเนินชีวิตในหลายๆ ด้าน ด้วย ยังไงพี่ ๆ ทีมงานก็ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนจ้า

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • PlookExplorer1
  • 1 Followers
  • Follow