Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

HOW TO พักผ่อนสมองให้ความจำดีด้วยวิธี Mindfulness

Posted By Plook Magazine | 08 เม.ย. 64
12,425 Views

  Favorite

รู้หรือไม่ว่า ‘สมอง’ กว่าแสนล้านเซลล์ของเราก็ต้องการพักผ่อนเหมือนกับร่างกาย ส่วนวิธีการพักผ่อนสมองนั้นก็ง่ายมาก ๆ เป็นวิธีที่เราก็รู้กันดีอยู่แล้ว ติดอยู่ที่ว่าหลายคนอาจจะไม่จริงจัง แถมยังชอบไปขัดขวางเวลาที่สมองควรจะได้พักผ่อนโดยไม่รู้ตัวกันอีกด้วย 

 

 

ระหว่างนั่งใจลอยกับล้างจาน
อันไหนใช้พลังสมองมากกว่ากัน ?

คำตอบคือ นั่งเหม่อลอย ! เพราะการนั่งเหม่อเนี่ยไปรบกวนสมองส่วนที่จะทำงานเวลาพัก (ใช่ค่ะ สมองของคนเราทำงานตลอดเวลาเพื่อรับรู้ มองหาสัญญาณอันตราย) หรือที่เราเรียกว่า ‘สมองส่วนเครือข่ายอัตโนมัติ’ หรือ DMN (Default Mode Network) ที่จะทำงานอย่างขันแข็งเวลาที่เราพักผ่อนหรือไม่ได้ตั้งใจคิดอะไรเป็นพิเศษ เช่น เหม่อลอย คิดไปเรื่อย นอนเฉย ๆ เป็นต้น 

 

โดยไอ้ต้าว DMN นี้จะกินพลังงานสมองมากถึง 60–80% ที่สมองใช้ แต่เมื่อเรากำลังตั้งใจทำอะไรสักอย่างเช่น ล้างจาน แปรงฟัน อ่านหนังสือ เจ้า DMN กลับทำงานลดลง กลายเป็นว่าตอนที่ไม่ตั้งใจทำอะไรกลับใช้พลังงานมากกว่าตอนที่กำลังตั้งใจทำอะไร ทำให้เวลาที่เราเหม่อใช้พลังงานสมองมากกว่าตอนที่เราล้างจาน (คิดค้นโดย Dr. Marcus E. Raichle นักประสาทวิทยา Washington University สหรัฐอเมริกา ปี 2001)

 

ซึ่งข้อเสียของการใช้พลังงานไปกับสมองส่วน DMN มากเกินไป ไม่ใช่แค่จะทำให้เราเสียพลังงานสมองไปโดยเปล่าประโยชน์เท่านั้น แต่ยังทำให้สมองเราไม่ได้พักผ่อนอย่างแท้จริง ทำให้เราเหนื่อยง่าย เพราะสมองล้า ส่งผลให้เราขี้หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ และหมดไฟได้ง่ายอีกด้วย แต่ข่าวดีก็คือการรู้จักการทำงานของเจ้า DMN นี้ก็ได้ถูกพัฒนามาเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เราควบคุมการทำงานของสมองไม่ให้ใช้พลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์เพื่อให้สมองได้พักผ่อนจริง ๆ หรือที่เราเรียกว่า ‘Mindfulness’ วิธีพักสมองด้วยการทำสมาธิ ที่เป็นหนึ่งในเทคนิคที่ผู้บริหารบริษัทดัง ๆ อย่าง Apple, LinkedIn, Salesforce และ Twitter เอาไปปรับใช้กับพนักงานของพวกเขาอีกด้วย

 

 

วิธีพักผ่อนสมองด้วยวิธี Mindfulness 

 

อยู่กับปัจจุบัน  

เราสามารถพักสมองได้ตลอดเวลา โดยพยายามอยู่กับปัจจุบันขณะ คิดทีละเรื่อง ตอนกินข้าวกลางวันก็ให้ จดจ่อกันอาหารตรงหน้าเท่านั้น ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องอื่น คีย์เวิร์ดสำคัญคือ จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน (Moment)  ไม่ใช่คิดถึงอนาคตหรือคิดถึงอดีต หัวเราะให้กับความยุ่งเหยิง มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน  และรู้ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุผล 

