อาชีพ Colorist เป็นอาชีพที่กำลังมาแรงและเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ๆ แถมมีค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูง เป็นอีกอาชีพที่ได้เดินทางบ่อย เพราะการใช้สีในปัจจุบันมีผลต่อการตัดสินใจของคน อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้ ความสามารถในการใช้สี เพื่อกระตุ้นให้คนอยากซื้อผลิตภัณฑ์ หลงรัก จดจำทั้งในรูปแบบของภาพนิ่งและวิดีโอ เช่น สีฟ้าทิฟฟานี สีเหลืองมินเนี่ยน ไปจนถึงสีแสนสวยในเอ็มวีของ Phum Viphurit ที่เปลี่ยนพัทยาให้กลายเป็นหาดไมอามี่ใน MV เพลง Lover Boy เป็นต้น ความรู้พื้นฐานของ Colorist สามารถนำไปต่อยอดเป็นงานอื่น ๆ ได้อีกมากมาย เช่น CG, AR, VR และการสร้างเกมแบบสามมิติ
นักออกแบบคอนเซ็ปต์เป็นอาชีพที่ต้องได้เดินทางศึกษา ออกงานแฟร์ทั่วโลกรายปี โดยหน้าที่หลักคือช่วยลูกค้าคิดคอนเซ็ปต์เพราะลูกค้ามีภาพในใจอยู่หลายภาพ นักออกแบบคอนเซ็ปต์จึงเป็นคนที่จะช่วยวาดภาพในใจของลูกค้าให้ออกมาเป็นรูปธรรมจับต้องได้ เสร็จแล้วจึงจะส่งต่อให้ดีไซน์เนอร์เป็นคนออกแบบ เช่น หากจะทำกีฬาสีภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘วัฒนธรรมไทย’ เราจะเห็นว่าคอนเซ็ปต์ ‘วัฒนธรรมไทย’ คอนเซ็ปต์เดียวสามารถนำไปออกแบบได้เป็นหลายร้อยแบบเลย
Curator หรือคิวเรเตอร์นั้น เดิมทีแปลว่า ‘ภัณฑารักษ์’ ผู้ทำหน้าที่ดูแลคัดกรองศิลปะในพิพิธภัณฑ์ นำศิลปะทุกชิ้นมาจัดกลุ่ม แยกแยะ และหากลวิธีนำเสนอเพื่อให้ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์เพลิดเพลิน มีความสุข และรับสารจากงานศิลป์ให้ได้มากที่สุด แน่นอนว่าพิพิธภัณฑ์ไม่สามารถนำผลงานทั้งหมดที่มีเอาออกมาโชว์พร้อมกันหมดได้ ภัณฑารักษ์จึงต้องรับหน้าที่ในการคัดสรร เลือกคอลเลคชั่นต่าง ๆ มาจัดแสดงโดยมีเทคนิคการจัดชุดภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ต่างกัน ซึ่งทำให้การไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มีความน่าสนใจ น่าติดตาม และไม่น่าเบื่อและแน่นอนว่าเป็นอาชีพที่ต้องท่องโลกมาพอสมควรถึงจะสามารถจัดงานศิลปะแต่ละชิ้นให้ลงตัวได้
ผู้จัดการศิลปิน หรือที่เราเรียกว่า Artist Relation เป็นอาชีพที่ต้องใช้สกิลหลายอย่าง เช่น เช็กคิวงานของศิลปินแต่ละวงในค่ายเพื่อลงงานให้กับศิลปิน ประสานงานระหว่างลูกค้าหรือทางสถานที่ในเรื่องเวลา Sound Check และ Show ดูแลศิลปินเวลาออกงาน Event หรือ Concert ต่าง ๆ และต้องคอยจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับศิลปินหน้างานในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงดูแลเรื่องการทำสัญญาระหว่างลูกค้ากับศิลปินในการว่าจ้าง ทำลิขสิทธิ์ในการขอใช้เพลง ควบคุมดูแลศิลปิน ตลอดจนสร้างศิลปินให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการศิลปินต้องมีความอดทนสูงและมีความละเอียดรอบคอบ
ใครที่จมูกดี ดมอะไรก็แยกได้หมดว่าทำมาจากอะไร อย่าได้คิดว่านั่นเป็นเพียงความสามารถที่ไม่น่าสนใจเพราะเดี๋ยวนี้มีอาชีพที่มาแรงมาก ๆ อย่างนักออกแบบกลิ่น ผู้ที่อยู่เบื้องหลังกลิ่นหอม ๆ (หรือจะเหม็น ๆ ก็ได้) ของสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหอม แชมพู สบู่ น้ำยาทำความสะอาด เทียนหอม ไปจนถึงกลิ่นของโรงแรมและห้างสรรพสินค้าที่ต้องการสร้างกลิ่นเฉพาะเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ที่เข้าพักจดจำตัวแบรนด์จากกลิ่น รวมถึงการออกแบบกลิ่นในงานแต่งงานที่เงินดีมาก ๆ
อาชีพนักออกแบบกลิ่นนับเป็นอาชีพนักสื่อสารอีกด้วย เช่น ต้องออกแบบกลิ่นควันไฟจากไฟไหม้ เพื่อนำไปให้ผู้พิการทางสายตาดมแล้วรู้ว่าถ้าได้กลิ่นนี้เมื่อไหร่คือต้องหนี นับว่าเป็นอีกอาชีพที่เจ๋งมาก ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง
แนะนำ 10 อาชีพอิสระที่น่าสนใจ เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่
แจกหนังน่าดู 10 เรื่อง จาก 10 คณะน่าเรียน ได้ทั้งความรู้ & ความสนุก
รวมทริคการเรียน เรียนยังไงให้อนาคตมีงานทำในยุค New Normal
รู้จัก ‘นักสเก็ตช์ภาพคนร้าย’ อาชีพที่สะบัดดินสอจับผู้ร้าย !
เบื่อจัง ชีวิตจะเป็นอะไรได้อีก ถ้าหากไม่ได้เป็น ‘คนเรียนเก่ง’
เรียนสายไหนดีถ้าในอนาคตอยาก #ย้ายประเทศ
เท่จัง ‘นักนิติวิทยาศาสตร์’ อาชีพที่ช่วยจับโจรในหลายคดีดัง
ค้นหาตัวเองให้เจอเพื่ออาชีพในฝันด้วยหลักอิคิไกสไตล์ญี่ปุ่น
‘AQ’ ทักษะจำเป็นในวันที่โลกหมุนเร็วจนตามไม่ทัน
6 วิธีพัฒนาทักษะสมอง EF ในวัยรุ่นให้เก่งและดี เอาตัวรอดได้
แหล่งข้อมูล
- พลอย จิรยะเวช. (2560). Prada Mandala พุทธะในปราด้า The essence of life and style. กรุงเทพฯ: โอเพ่น โซไซตี้