เคยเป็นไหม ? ที่ซื้อทั้งไดอารี่ บันทึกตารางงาน แพลนเนอร์ สมุดมีเส้นและไม่มีเส้นสวยเก๋มาตั้งเยอะ หวังว่าจะใช้มันวางแผน รวบรวมไอเดีย เตือนสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน เดือน และปี ในเรื่องเรียน งาน และโอกาสพิเศษ แต่ก็ใช้ไม่เคยหมดเลยสักเล่มหรือใช้มันไม่คุ้มเอาเสียเลย นั่นเป็นเพราะว่าเราอาจจะยังไม่รู้วิธีที่จะใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่า และนี่คือเหตุผลที่หลายคนควรศึกษาวิธีการบันทึกแบบบูโจ !
การใส่เลขหน้าของแต่ละเรื่องสำคัญ ๆ จะช่วยให้หาง่าย จะกลับมาหาเมื่อไหร่ก็เจอในเวลาเพียงไม่กี่นาที เปรียบเสมือนสารบัญของบันทึกของเรานั่นเอง
ถือเป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการจดบันทึกแบบบูโจ เพื่อให้เราได้เห็นความก้าวหน้าหรือสถานะของเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าเราสามารถทำได้สำเร็จลุล่วงหรือยัง โดยเราสามารถใช้สัญลักษณ์หรือว่าสีในการแสดงสถานะได้ตามใจชอบ
ตัวอย่างเช่น
• เครื่องหมาย + อาจแทนงานที่เราต้องทำ
• เครื่องหมาย X แทนงานที่ทำเสร็จแล้ว
• เครื่องหมาย > แทนงานที่ยังทำไม่เสร็จ
• เครื่องหมาย – แทนการบันทึกเรื่องทั่วไป
*เราสามารถกำหนดเครื่องหมายได้เองตามสไตล์เลยนะเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น
แทนที่จะบันทึกอะไรก็ได้ลงไปทุกวัน การบันทึกแบบบูโจจะแนะนำให้เราบันทึกเป็นปีเนื่องจากในหนึ่งปีจะต้องมีเดือน ๆ หนึ่งที่เราต้องทำเป็นประจำทุกปี เช่น วันเกิดเพื่อน กลับบ้านต่างจังหวัด เดือนที่ต้องสอบเข้ามหา’ลัย เดือนที่ต้องสอบมิดเทอม เพื่อที่เราจะได้เห็นภาพกว้างของทั้งปี ทีนี้จะวางแผนอะไรก็ง่าย
นอกจากการบันทึกทั้งปีแล้ว การบันทึกแบบบูโจแนะนำให้เราบันทึกเป็นรายเดือนอีกด้วย เพื่อให้เห็นภาพว่าในเดือนนั้น ๆ เรามีเรื่องสำคัญที่ต้องทำอะไรบ้าง โดยเเนะนำให้ตั้งค่ามือถือให้แสดงเลขสัปดาห์ (week number) เพื่อจะได้ง่ายในการบันทึก
เพื่อเป็นการบันทึกสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน โดยเราสามารถวางแผนได้ทั้งวีคเลยว่ามีวันไหนบ้างที่เราต้องทำเรื่องสำคัญ ๆ แถมยังสามารถรีวิว productivity ของแต่ละเดือนลงไปได้ด้วย
Collections คือบันทึกที่นอกเหนือจากงาน เราสามารถจดทุกส่ิงทุกอย่างที่สำคัญไม่เเพ้งานหรือเรียกได้ว่าเป็นโครงการพิเศษ เช่น วางแผนเก็บเงิน, ซีรีส์ที่อยากดู, วางแผนไปเที่ยว, หนังสือนอกเวลาที่อยากอ่าน, สิ่งที่เราอยากขอบคุณ 3 อย่างทุกวัน เป็นต้น โดยช่วงเวลาที่เหมาะที่จะทำ Collections คือระหว่างเดือน
แหล่งข้อมูล
- ไรเดอร์ แคร์รอลล์. (2563). วิถีบันทึกแบบบูโจ The Bullet Journal Method. แปลจาก The Bullet Journal Method: Track the Past, Order the Present, Design the Future. แปลโดยนรา สุภัคโรจน์. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป