Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ทำอย่างไรให้ "คิดอย่างเป็นระบบ" (System Thinking)

Posted By Plook Panya | 25 พ.ย. 63
16,860 Views

  Favorite

ในวันที่ต้องเผชิญกับปัญหาและต้องหาทางแก้ไข อีกหนึ่งปัจจัยตัวช่วย คือ การคิดอย่างเป็นระบบ System Thinking ซึ่งจะช่วยให้เรามองปัญหาภาพรวมได้ชัดเจน เห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบ

 

       หากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน คือ ภาพรวมเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่หนึ่งหลัง มีภาพย่อยที่เปรียบเสมือนส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น ห้องต่าง ๆ หลังคา ประตู หน้าต่าง รวมทั้งเข้าใจว่าสองส่วนนี้มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้การนึกทางแก้ปัญหานั่นถูกต้องและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ลองนึกภาพตามง่ายๆ หากต้องหาคำตอบว่าทำไมน้ำจึงท่วมเข้ามาในบ้าน ก็ต้องเริ่มหาสาเหตว่า น้ำท่วมเกิดจากอะไร เพราะบ้านอยู่ต่ำว่าถนน ท่อระบายน้ำขนาดเล็กเกินไป และมีขยะเข้าไปอุดตันหรือไม่ และเส้นทางของน้ำเชื่อมโยงเข้ามาในตัวบ้านได้อย่างไร พฤติกรรมของเราและผู้อยู่อาศัยโดยรอบเป็นหนึ่งในสาเหตุของเรื่องนี้หรือไม่ 

 

 

เทคนิคการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ จะมีอะไรบ้าง ลองดูกัน

 

♦ ฝึกการยอมรับและทำความเข้าใจว่าตนเองเป็นส่วนที่สามารถเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะมีปัญหาใด ๆ จะเป็นงานกลุ่ม โปรเจกต์ของออฟฟิศ หรือการแก้ปัญหาในระดับองค์กร พวกเราล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่เชื่อมโยงกันและกัน 

 

♦ มองสิ่งต่าง ๆ เป็นภาพรวม เป็นองค์ประกอบใหญ่ แล้วจึงมองภาพย่อย แล้วค่อย ๆ มองย้อนกลับไป เห็นการเชื่อมโยง อย่างที่ได้ยกตัวอย่างไปเบื้องต้น การมองภาพรวมก็เปรียบเสมือนการมองบ้านหลังใหญ่หนึ่งหลัง มีภาพย่อยที่เปรียบเสมือนส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น ห้องต่าง ๆ หลังคา ประตู หน้าต่าง รวมทั้งเข้าใจว่าสองส่วนนี้มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน

 

♦ มองเป้าหมายที่อยากให้เป็น แล้วคิดย้อนกลับไปถึงการแก้ปัญหาแต่ละจุด จากนั้นจึงเริ่มต้นหาสาเหตุของปัญหา เพราะการแก้ไขปัญหาด้วยความยั่งยืนหรือการแก้ปัญหาในระยะยาว (ไม่ใช่ที่ปลายเหตุ หรือแค่ในระยะเวลาสั้น ๆ) ต้องเริ่มต้นด้วยการรู้ที่มาของปัญหา รวมทั้งสิ่งที่มากระทบ หากต้นเหตุของปัญหานั้นต้องปรับเปลี่ยนทั้งโครงการ เช่น งานออกมาไม่เป็นตามที่คิด เกิดจากภายในกลุ่มงานขาดการสื่อสารต่อกัน เกิดความเข้าใจผิด อาจต้องแก้โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน อาจให้มีการประชุม รายงานความคืบหน้าของทุกคนในแต่ละวัน เป็นต้น 

 

♦ คิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยไม่ยึดติดความคิดเดิม ๆ ไม่ตีกรอบ แล้วค่อยๆ ตัดวิธีที่ได้ผลน้อย หรือสร้างปัญหามากที่สุดออกไป รวมทั้งสังเกตว่า ปัญหานั้นเคยเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ วิธีที่คุ้นเคยแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ หากยังมีปัญหาอื่นตามมา ให้เลือกวิธีใหม่ที่ยั่งยืนกว่า สร้างปัญหาอื่น ๆ น้อยกว่า 

 

 

 

หากอยากรู้ว่าตนเองมีความคิดอย่างเป็นระบบหรือยัง ลองทำแบบทดสอบด้านล่างกันดู 

 

ข้อความ  ใช่/ เป็นเช่นนั้น  ไม่ใช่ / ไม่เป็นเช่นนั้น 
1. เมื่อเกิดปัญหาสามารถคิดเชื่อมโยงในการแก้ไขปัญหาได้    
2. เป็นคนมีเหตุผล    
3. มองภาพสิ่งต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยงกัน    
4. มองได้ถึงเป้าหมายในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง    
5. มีวิธีการคิดแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย    
6. มีความพยายามในการค้นหาสาเหตุของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองสนใจได้    
7. มองภาพรวมในการทำงานได้    

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow