Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Input & Output วิธีจดจำเนื้อหาให้ได้มากกว่า 90% โดยจิตแพทย์ญี่ปุ่น

Posted By Plook Magazine | 24 ก.พ. 64
9,733 Views

  Favorite

คนเก่งมักจะสร้าง Output เก่ง ! มาเรียนรู้เคล็ดลับที่จะทำให้เราจำเนื้อหาที่ได้อ่านหรือฟังติดตัวเราไปตลอดด้วยการสร้าง Output ที่ดี เพราะถ้าเรามัวแต่เรียนหรือ Input เข้ามาเฉย ๆ ผ่านไป 2 อาทิตย์เราก็จะลืมทุกอย่างเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริง Output จึงสำคัญเท่ากับ Input

 

 

Input กับ Output คืออะไร ความหมายของ Output ? 

 

     Input = อ่านหนังสือ ฟังครูสอน ฟังพอดแคสต์ ดูงานศิลปะ ดูยูทูบ
 

Output = เขียนรีวิว อัดพอดแคสต์ บรรยายหน้าชั้น สอนเพื่อน

 

ปัญหาของเราทุกวันนี้ก็คือ เรามักจะลืมสิ่งที่เรียนหรือจำได้ไม่ถึงครึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในห้องหรือแม้แต่อ่านหนังสือนอกเวลา เราไม่สามารถที่จะจำและนำความรู้รอบตัวเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดชีวิตได้มากนัก เพราะอะไร ? เพราะเราบางคนยังสร้าง Output ไม่เก่งน่ะซิ  

 

‘ชิออน คาบาซาวะ’ จิตแพทย์ชาวญี่ปุ่น เป็นผู้จุดประกายกระแส Output ให้ฮิตไปทั่วโลกด้วยการชี้ให้เห็นว่าคนเรานั้นโฟกัสผิดจุดมาตลอด เพราะหากเราเอาแต่เรียน เรียน เรียน แต่ไม่ยอมสร้าง Output จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ออกมา เราก็ไม่สามารถที่จะพัฒนาได้จริง ๆ แถมไม่นานก็จะลืมอีกต่างหาก โดยคุณชิออน คาบาซาวะนั้นเป็นคนที่สร้าง Output ได้เทพมาก ๆ เพราะเขาทั้งทำยูทูบ เขียนรีวิวลงเฟซบุ๊ก แถมยังเขียนแมกกาซีนทุกวันด้วย !

 

 

คนที่สร้าง Output เก่งจะจำเนื้อหาได้แม่นด้วย

นอกจาก Output จะทำให้เราพัฒนาตัวเองได้จริงแล้ว มันยังทำให้เราไม่ลืมเนื้อหาและจัดเก็บไว้เป็นความจำระยะยาวอีกด้วย โดยกฏของคุณชิออน คาบาซาวะมีอยู่ว่า เราต้องเอาเรื่องที่เรียนมาไปใช้อย่างน้อย 3 ครั้งภายใน 2 อาทิตย์ เช่น ถ้าวันนี้เราเพิ่งเรียนเรื่อง Past Simple Tense มา ในอีก 2 อาทิตย์ข้างหน้า เราต้องฝึกใช้ Past Simple Tense ให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้ง โดยจะเขียนสรุปในโน้ตก็ได้ ฝึกทำข้อสอบ Past Simple Tense ก็ได้ เอาไปเม้าท์กับเพื่อนหรือฝึกพูดกับครูฝรั่งที่โรงเรียนก็ได้ เท่านี้เราก็จะจำเนื้อหาได้แม่นขึ้นผ่านการสร้าง Output ที่ดีนั่นเอง  

 

 

วิธีจำเนื้อหาได้มากกว่า 90%

Cr. slideteam

 

1. ฟังเฉย ๆ (Lecture) คือการเรียนทั่วไปที่เราทำอยู่ทุกวัน นั่งฟังครูสอน ฟังบรรยาย ฟังยูทูบเฉย ๆ การฟังเฉย ๆ จะทำให้เราจำได้เพียง 5 % เท่านั้น เพราะการเรียนแบบนี้เป็นวิธีที่ง่าย แต่ว่าได้ผลน้อยเพราะเป็นความรู้ที่เราจะลืมได้ง่ายมาก 

 

2. อ่านด้วยตัวเอง (Reading) การเรียนรู้ด้วยการอ่านเองจะทำให้เราจำได้เพิ่มขึ้นเป็น 10% แต่จะเป็นความรู้ที่อยู่ไม่นานหากเราไม่ทบทวน จดบันทึก หรือว่าสรุปอีกที เมื่อผ่านไป 2 อาทิตย์ความรู้ที่เราอ่านก็จะค่อย ๆ หายไปแล้ว  

 

3. ฟังและดูภาพ (Audiovisual) เป็นระดับของการเรียนที่ได้ผลเพิ่มมากขึ้นเพราะใช้ทักษะสองอย่างพร้อม ๆ กันคือ ทักษะการฟังและการดู เช่น การดูวิดีโอ จะทำให้สมองได้รับรู้ทั้งจากการได้เห็นและคิดตาม นำไปสู่การตีความในที่สุด 

 

4. การได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) การเรียนรู้ผ่านการเห็นตัวอย่างจริง มีคนสาธิตวิธีการให้ดู จะทำให้มีประสิทธิภาพในการจดจำเพิ่มขึ้นมาถึง 30% เช่น การสาธิตวิธีการปาดหน้าเค้ก คลิปแต่งหน้า เป็นต้น 

 

5. การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) เป็นการเรียนรู้ที่ได้ผลเพิ่มขึ้นมากถึง 50% เนื่องจากเป็นการเรียนรู้แบบเปิด ผ่านการพูดคุย เขียนสรุปลง blog หรือ facebook ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่นในเชิงสร้างสรรค์และได้ feedback วิธีนี้จะทำให้เราจำเนื้อหาได้มากขึ้น  

 

6. การได้ทดลองทำด้วยตัวเอง (Practice doing) วิธีนี้จะทำให้เราจำเนื้อหาได้ถึง 75% นั่นก็คือการนำความรู้ไปทดลองทำด้วยตัวเอง โดยเฉพาะฮาวทูต่าง ๆ ที่เราเจอมา เพราะเมื่อลองทำแล้วเราจะได้เจอปัญหาด้วยตัวเองทุกขั้นตอน ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่รู้มามากขึ้น  

 

7. การได้สอนผู้อื่น (Teaching) การสอนคนอื่นจะทำให้เราจำเนื้อหาได้ถึง 90-95% การติวหนังสือให้เพื่อน สอนการบ้านน้องหรือเพื่อน เปิดกลุ่มติวหนังสือออนไลน์ เพราะความสามารถที่จะใช้ความรู้ที่มีไปสอนให้คนอื่นเข้าใจได้คือความสำเร็จสูงสุดของการเรียนรู้อะไรสักอย่างแล้ว


 

 

แหล่งข้อมูล

ชิออน คาซาบาวะ. (2563). The Power Of Output ศิลปะของการปล่อยของ. แปลจาก Manabi wo Kekka ni Kaeru Output Taizen. แปลโดยอาคิระ รัตนาภิรัต. กรุงเทพฯ: แซนด์คล๊อคบุ๊คส์

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
tcas  dek64 
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow