น้อง ๆ รู้ไหม ความสงสัยมักทำให้เราฉลาดขึ้น ยิ่งถามมาก ยิ่งช่วยให้เราเข้าถึงกระบวนการคิด มีความสนอกสนใจที่ชัดเจน และมีความจำที่แม่นยำขึ้น เมื่อเราสงสัยในระหว่างที่เราพยายามหาคำตอบและได้คำตอบมาแล้วนั้น จะทำให้น้อง ๆ เริ่มโยงเหตุและผลที่มาที่ไปของสิ่งเหล่านั้นได้ดีมากขึ้นด้วย ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์แล้ว ยังพัฒนาสกิลการแก้ปัญหาได้ดีด้วยนะ ฉะนั้นอย่าอายที่จะตั้งคำถาม และต้องคิดตามอยู่เสมอ
วันไหนว่าง ๆ ลองเดินสำรวจผู้คนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นผู้คนตามเส้นทางต่าง ๆ ระหว่างรถติดบนถนน หรือผู้คนในโรงเรียนระหว่างช่วงพักทานข้าว ลองใช้ประสาทสัมผัสของน้อง ๆ มองว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง สังเกตสิ่งต่างๆ มีอะไรน่าสนใจบ้าง มันจะทำให้น้อง ๆ มีมุมมองที่ตื่นตัวอยู่เสมอ
การอ่านหนังสือ เป็นกุญแจสำคัญที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นจิตใจและความคิดของเรา โดยเทคนิคการอ่านคือการจับใจความ ย่อและสรุปความ และตั้งคำถามในใจกับสิ่งที่คุณอ่านได้ ลองอ่านดั งๆ หรือคาดเดาบทต่อไปดู แล้วน้องจะรู้สึกมีส่วนร่วมกับการอ่านครั้งนั้นมากขึ้น
เกมพัฒนาสมองอย่าง ครอสเวิร์ด (crossword) ซูโดกุ (Sudoku) gกมปริศนาอักษรไขว้ หรือแม้แต่เกมเก่าแก่ในระดับตำนานอย่างหมากรุก นอกจากจะให้ความเพลินเพลินแล้ว ยังช่วยลับสมอง พัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์ และแน่นอนว่าเกมน่าจะเป็นเรื่องง่ายที่คิดจะเล่นเมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่ต้องอาศัยแรงกระตุ้นเท่าการฝึกฝนวิธีอื่น ๆ
ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน ไม่ใช่เพียงหาทางแก้ปัญหา แต่ต้องเข้าใจกระบวนการของสิ่งนั้นด้วย เพื่อที่จะพินิจพิเคราะห์ ว่ามันเกิดจากอะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียนรู้ได้ง่าย ๆ จากคาบการทดลองในวิชาวิทยาศาสตร์ เช่น ปากกาจะตกลงพื้นไวกว่าขนนก ด้วยน้หนักและแรงโน้มถ่วง ช่วงเวลาที่เราทำความเข้าใจกระบวนการของสิ่งต่าง ๆ อย่างแท้จริง จะช่วยกระตุ้นทักษะการคิดวิเคราะห์ในดีมากเลยทีเดียว
อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ หรือแม้แต่ในปัญหาด้านอื่น ๆ ให้ลองหาทางออกไว้หลาย ๆ ทาง ยิ่งมีหลายแผน ไม่ว่าจะแผน A แผน B น้อง ๆ ก็สามารถทดลองแก้ปัญหาได้หลายแบบ แล้วลองดูว่าแบบไหนเวิร์คที่สุด จงจำไว้ว่า ทุกปัญหามีทางออกเสมอ ขึ้นอยู่กับมุมมอง
การตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นต้องคิดให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกหรือทำ ลองวิเคราะห์ทั้งผลดีผลเสียที่จะตามมา หรือลองปรึกษาความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ก่อนก็ได้ เมื่อได้ทางออกมาแล้ว ลองถามตัวเองว่านี่คือทางออกที่ดีที่สุดแล้วหรือไม่ เพื่อคิดทบทวนครั้งสุดท้าย ถ้าใช่แล้ว ก็ลุยเลย
ข้อความ | มี/เป็นลักษณะแบบนี้ | ไม่มี/ไม่เป็นแบบนี้ |
1. สามารถการตีความ ความเข้าใจ และให้เหตุผลแก่สิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ | ||
2. รู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง | ||
3. ช่างสังเกต | ||
4. ค้นหาคำตอบได้ว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เรื่องนั้นเชื่อมกับสิ่งนี้ได้อย่างไร เรื่องนี้ใครเกี่ยวข้อง | ||
5. การให้เหตุผลในทุกๆเรื่อง จะต้องแสดงถึงความเข้าใจด้วยการสรุปและให้ความหมายของข้อมูล | ||
6. มีการตั้งคำถามที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้การใช้เหตุผล | ||
7. เป็นคนชอบอ่านจับใจความ | ||
8. ชอบแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ | ||
9. ช่างสงสัย ช่างถาม |