Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รู้จัก ‘ฮอร์โมนแห่งความรัก’ และวิธีทำให้รักครั้งนี้แข็งแกร่งถึงระดับเซลล์ !

Posted By Plook Magazine | 31 มี.ค. 64
13,998 Views

  Favorite

แม้ว่าความรักจะเป็นเรื่องมหัศจรรย์แค่ไหน แต่มันก็มีต้นกำเนิดมาจากเรื่องของชีวภาพล้วน ๆ เป็นต้นว่าถูกประกอบสร้างมาจากกลุ่มสารเคมีที่เราเรียกว่า ‘Love Hormones’ ทำให้เราฟินเวอร์เวลาเจอคนที่ชอบ และยังมีส่วนทำให้รักกันได้นานหากรู้จักบริหารดี ๆ อีกด้วย

 


 

เมื่อได้รักแล้ว คนเราก็อยากจะทำทุกวิถีทางที่จะได้อยู่กับคนที่มีใจให้ให้นานที่สุด แต่มันก็ไม่ได้ง่ายเหมือนปอกกล้วย เมื่อการตกหลุมรักกับการประคับประคองให้รักกันนาน ๆ มันเป็นคนละเรื่องกัน การแสดงออกบางอย่างเพื่อให้ฮอร์โมนแห่งความรักหลั่งอยู่เสมอก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจที่จะทำให้ความรักที่มีให้แก่กันแข็งแรงและมั่นคงไปถึงระดับเซลล์ !  

 

 

โดพามีน (Dopamine) 

ฮอร์โมนแห่งการสร้างความรู้สึกปลาบปลื้ม โดพามีนเป็นฮอร์โมนที่สามารถเปลี่ยนหญิงสาวหน้าบึ้งให้หลุดอมยิ้มได้ทันที เหมือนกับตอนที่เรากำลังโมโหสุด ๆ แล้วเพื่อนซื้อไอศกรีมรสโปรดมาให้ ทันใดนั้นอารมณ์วีน ๆ มันก็ถูกแทนที่ด้วยความสุขจากการได้กินของหวาน ! ในคู่รักก็เช่นกัน หากอยากจะให้ฮอร์โมนโดพามีนหลั่ง เราก็ต้องรู้ว่าคนรักของเราชอบอะไร ไม่ชอบอะไร แล้วก็พยายามตามใจเขาบ้างให้ความต้องการของเขาถูกตอบสนอง เอาใจ เปย์ได้เปย์ !

 

 

อะดรีนาลีน (Adrenaline) 

ฮอร์โมนแห่งความสุขจากความรัก แต่อะดรีนาลีนเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งเมื่อมีเรื่องที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เรื่องเซอร์ไพรส์ต่าง ๆ เช่น เราคงเคยมีอาการเขินอายจนหน้าแดงเพราะแฟนซื้อของขวัญที่ไม่คิดว่าเขาจะซื้อให้ หรือหัวใจเต้นแรงเมื่อได้เจอกับคนที่แอบชอบโดยบังเอิญ นั่นเป็นเพราะคุณถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนชนิดนี้ ดังนั้นถ้าอยากจะให้ฮอร์โมนอะดรีนาลีนหลั่ง คู่รักควรที่จะลองเซอร์ไพรส์กันบ้าง ก็จะคล้าย ๆ กับวิธีการเพิ่มฮอร์โมนโดพามีน  

 

 

เซโรโทนิน (Serotonin) 

ฮอร์โมนแห่งความรักลึกซึ้ง อบอุ่น ฮอร์โมนตัวนี้สำคัญมากต่อคู่รักเพราะเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่ออารมณ์และการแสดงออกของเรา ในขณะที่สมองหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน เราจะทำอะไรบางอย่างออกมาโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า เช่น กอดกัน นวดให้กัน จับมือกัน จุ๊บกัน ร้องไห้ เป็นต้น ในขณะเดียวกันหากคู่รักคู่ไหนขาดฮอร์โมนตัวนี้ก็จะทำให้คู่รักคู่นั้นรู้สึกคิดถึง เหงา กระวนกระวายมากกว่าคู่รักคู่อื่น (ซึ่งคู่รักที่เป็นรักทางไกลมักจะขาดฮอร์โมนตัวนี้เพราะอยู่ไกลกันนั่นเอง)

 

 

ออกซิโทซิน (Oxytocin) 

ฮอร์โมนนี้มีชื่อเล่นอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฮอร์โมนแห่งความไว้ใจ’ เมื่อไหร่ก็ตามที่เจ้าฮอร์โมนตัวนี้หลั่งมาก ๆ ในคู่รัก คู่รักคู่นั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะมีความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่นอกกายนอกใจกันให้เจ็บช้ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคู่รักทำกิจกรรมร่วมกันเป็นประจำ เช่น ออกกำลังกายด้วยกัน ติวหนังสือด้วยกัน ทำอาหารด้วยกัน ไปเที่ยวด้วยกัน เป็นต้น ในขณะเดียวกันหากคู่รักไม่ค่อยมีเวลาให้กันเลย ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะลดลงทำให้ไม่ค่อยไว้ใจกันนั่นเอง  


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

สบตาเธอแล้วโลกหยุดหมุน รักแรกพบมีจริงหรือแค่คิดไปเอง

รู้จักอาการคลั่งรัก ‘Limerence’ คุณกำลังคลั่งรักใครอยู่หรือเปล่า

‘เขาชอบเราจริงไหม’ หรือแค่หาคนคุยแก้เบื่อ

How To ทักแชทคนที่ชอบยังไงไม่ให้ดูเด๋อ

รู้จักรูปแบบของความผูกพัน เรามีความสัมพันธ์แบบไหนกับคนรอบข้าง

เรากำลังมีความรัก มีความสัมพันธ์ที่ดีอยู่หรือเปล่า ?

เราพร้อมจะมีเซ็กซ์ มีอะไรครั้งแรกกับแฟนแล้วใช่ไหม ?


 

แหล่งข้อมูล

วิทยาศาสตร์ว่าด้วยการ ตกหลุมรัก 

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow