การคิดเชิงวิพากษ์ หรือการคิดอย่างวิจารญาณ ไม่ว่าจะในชื่อใดก็ตาม ได้กลายเป็นทักษะสำคัญสำหรับในศตวรรษที่ 21 ควบคู่ไปกับทักษะดั้งเดิมอย่าง ความคิดสร้างสรรค์ หรือทักษะการสื่อสาร เพราะเป็นทักษะที่จำเป็นในแทบทุกสาขาอาชีพและทุกลักษณะองค์กรการทำงาน เพราะจะเข้าใจองค์ความรู้ เชื่อมโรงเหตุผล แล้วนำมาแก้ปัญหาได้อย่างตรงประเด็น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจำนวนมากที่ยืนยันว่า ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์นี้ จะให้น้อง ๆ เรียนและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดีด้วย
แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพัฒนาทักษะนี้ภายในเวลาอันรวดเร็ว เพราะมีปัจจัยแวดล้อมที่หลากหลาย ทั้งพื้นฐานความคิดเดิม ความเชื่อส่วนบุคคล แต่การฝึกฝน การพยายามทำความเข้าใจ และประสบการณ์จะช่วยให้น้อง ๆ เพิ่มคะแนนทักษะข้อนี้ได้ไม่นานเกินรอแน่นอน วันนี้เรามีคำแนะนำมาให้
ในยุคข่าวสารข้อมูลล้นมือ เต็มโซเชียลไปหมดนี้ น้องอาจลองเลือกเรื่องใกล้ตัวที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเหตุบ้านการเมือง ข่าวดาราเกาหลีที่เราคลั่งไคล้ หรือแม้กระทั่งข่าวสารที่คุณครูแจ้งให้ทราบหน้าเสาธงในตอนเช้า เรื่องบางเรื่อง อาจะเป็นข้อมูลเดียวกัน แต่เล่าคนละช่องทางและสำนักข่าว น้องอาจจะลองคิด วิเคราะห์และแยกแยะว่า ข่าวที่น้อง ๆ ได้ยินมานั้น อะไรดูเป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ อะไรเป็นข้อมูลที่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวหรือการเอนเอียงของสื่อมวลชน หัดแยกแยะเพื่อสรุปว่าข้อมูลส่วนใด มีน้ำหนักและน่าเชื่อถือ วิธีการนี้จะไม่ทำให้เราเชื่อสิ่งใดโดยง่าย แต่จะรู้จักวิเคราะห์อย่างสมเหตุสมผล และไม่ใช่อคติหรืออารมณ์ของตัวเองตัดสินเพียงอย่างเดียว
หากข้อมูลนั้น ๆ ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ อาจลงมือค้นคว้า หาแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าหากเป็นเรื่องใกล้ตัวที่โรงเรียน อาจถามจากเพื่อนหรืออาจารย์ท่านอื่น แล้วนำมาคิดวิเคราะห์อีกครั้งดังข้อแรก อีกกรณี คือ หากมีการวิเคราะห์หาข้อสรุปการประชุม การทำงานในห้องเรียน หากน้อง ๆ ต้องนำเสนอข้อคิดเห็น ก็ควรมีเหตุผลหรือหลักฐานประกอบเพื่อให้ข้อคิดเห็นของเรามีน้ำหนักและน่าเชื่อถือ โดยไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวเพื่อให้คนอื่นยอมรับในความเห็นของตนเอง พร้อมใจเปิดรับฟังคนอื่นอย่างเป็นกลาง
เพื่อความเป็นกลาง ในการทำความเข้าใจ การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจเลือกว่าจะซ้ายหรือขวา น้อง ๆ อาจลองใช้ตัวช่วยเรามีความเป็นกลาง มากขึ้น เช่น กีฬาสีปีนี้ จะจัดในตีมไหนระหว่างจีนกับโรมัน น้อง ๆ อาจจะลองทำรายการข้อเสียของทั้งสองตีม ดูปัจจัยให้ครบถ้วยน แล้วนำมาเทียบกัน แล้วเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์กับงานที่สุด
ข้อความ | ใช่/ฉันมีเป็นลักษณะแบบนี้ | ไม่ใช่/ไม่ได้เป็นลักษณะแบบนี้ |
1. มีเหตุผลในการทำกิจกรรมต่างๆ | ||
2. หาเหตุผลในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ | ||
3. เป็นคนที่มีการสังเกตสิ่งต่างๆ ได้ดี | ||
4. ชอบค้นหาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ | ||
5. เป็นคนมีเหตุผลในการตัดสินสิ่งต่างๆ |