Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เพื่อนเป็นโรคซึมเศร้า จะคุยกับเพื่อนยังไงดี ?

Posted By Plook Magazine | 06 พ.ค. 64
32,157 Views

  Favorite

เมื่อมีเพื่อน คนใกล้ตัว หรือคนในครอบครัว ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หลายคนน่าจะไม่รู้ว่าเราควรจะทำตัวยังไงดี ตั้งแต่การพูดคุยไปจนถึงการปฏิบัติตัวด้วย ซึ่งบางคนอาจมีความเข้าใจผิด ๆ ว่าอย่าไปสนใจคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เราควรปล่อยให้เขาอยู่เงียบ ๆ คนเดียวจะดีที่สุด ขอบอกว่าผิดและอย่าได้หาทำเชียว แล้วเราควรจะทำตัวยังไงเพื่อไม่ให้คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอาการแย่ลง

 

 

 

สิ่งที่ไม่ควรทำกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

• ห้ามให้กำลังใจ ไม่ควรพูดกับคนป่วยว่า “สู้ ๆ นะ” หรือ “คิดในแง่ดีเข้าไว้”

• ห้ามกล่าวโทษ ห้ามโทษผู้ป่วยว่าทั้งหมดเป็นความผิดของเขา หรือพอป่วยแล้วก็ทำอะไรไม่ดีสักอย่าง

• ห้ามโต้แย้ง ถ้าผู้ป่วยระบายความรู้สึกออกมา เราควรรับฟังอย่างเดียวก็พอแล้ว ไม่ควรไปโต้แย้งว่าสิ่งที่เขาพูดมันผิด 


 

คำพูดที่ไม่ควรพูดกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

เพราะมันเป็นคำพูดที่คนเป็นโรคซึมเศร้าฟังแล้วอาจมีความรู้สึกเชิงลบได้ 

“เลิกเศร้าได้แล้ว”

"เรื่องมันแค่นี้เองนะ”

“อย่าคิดมากเลย”

“อย่าท้อดิ เดี๋ยวมันก็ดีขึ้นเอง”

“ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวมันก็ผ่านไป”

“แกทำได้นะ พยายามหน่อยดิ”

“จะร้องไห้ทำไม จะเศร้าอีกนานไหม”

“สู้ ๆ นะ”

 

 

คำพูดที่ควรพูดกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

ใครที่อยากให้กำลังใจคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เราขอแนะนำประโยคเหล่านี้ เพราะผู้ป่วยฟังแล้วจะมีความรู้สึกที่ดีขึ้น

“เราจะคอยอยู่ข้าง ๆ แก”

“มีอะไรบอกเราได้นะ เราพร้อมจะช่วยเสมอ”

“พวกเราจะไม่ทิ้งเธอไปไหน”

“แกไม่ได้อยู่คนเดียวนะ”

“เราเข้าใจในสิ่งที่แกทำ”

“แกทำดีที่สุดแล้ว ณ เวลานี้”

“แกเก่งมากที่สามารถก้าวข้ามเรื่องเลวร้ายมาได้”

“เราทุกคนรักและเป็นห่วงแกเสมอนะ”

 

 

5 สิ่งที่ควรทำ เมื่อมีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

การที่เรามีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการดีขึ้น หรืออาการไม่แย่ลงไปกว่าเดิม เราสามารถนำข้อแนะนำ 5 ข้อนี้ไปใช้ได้หมดทั้งกับเพื่อน คนรู้จัก คนรัก หรือคนในครอบครัว ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 

 

 

ใส่ใจ อย่าทอดทิ้งผู้ป่วย

แน่นอนว่าถ้าเพื่อนหรือคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า เราจะต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราจึงต้องเป็นคนคอยกระตุ้นให้เขาไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา หรือไม่ก็ต้องเป็นเพื่อนไปโรงพยาบาลกับเขา เพื่อที่เขาจะได้รู้สึึกว่าไม่โดดเดี่ยว ไม่ถูกทอดทิ้ง เราควรอยู่เคียงข้างตลอดการรักษาของเขา และต้องจำไว้เสมอว่า อย่าปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับอารมณ์ซึมเศร้าของผู้ป่วยมากเกินไปด้วย 

 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 57% คิดว่าเพื่อนและญาติคือตัวช่วยสำคัญในการรักษาโรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยโรคซึึมเศร้า 31% กล้าขอความช่วยเหลือเพราะมีเพื่อนและญาติคอยอยู่เคียงข้าง

 

