Tape dispenser แท่นวางสก๊อตเทป โดยที่ tape คือตัวสก๊อตเทป (*Scotch tape – จริง ๆ แล้ว Scotch เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตเครื่องเขียนเจ้าใหญ่ของโลก ผู้คนเลยนำคำนี้มาใช้เป็นคำนามสามัญไปซะเลย และคนไทยก็พูดทับศัพท์อีกที โดยที่เรียกเทปแบบนี้ได้อีกอย่างว่า sellotape) ส่วน dispenser แปลว่า “ที่จ่าย หัวจ่าย” สามารถนำไปรวมกับคำนามอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น water dispenser (ที่จ่ายน้ำ), soap dispenser (เครื่องจ่ายสบู่)
Masking tape เทปกระดาษ ที่บางทีก็มาในรูปแบบลายน่ารัก ๆ ที่หลาย ๆ คนเอามาประดิษฐ์งาน DIY ได้อีก
Fountain pen คือ ปากกาหมึกซึม โดยมักกล่าวถึงปากกาหมึกซึมที่มีหัวแหลมเล็ก ๆ
Ballpoint ปากกาลูกลื่น
Bulldog clip/Binder clip คลิปหนีบกระดาษที่ตัวใหญ่ ๆ หน่อย
Paper clip/Plastic อันนี้เป็นคลิปตัวเล็ก โดยที่มีทั้งเหล็กและแบบพลาสติก
Punch/Puncher/Hole punch ที่เจาะรูกระดาษเพื่อเข้าแฟ้ม
Staple remover ที่แกะแม๊ก โดย staple แปลว่าลูกแม๊ก
Stapler เมื่อเติม r เข้าไปจะแปลว่าตัวแม๊ก
Pushpin/Pin หมุดปักกระดาษที่มักมีปลายยื่นออกมาเวลาปักด้วย
Drawing pin (British English)/ Thumbtack (American English) หมุดปักกระดาษอีกแบบที่ด้านบนจะเรียบไปกับแผ่นกระดาษเลย โดยคนอเมริกันเปรียบเทียบได้ชัด ว่าเวลากดหมุดลักษณะนี้ลงไปนั้น เรามักใช้นิ้วโป้งกดนั่นเอง
Hanging file นึกถึงภาพที่ใส่แฟ้มที่เป็นกระดาษ และมีที่เกี่ยวกับขอบตู้ได้ ศัพท์คำนี้เลยใช้คำตรงตัวว่า เป็นแฟ้มที่ห้อยอยู่ค่ะ
Filing cabinet คือ ตู้เก็บแฟ้ม
Accordion file เป็นแฟ้มอีกประเภท ที่มีช่องให้ใส่เยอะมาก โดยเปรียบเทียบกับเครื่องเล่น accordion ที่หน้าตาเหมือนกัน
Ring binder เป็นแฟ้มที่หลายคนคุ้นกันมากที่สุด คือแฟ้มที่มีห่วงด้านข้าง
Blu-tack เป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนที่ไว้ติดกระดาษกับผนังได้ เหมือนใช้สก๊อตเทป แต่ดีตรงที่สามารถวนนำกลับมาใช้ได้อีก
จำให้แม่น: ความแตกต่างของ Stationery กับ Stationary เขียนต่างกันแค่ตัวเดียว แต่คนละความหมาย
Stationery (N.) เครื่องเขียน
Stationary (Adj.) หยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ประจำอยู่กับที่
โดยที่ทั้งสองคำ อ่านออกเสียงเหมือนกันเลยว่า สะ-เต๊-เชิ่น-แน-หรี่ เน้นพยางค์ที่สอง
เรียบเรียงโดย เบญจมาภรณ์ บุนนาค