“นายร้อยตำรวจ” เชื่อว่าเป็นอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน เห็นได้จากการเปิดสอบในแต่ละปีจะมีผู้สมัครสอบเป็นจำนวนมาก ทั้งสายตรงที่รับสมัครจากผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย (ม.4-ม.5) เรียนอยู่ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เพื่อสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร(นตท.) 2 ปีจากนั้น ศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รร.นรต.)อีก 4 ปี และการเปิดรับจากบุคคลภายนอกสอบแข่งขันเข้ารับราชการนายร้อยตำรวจ เมื่อเรียบจบออกมาแล้ว ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยังมีหลายสายงาน วันนี้ nine100.com จะพาไปรู้จัก นายร้อยตำรวจ สายพนักงานสืบสวน และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
หน่วยงานสืบสวน เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหน่วยงานนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในคดีความต่าง ๆ เนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่หลักในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทั่วไป และปัญหาอาชญากรรมรุนแรงทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ เมื่อเกิดคดีขึ้นแล้วมีหลายคดีไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ งานสืบสวนจึงเป็นหน่วยงานเริ่มต้นของคดี หรือเป็นงานด่านแรกที่จะต้องทำการสืบสวนสอบสวน เพื่อจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีและลงโทษให้ได้
งานสืบสวน หมายถึง การแสวงหาขเอเท็จจริงและหลักฐาน โดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานสืบสวนได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
หน่วยงานสืบสวน หมายถึง ข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่หาข่าวการกระทำความผิดในคดีต่าง ๆ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการเข้าจับกุมผู้กระทำความผิดได้ทันที่ และส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสอบสวนต่อไป
หลักการสืบสวน เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานของพนักงานสืบสวน เพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นอกจากนั้นกองกำกับการสืบสวนยังมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
9. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
บทบาทหน้าที่และวิธีการสืบสวนของพนักงานสืบสวนหลังเกิดเหตุจะมีการอยู่ 2 วิธี ได้แก่ การสืบสวนโดยวิธีธรรมดา และการสืบสวนโดยใช้วิทยาการ ดังนี้
1. คุณสมบัติของพนักงานสืบสวนทางบุคลิกภาพและสติปัญญา
2. คุณสมบัติด้านการสังเกตและจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล สิ่งของ สถานที่และการจดจำเหตุการณ์
ตำรวจ เป็นองค์กรแรกของระบบงานยุติธรรม มีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้ต้องหา รักษากฎหมายที่เกี่ยวแก่การกระทำผิดในทางอาญา ภารกิจหลักของข้าราชการตำรวจคือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประชาชนมีความศรัทธาเชื่อมั่น จึงต้องกำหนดประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ เป็นกรอบการประพฤติปฏิบัติ ให้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณที่ดีเป็นมาตรฐาน ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 มาตรฐานคุณธรรมและอุดมคติของตำรวจ เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งให้ข้าราชการตำรวจอยู่ในกรอบของศีลธรรมและคุณธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นแนวทางชี้นำให้ข้าราชการตำรวจบรรลุปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
1.1 ข้าราชการตำรวจ พึงยึดถือคุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งในการประพฤติปฏิบัติตน และปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
1.2 ข้าราชการตำรวจพึงยึดถืออุดมคติของตำรวจ 9 ประการ เพื่อเป็นแนวทางชี้นำการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ดังนี้
1.3 ข้าราชการตำรวจพึงหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
การศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันโลกทันเหตุการณ์ และมีความชำนาญการในงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย ระเบียบ ธรรมเนียมการปฏิบัติของส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ และความรับผิดชอบของตน เพื่อสามารถประสานงานได้อย่างกลมกลืนแนบเนียน และเป็นประโยชน์ต่อ ราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่วนที่ 2 มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
2.1 ข้าราชการตำรวจต้องเคารพ ศรัทธา และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
2.2 ข้าราชการตำรวจต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายอื่นโดยเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติ
2.3 ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ ประชาชน ชุมชน และประเทศชาติเป็นสำคัญ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
2.4 ข้าราชการตำรวจต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เพื่อให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติดังนี้
