รู้จักกันในชื่อ “คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย”
นะโมตัสสะ 3 จบ
คำแปล:
ขออัญเชิญคุณแห่งพระพุทธเจ้าอันวิเศษ คุณแห่งกระแสพระนิพพานอันประเสริฐ ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญแล้ว จงเป็นมหาวิภูษิตาภรณ์ประดับด้วยมงกุฎทิพย์และเครื่องทรงแห่งพระเจ้ามหาจักรพรรดิครอบคลุมข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ
พระคาถามงกุฏพระพุทธเจ้าเป็นพระคาถาที่สืบเนื่องมาจากพระพุทธศาสนา มีพุทธคุณดีครบถ้วนทุกด้าน สามารถนำไปใช้ในทางกุศลได้ทุกๆ เรื่อง เรียกได้ว่าเป็นพระคาถาที่มีความศักดิ์สิทธิ์ครอบจักรวาล
ทั้งช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย ป้องกันเภทภัยหรือภยันอันตราย อุบัติเหตุ เปลี่ยนจากหนักให้เป็นเบา จากร้ายให้กลายเป็นดี ป้องกันสิ่งไม่ดีชั่วร้าย ขับไล่เสนียดจัญไร อาถรรพ์ต่าง ๆ รวมถึงแก้เคล็ดปีชง เบญจเพส และราหู ทั้งยังช่วยเสริมดวง ช่วยให้มีความเป็นเลิศทางด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ เป็นที่รักแก่มนุษย์และเหล่าเทพเทวดาทั้งหลาย
ช่วยให้การติดต่อเจรจาราบรื่น การงานคล่องตัว ไร้ซึ่งอุปสรรค เรียกทรัพย์ให้ไหลมาเทมา กิจการการงานเจริญรุ่งเรือง และส่งเสริมเพิ่มพูนหนุนดวง สืบชะตา เพิ่มอำนาจวาสนาบารมี นอกจากนี้ยังช่วยให้จิตเป็นสมาธิ สงบนิ่ง อยู่ในศีลธรรม ทำให้ชีวิตพบเจอแต่หนทางสว่าง
โบราณว่าไว้ใบหน้าเป็นศรี (ราศี) ที่สำคัญของร่างกาย
ชาวไทยเราจึงเชื่อกันว่า การล้างหน้าเป็น การชำระล้างร่างกายส่วนที่สำคัญที่สุด
บทสวดมนต์ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับสวดขณะทำความสะอาดใบหน้าและร่างกายในยามเช้า คือ คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เพราะเชื่อกันว่าเป็นยอดแห่งพระคาถาด้านเมตตามหานิยม และช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย
ภาวนาทุกวันมิตกนรก เสกน้ำล้างหน้าทุกวันกันโรคภัยไข้เจ็บคุณไสยทั้งมวล
ถ้าจะให้มีตบะเดชะให้ภาวนาทุกวัน เกิดสง่าราศีเป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย ให้ภาวนาแล้วแผ่เมตตาให้คนทั้งปวง ใครคิดร้ายก็ต้องมีอันเป็นไป
ถ้าปรารถนาสิ่งใด ให้ภาวนาคาถานี้ ๑๘ คาบ (18 ครั้ง) เป็นไปได้ดังใจนึก
ถ้าจะให้เป็นมหาจังงัง ให้ภาวนาคาถานี้ ๘ คาบเป็นมหาจังงังแล
ถ้าจะให้เป็นมหาละลวยให้ภาวนา ๙ คาบ
ถ้าช้างม้าวัวควายสัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลาย ให้เสกหญ้าเสกของให้มันกิน กลับใจอ่อนรักเราแล ถ้าภูตพรายมันเข้าอยู่คน เสกข้าวให้มันกินออกแล
อนึ่งพระคาถานี้ใช้สำหรับภาวนาสักการะซึ่งพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระเจดีย์สิ้นทั้งปวง
แต่โบราณมากำหนดเอาพระคาถานี้ใช้อัญเชิญพระบรมธาตุเสด็จโดยปาฏิหาริย์แล
ส่วนเคล็ดลับในการสวดคาถามงกุฏพระพุทธเจ้าให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้นมีพื้นฐานจากจิตเป็นสำคัญ หากจิตเรามีสมาธิและตั้งมั่น คาถาก็จะยิ่งมีความศักดิ์สิทธิ์และช่วยให้เห็นผลลัพธ์ได้ไว
อานิสงค์ของคาถานี้เป็น คาถาครอบจักรวาล โดยมีประวัติ ของการใช้คาถานี้มายาวนาน ส่วนใหญ่ในราชสำนัก แม้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ท่านก็ทรงพระคาถานี้เป็นประจำมีที่ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์ ก็ครั้งที่ถูกทูตต่างประเทศนำม้าเทศตัวใหญ่แต่เป็นม้าพยศ มาท้าให้ท่านทรงพระองค์ท่านได้ใช้พระคาถานี้เสกหญ้าให้ม้ากินก่อนม้าตัวนั้นก็กลับเชื่องให้พระองค์ทรงม้า แต่โดยดี
เรื่องนี้ทำให้รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงสร้างพระบรมรูปทรงม้าถวายเสด็จพ่อของท่าน ได้ทรงแฝงนัยยะแห่งกฤษดาอภินิหารนี้เพื่อเทิดทูนพระคุณท่านเอาไว้ ผ่านพระบรมรูปทรงม้า ที่เรากราบสักการะกัน
พระคาถามงกุฏพระพุทธเจ้าหรืออิติปิโสเรือนเตี้ยนี้มีอานุภาพมาก เป็นพระคาถาในตำรับพิชัยสงครามสำหรับแต่งทัพ
โดยกำหนดจิตคุ้มเหล่าทหารด้วยพระคาถานี้สายตาไปถึงไหนอานุภาพพระคาถาคุ้มครองถึงที่นั้นแล
หลักในการว่าคาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก “จิต” เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูง ตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้ จับลมหายใจสบายพร้อมๆ กับการภาวนาคาถาบทนี้
พระคาถานั้น ๆ จะมีพุทธานุภาพมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้สวดเป็นสำคัญ หากมีศีล 5 รักษาไม่ให้ขาดตกบกพร่อง และหมั่นสร้างกุศล บุญบารมีอยู่เสมอไม่ขาดช่วง สิ่งเหล่านี้ก็เหมือนกับกำแพงแก้วคอยเป็นเกราะคุ้มกันเราจากสิ่งเลวร้ายทั้งหลายไป 1 ชั้นแล้ว พอสวดมนต์หรือคาถาก็จะช่วยเสริมเป็นเกราะกำบังให้อีก 1 ชั้น ช่วยให้รอดพ้นจากสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ไปได้
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านใช้คาถาบทนี้โดยมีนิมิต กำกับคาถา โดยทรงพุทธนิมิต ไว้ดังนี้ โดยตั้งกำลังใจว่าเรา ขอกราบอาธารณาบารมีพระพุทธเจ้าเสด็จประทับเหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้าเพื่อ ปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเทอญ
“อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ”
เมื่อว่าคาถาจบ คาบที่ 1 ก็กำหนดอาราธณาพุทธนิมิตอยู่เบื้องหน้าของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตนี้เอาไว้
“อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิอิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ”
ว่าคาถาจบที่ 2 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์หนึ่ง อยู่เบื้องขวาของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตทั้งหมดเอาไว้
“อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ”
ว่าคาถาจบที่ 3 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านหลังของศีรษะเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
“อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ”
ว่าคาถาจบที่ 4 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านซ้าย และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
“อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ”
ว่าคาถาจบที่ 5 ก็กำหนด พุทธนิมิตอีกพระองค์อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
“อิงติปิโสวิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ”
ว่าคาถาจบที่ 6 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
“อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ”
ว่าคาถาจบที่ 7 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
“อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ”
ว่าคาถาจบที่ 8 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้ทั้ง 8 พระองค์เรียงวนรอบศีรษะของเรา
“อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ”
ว่าคาถาจบที่ 9 กำหนดพุทธนิมิตพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่เสด็จประทับกึ่งกลางศีรษะเป็นยอดมงกุฎเปล่งประกายพรึก ทุกๆพระองค์เป็น มงกุฎเพชรพระพุทธเจ้าทั้งเก้าพระองค์บนเศียรเกล้าของเรา
เมื่อทำได้แล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าคาถานี้ทำไมจึงมีชื่อว่า คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า และ ให้ทรงมงกุฎพระพุทธเจ้านี้เอาไว้ตลอดเวลาเป็นการทรงอารมณ์ในพุทธานุสตกรรมฐาน