ในภาษาอังกฤษจะมีคำ ๆ หนึ่งที่เป็นเหมือนคาถาเอาไว้เสกให้ใจเย็นลงเมื่อไม่เห็นด้วยกันใคร นั่นก็คือคำว่า ‘Agree to disagree’ แปลได้ว่า เราเห็นด้วยที่จะไม่เห็นด้วย เป็นการยอมรับว่าท้ายที่สุดแล้วเราก็คิดเห็นไม่ตรงกันและมันก็โอเค เพราะการไม่เห็นด้วยหรือเห็นต่างกันไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามไม่จำเป็นต้องจบด้วยการทะเลาะหรือแตกหักนั่นเอง
ง่าย ๆ เลยคือการถามไปตรง ๆ ว่าไม่เห็นด้วยยังไง ไหนเล่า ? และเราควรฟังโดยปราศจากอคติ ฟังอย่างตั้งใจ ไม่พูดแทรก เพื่อให้รู้ข้อมูลอีกด้านว่าเหตุผลที่เขาไม่เห็นด้วยกับเรามันคืออะไร แต่ทุกวันนี้คนเรามักจะไม่ค่อยฟังกันแล้ว เมื่อเห็นท่าทีว่าอีกฝ่ายไม่เห็นด้วย เราก็พร้อมจะตั้งแง่มากกว่าฟัง
เหมือนเวลาเรากินก็เพราะหิว ที่เขาทำตัวไม่น่ารัก กรอกตามองบน หรือแม้กระทั่งเงียบใส่มันก็ต้องมีที่มา การทำความเข้าใจอีกฝ่ายว่าอะไรคือแรงผลักดันของพฤติกรรมนั้น ๆ จึงจำเป็น เช่น ที่เพื่อนไม่ช่วยงานกลุ่ม ไลน์ไปไม่ตอบอาจจะไม่ใช่เพราะเพื่อนขี้เกียจ แต่อาจจะเป็นเพราะมันไม่ใช่หัวข้อที่เขาชอบหรือเปล่า ลองถามเพื่อนดู ให้เขาได้เลือกว่าเขาอยากทำอะไรมากกว่าสั่ง (Win-Win Solution)
บางคนไม่เห็นด้วยกับคนที่ชอบกินไอศกรีมรสช็อกมิ้นท์เพราะคิดว่ามันเหมือนกินยาสีฟัน ! ในประเด็นแบบนี้จะเถียงกันให้ตายยังไงก็ไม่ได้ประโยชน์ บางเรื่องไม่มีผิดถูกหรือต้องพิสูจน์อะไรเลย เพราะมันเป็นความชอบส่วนตัว เป็นเทสต์ของใครของมันที่เปลี่ยนไม่ได้ ทำได้แค่เคารพความเห็นต่างของอีกฝ่าย แล้วก็กินไอศกรีมรสโปรดของเราไป โดยไม่ต้องไปว่าคนที่ชอบไอศกรีมรสช็อกมิ้นท์ว่าเป็นคนที่คบไม่ได้ !
เถียงกันมานาน แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยอมกันได้เลย สุดท้ายแทนที่จะเลือก unfriend กัน เราอาจจะต้องตกลงตรงที่ต่างฝ่ายต่างก็มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันอยู่ดี แล้วจบแยกย้ายไม่ต้องเสียเวลาเถียงกัน เพราะบางความสัมพันธ์มีค่าเกินกว่าจะเสียไปเพราะเรื่องไม่เป็นเรื่อง แล้วเราจะรู้ว่าตัวเองก็เจ๋งดีเหมือนกันนะที่ผ่านเรื่องนี้ไปได้โดยไม่แตกหักกับใคร
แต่บางเรื่องก็มีน้ำหนักมากน้อยต่างกันระหว่างผัดกะเพราควรใส่ถั่วฝักยาวไหม กับสิทธิผลประโยชน์หรือหน้าที่ เราก็ไม่ควรที่จะ ‘แกล้งไม่เห็นด้วย’ หรือ ‘แกล้งเห็นด้วย’ ควรยืนหยัดไม่ให้ใครมาเอาเปรียบเราได้ ต้องดูเป็นประเด็นไปโดยวัดจากผลกระทบต่อตัวเอง
แหล่งข้อมูล
- Love Actually: เมื่อเข้าใจ เราจะโกรธกันไม่ลง
- Can You and Your Partner Agree to Disagree?