เพราะฉะนั้นเมื่อพบเจอเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เราต้องใส่ใจและให้ความช่วยเหลือเพื่อให้อาการของเขาดีขึ้น

 

 

รับฟังและไม่ตัดสิน

เวลาที่ผู้ป่วยระบายความรู้สึกออกมา เราต้องจำไว้เสมอว่าห้ามพูดแทรกเด็ดขาด เราควรอดทนรอให้ผู้ป่วยพูดจนจบก่อน เมื่อเขาได้ระบายความรู้สึกออกมาจนหมด เขาจะรู้สึกดีขึ้น และเราไม่ควรตัดสินหรือโต้แย้งผู้ป่วยด้วย เราควรเป็นแค่ผู้ฟังที่ดี รับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง เอาใจเขามาใส่ใจเรา และเข้าใจว่าตอนนี้เขาป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ 

 

 

ห้ามเมินผู้ป่วย ห้ามทำเหมือนเขาไม่มีตัวตน

ผู้ป่วยโรคซึึมเศร้าอาจปฏิเสธที่จะพูดคุยกับคนอื่น ซึ่งรวมถึงคนรอบข้างและคนที่สนิทด้วย แน่นอนว่าเราอาจจะต้องเหนื่อยหน่อย เพราะเราจะต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ถึงแม้ผู้ป่วยจะปฏิเสธ แต่เราห้ามเมินเฉยใส่เขา เราควรอยู่เคียงข้างเขาอย่างเงียบ ๆ ในทุกช่วงเวลาของการรักษา การคอยอยู่เคียงข้างถือเป็นการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพมาก ๆ

 

 

ชวนออกไปเที่ยว ออกไปทำกิจกรรมด้วยกัน

ลองชวนผู้ป่วยออกไปเดินเล่น ไปออกกำลังกาย หรือชวนไปทำกิจกรรมสนุก ๆ ที่ทำแล้วรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น แต่เขาต้องยินยอมที่จะไปด้วยตัวเองนะ เราต้องไม่ไปบังคับเขาเด็ดขาด ถ้าเขาไม่อยากไปก็คือไม่อยากไป ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อยากออกมาข้างนอก เราสามารถถามเขาได้ว่าอยากทำกิจกรรมอะไรด้วยกันมั้ย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำอาหาร เป็นต้น เน้นกิจกรรมที่ทำแล้วผ่อนคลายและเป็นกิจกรรมที่เขาชอบหรือสนใจจะดีทีี่สุด 

 

 

ชักชวนให้ไปพบแพทย์

บางครั้งผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกไม่อยากไปพบแพทย์ หรือไม่กล้าไปพบแพทย์ เรานี่แหละที่จะต้องรับบทบาทคอยชักชวนให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์ให้ได้ เพื่อให้เขาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เราควรทำคือให้ข้อมูลกับผู้ป่วยว่า มันไม่จำเป็นต้องรับการรักษาตลอดไปนะ เมื่อการรักษาสิ้นสุดลง อาการป่วยก็จะดีขึ้นมาก 

 

นอกจากการรักษากับแพทย์แล้ว คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวก็ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการดีขึ้นได้ คนรอบข้างจึงควรที่จะมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่าจะพูดคุยหรือปฏิบัติกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้ายังไง และสิ่งสำคัญที่สุดคือ เราจะต้องไม่ดำดิ่งไปกับอารมณ์ซึมเศร้าของผู้ป่วยเด็ดขาด ขอให้อดทน และดูแลสุขภาพใจของตัวเองให้ดีด้วยนะคะ

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

A Teen’s Guide to Survive Depression โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

การเป็นผู้ฟังที่ดี หนึ่งในทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น

โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคจริงเหรอ ? รวมเรื่องที่เข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

ดูแลสุขภาพใจยังไง ให้ใจไม่ TOXIC ชีวิตแฮปปี้

รวมคำพูดที่ควรพูดกับตัวเองบ่อย ๆ จะช่วยเพิ่มพลังใจ & เพิ่มพลังบวกให้ชีวิต

วิธีรับมือกับความเจ็บปวดและความเครียด

‘อ้อมกอดผีเสื้อ’ วิธีบำบัดจิตใจให้ผ่อนคลายจากซีรีส์เกาหลีที่ใช้ได้จริง

 

 

แหล่งข้อมูล

หลินอวี๋เหิง และ ไป๋หลิน. (2562). ซึมเศร้า...เล่าได้. แปลจาก When Depressy Strikes Hold It Tight. แปลโดยอังค์วรา กุลวรรณวิิจิตร. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow