ในปัจจุบันมีคู่รักหลายคู่มากที่กำลังประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากทำให้ต้องหันไปพึ่งเทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้วกันมากขึ้น โดยการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF (In-vitro Fertilization) เป็นหนึ่งในวิธีรักษาโรคมีบุตรยากด้วยวิธีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ในหลอดทดลอง จากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่ได้มาเพาะเลี้ยงต่อจนอายุ 3-5 วัน จึงนำกลับเข้าสู่ร่างกายฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีบุตรยากสามารถมีบุตรได้อย่างที่ต้องการ แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นมากที่สุด ก็จะมีดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำเด็กหลอดแก้ว
1.รังไข่บวม เนื่องจากได้รับฮอร์โมนกระตุ้นมากเกินไป
2.ตั้งครรภ์นอกมดลูก เพราะไข่เข้าไปฝังตัวอยู่ในท่อนำไข่แทนที่จะเป็นมดลูก
3.เกิดความเครียด เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง
4.ได้รับผลข้างเคียงจากยา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว กระสับกระส่าย ร้อนวูบวาบและอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย
5.เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก
6.เสี่ยงภาวะแทรกซ้อน ในขั้นตอนการเก็บไข่ เช่น การติดเชื้อ เลือดออก
7.มีโอกาสตั้งครรภ์แฝด ซึ่งหากสุขภาพของคุณแม่ไม่แข็งแรง ก็อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือทารกมีน้ำหนักตัวน้อยได้
อย่างไรก็ตามการรักษาการมีบุตรยากไม่ได้มีแต่เพียง การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF เท่านั้น แต่ยังมีวิธีการอื่น ๆ ซึ่งเหมาะกับอาการป่วยของแต่ละคู่ ในมุมที่แตกต่างกันไป โดยเปรียบเทียบ ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำเด็กหลอกแก้ว ให้รอบครอบเพื่อหาทางออกและวิธีที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับคู่ของตนเองให้ได้มากที่สุด