dare to do something (กล้าที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง) โดย dare ต้องมี to และตามด้วย V.1 เสมอ และต้องผันตามประธาน (ประธานเอกพจน์ กริยาเติม s) เมื่อเป็นอดีตจะใช้ช่อง 2 dared มีโครงสร้างประโยคคือ S + dare to + V.1
ex. She dares to come.
(เธอกล้าที่จะมา)
ex. He dares to ask the girl for date.
(เขากล้าที่จะชวนสาวออกเดท)
ex. I dare to resign from my job.
(ฉันกล้าที่จะลาออกจากงาน)
เมื่อเป็นประโยคปฏิเสธและประโยคคำถามจะดึง V. to do เข้ามาช่วย ใช้ในโครงสร้าง S + do/does not + dare to + V.1 , Do/Does + S + dare to + V.1 โดยอาจตัด to ออกไปได้
ex. I don’t dare (to) give him any advice.
(ฉันไม่กล้าที่จะให้คำแนะนำเขาหรอก)
ex. Tom doesn’t dare (to) say what is right.
(ทอมไม่กล้าที่จะพูดสิ่งที่ถูกต้อง)
ex. Does he dare (to) come?
(เขากล้าที่จะมาไหม?)
ex. Don’t you dare touch her!
(คุณไม่กล้าแตะต้องเธอใช่ไหม)
ส่วนใหญ่จะไม่ใช้ในประโยคบอกเล่า แต่ใช้ในประโยคปฏิเสธโดยไม่ต้องมี to ตามโครงสร้าง S + dare not (daren’t) + V.1
ex. He dare not tell the truth.
(เขาไม่กล้าที่จะพูดความจริง)
ex. Dare he come?
(เขากล้ามาไหม?)
ex. He dared the danger.
(เขากล้าเผชิญกับอันตราย)
ex. I dare you to call her.
(ฉันท้าให้นายโทรหาเธอ)
ex. She dare me to be actress.
(หล่อนท้าให้ฉันเป็นนักแสดง)
ex. How dare you come into my room!
(คุณกล้าดียังไงเข้ามาในห้องของฉัน)
ex. How dare you disturb me!
(คุณกล้าดียังไงมารบกวนฉัน)
ex. I dare say he won’t come here.
(ฉันเชื่อว่าเขาจะไม่มา)
ex. I daresay that’s true.
(บางทีนั่นอาจจะเป็นความจริง)
ข้อควรระวัง : I dare say เป็นวลีตายตัว จะไม่ใช้ในรูปอื่นเด็ดขาด