2.5 ข้าราชการตำรวจต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม โดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
2.6 ข้าราชการตำรวจต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี
2.7 นายร้อยตำรวจสายพนักงานสืบสวน ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
2.8 นายร้อยตำรวจสายพนักงานสืบสวน ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
2.9 ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติตามค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนด ดังนี้
2.10 ข้าราชการตำรวจจะต้องสำนึกในการให้บริการประชาชนด้านอำนวยความยุติธรรม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประชาชนมีความเลื่อมใส เชื่อมั่นและศรัทธา ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
2.11 เมื่อเข้าจับกุมหรือระงับการกระทำผิด ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติดังนี้
2.12 ข้าราชการตำรวจต้องตระหนักว่า การใช้อาวุธ กาลัง หรือความรุนแรงเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด ข้าราชการตำรวจอาจใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบแบบแผน หรือเมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยใช้อาวุธต่อสู้ขัดขวางการจับกุม หรือเพื่อช่วยบุคคลอื่นที่อยู่ในอันตรายต่อชีวิต
2.13 ในการรวบรวมพยานหลักฐาน การสืบสวนสอบสวน การสอบปากคำ หรือการซักถามผู้กระทำความผิด ผู้ต้องหา ผู้ที่อยู่ในความควบคุมตามกฎหมาย ผู้เสียหาย ผู้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือบุคคลอื่น ข้าราชการตำรวจต้องแสดงความเป็นมืออาชีพโดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการตำรวจ รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบและสติปัญญา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
2.14 ข้าราชการตำรวจต้องควบคุมดูแลบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของตนอย่างเคร่งครัด ตามกฎหมายและมีมนุษยธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
2.15 ข้อมูลข่าวสารที่ข้าราชการตำรวจได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการ ปฏิบัติหน้าที่อื่น ข้าราชการตำรวจจะต้องรักษาข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นความลับอย่างเคร่งครัดเพราะอาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์หรือชื่อเสียงของบุคคล หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษทั้งต่อผู้เสียหายหรือผู้กระทำความผิด ข้าราชการตำรวจจะเปิดเผยข้อมูลนั้นได้ต่อเมื่อมีความจาเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเพื่อ ประโยชน์ในราชการตำรวจที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อการดาเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น
ความก้าวหน้าในหน้าที่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตรทั้ง พนักงานสืบสวนและนายร้อยตำรวจทุกสายงาน นอกจากความมั่นคงในอาชีพยังมีสวัสดิการทั้งที่กำหนดให้เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ดังนี้
1. สวัสดิการเกี่ยวกับการลา ระเบียบการลาของข้าราชการแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ
2. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
พนักงานสืบสวนและนายร้อยตำรวจทุกสายงานสามารถเบิกได้ทั้งค่ารักษาพยาบาลพ่อแม่ คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นคนไร้ความสามารถ
3. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สวัสดิการของนายร้อยตำรวจ สามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้สูงสุด 3 คน จนมีอายุครบ 25 ปี ทั้งที่เรียนในสถานศึกษาภาครัฐและสถานศึกษาภาคเอกชน
4. สวัสดิการเกี่ยวกับบ้านพักของทางราชการ
สำหรับพนักงานสืบสวนและนายร้อยตำรวจ กรณีไม่มีบ้านพักสามารถใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง
5. สวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยง
ข้าราชการตำรวจมีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยง กรณีเดินทางไปราชการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่า ที่พัก ค่าพาหนะ ค่าเช่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และอื่น ๆ
6. เงินเพิ่มพิเศษ ข้าราชการตำรวจมีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มพิเศษ เช่น
7. ความก้าวหน้าในหน้าที่
พนักงานสืบสวนและนายร้อยตำรวจ มีโอกาสได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือน ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน และเดือนตุลาคม ของทุกปี รายละเอียดการพิจารณาขึ้นเงินเดือน มี ดังนี้
8. รับสวัสดิการค่าตัดเครื่องแบบ
ข้าราชการตำรวจ จะได้รับสวัสดิการค่าตัดเครื่องแบบปีละ 2,000 บาท
9. ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ข้าราชการตำรวจ จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ สิ่งที่เป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศ และบำเหน็จความชอบที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์ ซึ่งถือเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล
10. สวัสดิการเงินกู้กองกลาง ตร.
