กองทัพบกไทย (Royal Thai Army) ถือว่าเป็นเหล่าทัพที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุด และยังมีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพไทย มีมีหน้าที่เตรียมกำลังทางบก และป้องกันราชอาณาจักรไทย
กองทัพบกนั้นถือได้ว่ากำเนิดขึ้นพร้อมกับการก่อต้องชาติไทยเลยก็ว่าได้ โดยวิวัฒนาการขอกองทัพบกจะเริ่มตั้งแต่ชนเผ่าไทยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและรวมกลุ่มขึ้นเป็นนครรัฐเล็กๆ ในดินแดนของประเทศไทยปัจจุบันและบริเวณใกล้เคียง ทั้งยังมีการจัดกำลังกองทัพเพื่อทำสงครามกับชนชาติต่างๆที่เข้ามารุกราน จนกระทั่งได้ขยายอาณาเขตและก่อตั้งสถาปราอาณาจักรไทยขึ้นมา และได้มีการพัฒนาทางด้านการทหารมาตลอดอย่างต่อเนื่องโดยบอกเล่าออกไป 4 ช่วงสมัย ดังนี้
ช่วงสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800- 1981) เป็นช่วงที่อาณาเขตของไทยนั้นถูกแผ่กระจายออกไปอย่างกว่างขวาง โดยเฉพาะในช่วงสมัยของพ่อขุนรามคำแหง โดยท่านได้ทรงดูแลราษฎรอย่างใกล้ชิด เสมือนบิดาดูแลบัตร หากในยามปกตินั้นราษฎจะต่างประกอบอาชีพกันเป็นปกติ แต่เมื่อเกิดสงครามชายฉกรรจ์ทุกคนจะต้องมารับใช้ประเทศชาติโดยการเปิดนทหาร
ช่วงสมัยอยุธยา (พ.ศ. 1983 – 2310) ในช่วงสมัยนี้นั้นได้มีการปรับปรุงด้านการควบคุมกองกำลังไพร่พล และยุทธิวิธีให้รัดกุมมากยิ้งขึ้น โดยได้ทำการแยกกิจกราทหารออกจากกิจการด้านพลเรือน และได้จัดตั้งกรมพระสุรัสวดีขึ้นมารับผิดชอบทำทะเบียนไพร่พล เพื่อช่วยให้สะดวกและรวดเร็วต่อการเรียกระดมพลทหาร หากเกิดศึกสงครามขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์กำหนดให้ชายไทยทุกคนต้องเข้ามารายงานตัวเพื่อเป็นทหารปีละ 6 เดือน โดยในช่วงสมัยอยุธยานั้นมีสงครามที่สำคัญและเป็นจดจำกัน คือ “สงครามยุทธหัตถี” ซึ่งผู้ที่นำพาชาติไทยสู่ชัยชนะครั้งนั้นก็คือ พระนเรศวรมหาราช ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 และนี่จึงเป็นที่ของวันกองทัพบก ในช่วงเวลาต่อมา
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310 – 2325) ได้มีการปรับปรุงกิจการทหารหลายด้านด้วยกัน โดยเฉพาะในการจัดทำบัญชีไพร่พลให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น และสามารถตรวจสอบจำนวนกำลังพลที่แน่นอนแม่นยำ ทั้งยังช่วยให้สะดวกแก่การควบคุมบังคับบัญชา โดยในช่วงเวลาเกิดสงครามในยุคสมัยกรุงธนบุรีได้มีการหล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้เอง และยังจัดหาอาวุธปืนจากต่างประเทศนำเข้ามาใช้ในกองทัพ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน) เป็นช่วงที่ประวัติศาสตร์ที่มีการทำสงครามครั้งสำคัญ คือ สงครามเก่าทัพ ที่มีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนำพาชัยชนะข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่ามาได้อย่างงดงาม นับตั้งแต่นั้นมาทางกองทัพบกก็ได้มีการพัฒนาตลอดเวลาจวบจนถึงปัจจุบัน
พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 14 กำหนดอำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหมและหน้าที่ของกองทัพบกไว้ว่า “กองทัพบกมีหน้าที่เตรียมกำลังทางบก และป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ”
สื่อในความควบคุมของกองทัพบก จะมีทั้งหมด ดังต่อไปนี้
กองทัพบก แบ่งส่วนราชการเป็น 7 ส่วนดังนี้
เหล่ารบ เป็นเหล่าหลักที่ใช้ในการรบ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หลักในสนามรบจะประกอบด้วย
เหล่าสนับสนุนการรบ เป็นฝ่ายสนับสนุนการรบ โดยมากมักปฏิบัติงานควบคู่กับหน่วยรบในสนามรบจะประกอบด้วย
เหล่าช่วยรบ เป็นฝ่ายส่งกำลังหรือสิ่งอุปกรณ์ช่วยเหลือการรบ โดยมากปฏิบัติงานแนวหลังในสนามรบจะประกอบด้วย
นอกจากนี้ยังมีหน่วยอื่น ๆ ที่มิได้เป็นหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการรบโดยตรงจะประกอบด้วย
อาวุธประจำกาย และอาวุธยิงสนับสนุน กองทัพบกจะมีดังต่อไปนี้
ปืนใหญ่ และระบบการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบกจะมีดังต่อไปนี้
ยานพาหนะ กองทัพบกจะมีดังต่อไปนี้
อากาศยาน กองทัพบก
กองบัญชาการกองทัพบก ตั้งอยู่ที่ ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
https://nine100.com/a-total-of-20-army-stories/