ในวงการคณิตศาสตร์จะมีคำว่า ‘Regression to the Mean’ คือแนวคิดที่เชื่อว่า อะไรที่มันอยู่สูงมาก ๆ สุดท้ายก็จะค่อย ๆ เคลื่อนลงมาเข้าสู่จุดค่าเฉลี่ยของมันเอง เช่นกันกับคะแนนสอบ คนที่เคยสอบได้คะแนนสูงมาก ๆ ในครั้งแรก ก็มักจะทำได้ไม่ดีเท่าเดิมในครั้งที่สอง (เช่นกันกับหนังภาคต่อที่มักทำได้ไม่ดีเท่าภาคแรก) โดยสาเหตุอาจจะมาจากความกดดันจึงส่งผลให้ทำข้อสอบได้ไม่ดีเท่าครั้งแรก หรือชะล่าใจมากเกินไป ไม่ขยันอ่านเท่าครั้งแรก ทำให้โอกาสที่จะทำคะแนนได้สูงเท่าเดิมมีน้อยลง
ในขณะเดียวกัน คนที่ได้คะแนนน้อยในครั้งแรกก็ไม่ได้หมายความว่าครั้งต่อไปเขาจะทำได้ไม่ดี เขาอาจจะไปติวมากขึ้น ขยันมากขึ้น ทำให้สอบครั้งต่อไปได้คะแนนดีขึ้น สรุปได้ว่าไม่มีใครที่จะสอบได้คะแนนดีไปตลอดหรือสอบตกไปตลอด แต่ในชีวิตจริงเรามักจะไม่ค่อยคิดถึง Regression to the Mean เท่าไหร่นักเพราะอยากให้คะแนนมันสูงไปตลอด เมื่อมันลงก็จะตกใจ ทำอะไรไม่ถูก แต่จุดที่หมดหวัง มักเป็นจุดที่หนักที่สุดนั่นหมายความว่า อะไร ๆ ต่อจากนั้นก็ย่อมจะดีขึ้น สุดท้ายทุกคนย่อมกลับมาที่ค่าเฉลี่ย เขาถึงพูดกันไงว่า สมัยนี้ทำอะไรได้เท่าค่าเฉลี่ยก็เจ๋งแล้วหรือ Average is the new awesome!
เราทำดีที่สุดแล้ว
มูฟออนจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้้วให้ได้ ไม่ต้องไปเสียใจหรือเสียดายในสิ่งที่มันเกิดขึ้นแล้ว สิ่งไหนที่กลับไปแก้ไขไม่ได้ก็ปล่อยให้มันผ่านไป มองไปข้างหน้า เรายังมีโอกาสแก้ตัวใหม่อีกครั้ง อย่าไปถือโทษโกรธตัวเองว่า “ถ้าเราอย่างงั้น อย่างงี้… คงจะไม่เป็นแบบนี้” ควรยอมรับว่าเราทำดีที่สุดแล้ว เพราะมันดีกว่าโทษตัวเองจนคิดลบและหมดกำลังใจ
ไม่ต้องฝืน
เวลาที่เราเฟลเนี่ย เสียใจก็คือเสียใจ ไม่ต้องฝืนพยายามมองโลกในแง่ดี อย่าไปคิดว่าอย่างน้อยก็มีคนได้คะแนนต่ำกว่าเราตั้งเยอะ เพราะมันมีแต่จะทำให้เราฝึกเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นโดยที่ไม่รู้ตัว คนเราไม่ควรเรียกคืนความมั่นใจของตัวเองกลับมาด้วยการมองคนที่ด้อยกว่าตัวเอง การยอมรับความรู้สึกเชิงลบที่เกิดขึ้น แล้วค่อย ๆ เพิ่มพลังบวกให้ตัวเองทีละนิดนั้นจะทำให้เรารู้สึกอิ่มเอมใจมากกว่า
ออกไปสร้างชัยชนะเล็ก ๆ กันหน่อย
ออกไปสร้างชัยชนะเล็ก ๆ ให้ตัวเองได้เลย อาจช้อปปิ้งสักหน่อย หรือไม่ก็ให้รางวัลตัวเองด้วยไอศกรีมรสโปรดสักสองสกู๊ป ฉลองให้กับหนึ่งวันแย่ ๆ และฉลองให้กับความพยายามที่เราได้ทุ่มเทไป ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นไปตามที่หวังก็เถอะ แต่มันก็มีค่าให้ขอบคุณอยู่ดี แนะนำให้หนีบเพื่อนไปด้วยสักคนนะจะได้ปรับทุกข์กันได้เต็มที่
วางแผนให้ต่างจากเดิม
เคล็ดลับที่จะทำให้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามคำแนะนำของนักเศรษฐศาสตร์ก็คือให้เราบริหารความเสี่ยง เราควรจะมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย อย่างการเช็กความรู้ที่เรามีกับเพื่อน ๆ ด้วยการติวด้วยกัน อย่ายึดติดในวิธีการเดิม (แต่ถ้าวิธีไหนมันโอเคแล้วก็ทำต่อไปนะ) อย่าท้อ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลจิตใจให้แจ่มใส และจำไว้ว่าทุกครั้งที่เราเจอจุดที่ต่ำลง เราก็ยังมีโอกาสพุ่งขึ้นเพราะทุกคนต้องเจอเหตุการณ์ Regression to the Mean มีลงแล้วมันก็ต้องมีขึ้น สู้ ๆ !
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมเคล็ดลับลดความกดดันไม่ให้เสียสมาธิเวลาสอบ
Input & Output วิธีจดจำเนื้อหาให้ได้มากกว่า 90% โดยจิตแพทย์ญี่ปุ่น
แนะนำ 8 แอปการเรียนดี ๆ ที่จะช่วยให้เรียนสนุกและเกรดพุ่ง !
รวมเทคนิคการจำ ที่จะช่วยให้กลายเป็นคนจำแม่น อ่านอะไรก็ไม่ลืม
ฝึก ‘ความฉลาดทางอารมณ์’ เคล็ดไม่ลับอัปผลการเรียนให้ดีขึ้น
9 อาหารช่วยเพิ่มความจำ ที่อยากแนะนำให้กินช่วงอ่านหนังสือสอบ
10 ไอเดียจัดโต๊ะอ่านหนังสือ จัดยังไงให้นั่งอ่านหนังสือได้นาน
ตั้งใจเรียน ไม่เคยเท แต่ทำไมเกรดตก นี่เราพลาดอะไรไป ?
‘เกรดตก’ จะบอกที่บ้านยังไงไม่ให้โดนด่า
แหล่งข้อมูล
แดเนียล คาห์เนแมน. (2563). THINKING, FAST AND SLOW คิด, เร็วและช้า. แปลจาก Thinking, Fast and Slow. แปลโดยจารุจรรย์ คงมีสุข. กรุงเทพฯ:วีเลิร์น