คําตอบก็คือ เพื่อน/รุ่นพ่ี/รุ่นน้อง 70% และครู/อาจารย์ 17% และครอบครัว 13% โดยมักจะบูลลี่เรื่องการเอาปมด้อยของคนอื่นมาตั้งฉายา เรื่องรูปร่างหน้าตา สีผิว ส่วนผลกระทบจากการถูกบูลลี่ก็มีทั้งกลัวการไปโรงเรียน ไม่อยากไปโรงเรียนจนต้องย้ายโรงเรียน เสียสุขภาพจิต ซึมเศร้าและพยายามจะฆ่าตัวตาย โดยรูปแบบการบูลลี่มีทั้งทางกาย เช่น ตบหัว แกล้งให้สะดุดล้มเหมือนในละครหลังข่าว ไถเงิน ฯลฯ ส่วนการบูลลี่ทางคำพูด เช่น ล้อเลียน ด่าทอ เหยียด ฯลฯ และบูลลี่ทางสังคม เช่น แบน ไม่คุยด้วย ไม่เล่นด้วย มีท่าทีรังเกียจ ฯลฯ
• ปรับความคิด หนึ่งเลยคือไม่โทษตัวเอง ไม่ตำหนิตัวเองว่าเป็นสาเหตุที่โดนบูลลี่
• ทำความเข้าใจ เพราะคนที่บูลลี่เราต่างหากที่เขามีปัญหา คนดี ๆ ที่ไหนจะมาแกล้งคนอื่น
• ไม่ส่งต่อการบูลลี่ ไม่ตอบโต้ ไม่สร้างความรุนแรงเพิ่มด้วยการนิ่งเฉย ไม่แสดงการบูลลี่ทุกรูปแบบกลับไป
• แสดงออกว่าไม่ชอบแต่ไม่แก้แค้น บอกเขาว่าเราไม่โอเค เราไม่ชอบ แต่ไม่ควรผูกใจเจ็บด้วยการแก้แค้นเพราะนั่นจะสร้างความทรงจำที่เลวร้ายในใจให้กับเราในอนาคต ปล่อยวางและให้อภัยเขา
• ระบายกับคนที่ไว้ใจ หากเรารู้สึกเสียใจ รู้สึกแย่ ให้ระบายกับเพื่อนที่สนิท หากเป็นครูที่โรงเรียนเองที่บูลลี่เรา ให้แจ้งผู้ปกครองหรือญาติที่เราสนิทใจด้วย
• เก็บหลักฐาน หากมีหลักฐานที่โดนบูลลี่ให้บันทึกเหตุการณ์เอาไว้
• หากยังโดนแกล้งอีก นำหลักฐานที่มี พยานที่มีอยู่ไปแจ้งความ โดยปรึกษาผู้ปกครอง เพราะคนที่รังแกคนอื่นซ้ำ ๆ มีแนวโน้มจะรังแกมากขึ้นโดยไม่กลัวผลที่ตามมาและมักจะไม่หยุด จึงควรได้รับผลของการกระทำตามกฏของโรงเรียนและได้รับความช่วยเหลือ
• เชิดใส่ สร้างความมั่นใจในตัวเอง เติมพลังความมั่นใจให้ตัวเองอยู่เรื่อย ๆ ด้วยการออกไปทำกิจกรรมที่มีความสุข ไปสังสรรค์กับเพื่อน แชร์ประสบการณ์กับคนอื่นเพื่อไม่ให้รู้สึกตกเป็นเหยื่อและโดดเดี่ยว
แหล่งข้อมูล
- จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2564