- ใช้ในความหมายประโยคของการอนุญาตให้ทำอะไร การปล่อยอะไรไป
- แปลว่าได้ ปล่อย อนุญาต ทำให้เกิด
- โครงสร้างประโยค Let + object + V (infinitive หรือกริยาไม่ผันรูป) เช่น
Let me go! (ปล่อยฉันไปนะ)
Let them sleep. (ปล่อยให้พวกเขานอนไปเถอะ)
Let me help you. (ให้ฉันช่วยเธอเถอะนะ)
ข้อสังเกต : กริยาที่ตามหลัง Let และ object จะไม่ผันรูป
บางครั้งจะใช้ Let + V ได้เลยเช่นกัน โดยที่ไม่ต้องมีกรรม เป็นการสนทนาแบบย่อ ๆ ที่รู้กันอยู่ว่าใครคือกรรม มักจะใช้กับประโยคนี้เท่านั้นที่จะได้ยินบ่อย ๆ คือ Let go! (ปล่อยนะ)
ในบางกรณีที่ใช้ Let เป็นกริยาหลักนั้น จะผันรูปตามประธานตามปกติ เช่น
Teacher lets us go.
Let ในที่นี้จะผันกริยาไปตามครู ซึ่งเป็นประธานเอกพจน์ แต่คำว่า go ที่ตาม let มานั้น จะไม่ผันรูป
We let them enter the house. (เราปล่อยให้พวกเขาเข้ามาในบ้าน)
Let ผันตาม We ซึ่งเป็นประธานพหูพจน์
- ย่อมาจาก Let us
- เป็นการเชิญชวนให้ทำอะไรบางอย่าง
- โครงสร้างประโยค Let’s + V (infinitive หรือกริยาไม่ผันรูป) เช่น
Let’s go to the mall. (ไปเดินห้างกันเถอะ)
Let’s find something to eat. (ไปหาอะไรกินกันเถอะ)
Let’s watch this series. (ดูซีรี่ย์เรื่องนี้กันเถอะ)
*** เนื่องด้วยคำว่า Let’s นี้ย่อมาจาก Let us ดังนั้นเวลาเขียนรูปแบบประโยคเขิญชวน เราจะต้องไม่สับสนเขียนเป็น Let go นะคะ เพราะความหมายจะเปลี่ยนไปเลย ว่าปล่อยนะ แทนที่จะแปลว่า ไปกันเถอะ คำนี้จะเจอเขียนผิดกันมาก ต้องระวังให้ดี