ข้าราชการตำรวจ จะได้รับสินเชื่อสวัสดิการเงินกู้กองกลาง ตร. ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ต่ำกว่าสินเชื่อธนาคาร
11. สวัสดิการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ
ข้าราชการตำรวจ จะมีสวัสดิการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ ที่ให้ดอกเบี้ยเงินฝากส
12. สวัสดิการเงินกู้
ข้าราชการตำรวจ จะได้รับสวัสดิการเงินกู้ เพื่อที่อยู่อาศัย หรือสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับเงินกู้ เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ
13. เงินช่วยเหลือข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการตำรวจจะได้รับเงินช่วยเหลือกรณีการตำรวจเสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่
14. มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ข้าราชการตำรวจจะมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นสวัสดิการหลักเกษียณอายุราชการไว้ใช้ในยามแก่เฒ่า
15. มีรถประจำตำแหน่ง
พนักงานสืบสวนหรือข้าราชการตำรวจ จะมีรถราชการหรือรถประจำตำแหน่งให้ใช้ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ
1. การสอบสายตรงเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ แบ่งคุณสมบัติผู้สมัครสอบออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 รับสมัครจากบุคคลที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย (ม.4-ม.5)ม. 4 และต้องเรียนอยู่ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เท่านั้น โดยมีอายุระหว่าง อายุ 16-18 ปี เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร(นตท.) 2 ปีจากนั้น ศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รร.นรต.) 4 ปี จบมารับพระราชทานกระบี่ ได้รับการแต่งตั้งยศเป็นร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.)
กลุ่มที่ 2 รับสมัครจากบุคคลที่เรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ อายุไม่เกิน 18 ปี สอบเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อย โดยไม่ต้องเรียนเตรียมทหาร 2 ปี
กลุ่มที่ 3 รับจากผู้ที่สอบเข้าเรียนนายสิบตำรวจ เรียน 1 ปี จะมีสิทธิ์สอบนายร้อยตำรวจ อายุต้องไม่เกิน 25 ปี
2. นายร้อยตำรวจรับจากบุคคลภายนอก
สำหรับเส้นทางของบุคคลภายนอกที่จะก้าวสู่เส้นทางนายร้อยตำรวจ ในแต่ละปีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเปิดรับสมัครบุคคลที่มีวุฒิปริญญาตรีในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อสอบบรรจุเป็นนายร้อยตำรวจในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี
การเปิดสอบนักเรียนนายร้อยตำรวจในแต่ละปี จะมีผู้ที่สนใจสมัครสอบเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ที่ต้องการสมัครสอบแข่งขันต้องตัวหรือเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบนายร้อยตำรวจ ดังนี้
สำหรับคนที่มีความมุ่งมั่น ขยันอ่านหนังสือ ขยันติว มีวินัยในการเตรียมความพร้อมของตนเอง การสอบนายร้อยตำรวจหรือสอบเพื่อบรรจุรับราชการตำรวจ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จ และการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบ นอกจากตามความรู้ตามที่ระบุในคุณสมบัติของผู้สมัครสอบแล้ว การเรียนรู้หรือศึกษาความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ รวมทั้งสวัสดิการความก้าวหน้าในสายพนักงานสืบสวน หรือสายงานอื่น ๆ ถือเป็นความรู้รอบตัวที่มีประโยชน์ต่อการสอบทั้งสิ้น