 

ลดการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน 

หรือที่เราเรียกว่า Multitasking เช่น เวลาแปรงฟันต้องเช็กทวิตเตอร์ไปด้วย หรือเวลาอ่านหนังสือก็แอบฟังทีวีที่แม่เปิดไว้ด้วย พฤติกรรมขยับอัตโนมัติเหล่านี้ป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สมองเหนื่อย เวลาที่สมองเข้าสู่ช่วงที่มีสมาธิมาก ๆ (Flow) ให้เราตั้งใจทำแค่อย่างเดียว เสร็จแล้วค่อยไปทำอย่างอื่นต่อ จะได้ใช้พลังสมองไปทีละเรื่อง 

 

แยกเวลาพักกับเวลาเรียน

ให้มุมพักผ่อนเป็นมุมพักผ่อน ให้เตียงนอนเป็นแค่ที่นอน ไม่ใช่ที่ที่เราจะเอางาน เอาการบ้านไปทำ เพราะสมองของเราจะตื่นตัวเป็นพิเศษด้วยความเคยชินเมื่อเรานอน เนื่องจากเราเคยทำงานหรือว่าเรียนบนเตียงนั่นเอง ออกไปสูดอากาศ รับแสงแดด เมื่อกำลังพักก็ควรพักจริง ๆ ไม่คิดถึงเรื่องที่กำลังจะมาถึงหรือผ่านไปแล้ว มันจะช่วยให้เรามีสมาธิกับเรื่องต่าง ๆ มากขึ้นอีกด้วยนะ  

 

นอนพักผ่อน 

การนอนคือการพักผ่อนที่ดีที่สุดในโลก ทั้งสำหรับร่างกายและสำหรับสมอง แต่ถ้าเรากลัวว่าจะคิดไปเรื่อยเปื่อยจนนอนหลับไม่ลึก แนะนำให้ลองเขียนสาเหตุที่ทำให้เครียดระบายลงไปในโน้ตหรือสมุดแล้วค่อยเข้านอน เพราะหากเราเข้านอนโดยที่ยังคิดถึงเรื่องอื่น โดยเฉพาะเรื่องเครียด ๆ แทนที่สมองจะได้พักผ่อนก็ต้องทำงานเหมือนเดิม แถมยังทำงานหนักอีกด้วย

 

แต่ก็นะ บางคนอาจจะไม่ได้เห็นว่าเรื่องนี้มันสำคัญตรงไหน ก็แค่ใช้พลังสมองเยอะเองเพราะหลายคนอาจจะยินดีที่จะสละพลังสมองของพวกเขาอย่างไม่จำกัดไปกับการได้ใจลอยคิดถึงใครสักคน อิอิ 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

3 วิธี ‘ฝึกสมาธิ’ เรียกคืนสติในทุกสถานการณ์

"นอนดึก ตื่นสาย" ชดเชยกันไม่ได้ และอย่าหาทำในช่วงสอบ

รวมเทคนิคสร้างแรงกระตุ้น ช่วยบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้สมดุลกัน

เรียนออนไลน์แล้วไม่มีสมาธิเลย มาฝึกเพิ่มสมาธิแบบง่าย ๆ ด้วยเทคนิค 5S กัน

10 วิธีออกกำลังสมองให้ฉลาดขึ้น ด้วยวิธี ‘Neurobic exercise’’

นอนดึก ตื่นเช้า กินอะไรดีเพื่อบำรุงให้ร่างกายสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย

เทคนิคเพิ่มพลังสมองตั้งแต่ตื่นนอน ช่วยปลุกให้ร่างกายสดชื่นตลอดทั้งวัน

เทคนิคผ่อนคลายร่างกายก่อนนอน ช่วยให้หลับง่าย หลับได้ลึกขึ้น

 

 

แหล่งข้อมูล
อากิระ คุงายะ. (2563). ศาสตร์ของสมอง ที่รู้จักหยุดพัก. แปลจาก Sekai no Elite ga Yatteiru Saikou no Kyusokuho. แปลโดยช่อลดา เจียมวิจักษณ์. กรุงเทพฯ: วีเลิร์น 

 
 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow