Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เคล็ดลับพัฒนาทักษะ Critical Thinking (การคิดเชิงวิพากษ์)

Posted By Plook Panya | 12 ต.ค. 63
7,822 Views

  Favorite

       ย่างเข้าศตวรรษที่ 21 เต็มตัว ในยุคแห่งเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่ไร้ขีดจำกัด skill สำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ  ความสามารถในใช้ความคิดไตร่ตรอง กลั่นกรองอย่างรอบคอบ โดยอาศัยข้อมูลหลักฐาน ความรู้ประสบการณ์ที่เป็นจริงหรือสมเหตุสมผล เพื่อเชื่อมโยงและสรุปเป็นข้อยุติ หรือใช้ประกอบการตัดสินใจได้ และทั้งหมดนี้ ถูกเรียกว่า การคิดเชิงวิพากษ์ หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

       การคิดเชิงวิพากษ์ หรือการคิดอย่างวิจารญาณ ไม่ว่าจะในชื่อใดก็ตาม ได้กลายเป็นทักษะสำคัญสำหรับในศตวรรษที่ 21 ควบคู่ไปกับทักษะดั้งเดิมอย่าง ความคิดสร้างสรรค์ หรือทักษะการสื่อสาร เพราะเป็นทักษะที่จำเป็นในแทบทุกสาขาอาชีพและทุกลักษณะองค์กรการทำงาน เพราะจะเข้าใจองค์ความรู้ เชื่อมโรงเหตุผล แล้วนำมาแก้ปัญหาได้อย่างตรงประเด็น  นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจำนวนมากที่ยืนยันว่า ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์นี้ จะให้น้อง ๆ เรียนและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดีด้วย
      แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพัฒนาทักษะนี้ภายในเวลาอันรวดเร็ว เพราะมีปัจจัยแวดล้อมที่หลากหลาย ทั้งพื้นฐานความคิดเดิม ความเชื่อส่วนบุคคล แต่การฝึกฝน การพยายามทำความเข้าใจ และประสบการณ์จะช่วยให้น้อง ๆ เพิ่มคะแนนทักษะข้อนี้ได้ไม่นานเกินรอแน่นอน วันนี้เรามีคำแนะนำมาให้

1. กรั่นกรองข้อมูลข่าวสารให้เป็น

       ในยุคข่าวสารข้อมูลล้นมือ เต็มโซเชียลไปหมดนี้ น้องอาจลองเลือกเรื่องใกล้ตัวที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเหตุบ้านการเมือง ข่าวดาราเกาหลีที่เราคลั่งไคล้ หรือแม้กระทั่งข่าวสารที่คุณครูแจ้งให้ทราบหน้าเสาธงในตอนเช้า เรื่องบางเรื่อง อาจะเป็นข้อมูลเดียวกัน แต่เล่าคนละช่องทางและสำนักข่าว น้องอาจจะลองคิด วิเคราะห์และแยกแยะว่า ข่าวที่น้อง ๆ ได้ยินมานั้น อะไรดูเป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ อะไรเป็นข้อมูลที่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวหรือการเอนเอียงของสื่อมวลชน หัดแยกแยะเพื่อสรุปว่าข้อมูลส่วนใด มีน้ำหนักและน่าเชื่อถือ วิธีการนี้จะไม่ทำให้เราเชื่อสิ่งใดโดยง่าย แต่จะรู้จักวิเคราะห์อย่างสมเหตุสมผล และไม่ใช่อคติหรืออารมณ์ของตัวเองตัดสินเพียงอย่างเดียว 

 

2. ฝึกหาข้อมูลหลักฐานเพิ่มเติม 

       หากข้อมูลนั้น ๆ ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ อาจลงมือค้นคว้า หาแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าหากเป็นเรื่องใกล้ตัวที่โรงเรียน อาจถามจากเพื่อนหรืออาจารย์ท่านอื่น แล้วนำมาคิดวิเคราะห์อีกครั้งดังข้อแรก อีกกรณี คือ หากมีการวิเคราะห์หาข้อสรุปการประชุม การทำงานในห้องเรียน หากน้อง ๆ ต้องนำเสนอข้อคิดเห็น ก็ควรมีเหตุผลหรือหลักฐานประกอบเพื่อให้ข้อคิดเห็นของเรามีน้ำหนักและน่าเชื่อถือ โดยไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวเพื่อให้คนอื่นยอมรับในความเห็นของตนเอง พร้อมใจเปิดรับฟังคนอื่นอย่างเป็นกลาง

 

3. มองทั้งสองด้าน

เพื่อความเป็นกลาง ในการทำความเข้าใจ การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจเลือกว่าจะซ้ายหรือขวา น้อง ๆ อาจลองใช้ตัวช่วยเรามีความเป็นกลาง มากขึ้น เช่น กีฬาสีปีนี้ จะจัดในตีมไหนระหว่างจีนกับโรมัน น้อง ๆ อาจจะลองทำรายการข้อเสียของทั้งสองตีม ดูปัจจัยให้ครบถ้วยน แล้วนำมาเทียบกัน แล้วเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์กับงานที่สุด 

 

       การพัฒนาการคิดเชิงวิพากษ์สามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง เริ่มจากการฝึกฝนการวิพากษ์เพื่อหามุมมองใหม่ๆต่อสิ่งต่างๆรอบตัวโดยเฉพาะเหตุการณ์ต่างๆ การตั้งสมมติฐานต่อสถานการณ์ต่างๆถือเป็นการพัฒนาการคิดเชิงวิพากษ์ก่อให้เกิดมุมมองของคำตอบที่หลากหลาย นำไปสู่การค้นหาคำตอบและทำให้พบข้อเท็จจริงที่เป็นจริงและสมเหตุสมผลมากที่สุด

 

 

หากน้อง ๆ อยากเช็คให้ชัวร์ ว่าตนเองมีการพัฒนาด้านการคิดเชิงวิพากษ์มากขึ้นหรือยัง ลองตรวจสอบกับรายการข้างล่างได้เลย

ข้อความ ใช่/ฉันมีเป็นลักษณะแบบนี้ ไม่ใช่/ไม่ได้เป็นลักษณะแบบนี้
 1. มีเหตุผลในการทำกิจกรรมต่างๆ     
 2. หาเหตุผลในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้    
 3. เป็นคนที่มีการสังเกตสิ่งต่างๆ ได้ดี    
 4. ชอบค้นหาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ    
 5. เป็นคนมีเหตุผลในการตัดสินสิ่งต่างๆ     

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow