• ตาดู การมองเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการฝึกฝนการจำ ลองฝึกจดจำจากการสังเกตสี รูปร่าง ขนาด เนื้อผิว หรือรายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น
• หูฟัง การฟังจะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น เช่น ทบทวนบทเรียนด้วยการอ่านออกเสียง พูดทวนสิ่งที่จะทำออกมาดัง ๆ มันจะช่วยให้เราสนใจในข้อมูลที่อยู่ตรงหน้ามากขึ้น และยังได้ย้ำเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งจะช่วยให้จำได้มากขึ้น
• วาดเป็นภาพหรือเขียนสรุปตามความคิด การทำแบบนี้จะช่วยเชื่อมโยงความคิดและสิ่งที่ต้องการจำ จะช่วยให้จำได้ดีขึ้น แนะนำให้ทำเป็นภาพเพราะจะช่วยทั้งในเรื่องการจำและความคิดสร้างสรรค์
• ลงมือทำจริง การฝึกฝนหรือลองทำจริงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการฝึกทักษะการจำ เพราะการได้ลงมือทำจะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น และถ้าทำพลาดก็จะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้นด้วย เช่น จากที่เคยอ่านแต่วิธีทำโจทย์เลข ก็ลองลงมือทำโจทย์จริงเลย ถ้าทำผิดเราก็จะได้รู้ว่าเรายังไม่เข้าใจตรงไหน
เทคนิคช่วยจำนี้เป็นเทคนิคที่มีตั้งแต่ยุคกรีก-โรมัน เรียกว่า ‘เมมโมนิก’
• จินตนาการ & เชื่อมโยง
ใช้ความคิดสร้างสรรค์เชื่อมโยงกับสิ่งที่ต้องการจะจำ อาจจะจินตนาการเป็นภาพ เชื่อมโยงเป็นเรื่องราว เป็นสถานการณ์ก็ได้ เช่น จำบทเรียนวิชาสังคมเป็นภาพ เป็นฉากในแต่ละเรื่องราว การทำแบบนี้จะช่วยให้จำได้ดีขึ้นและช่วยให้ไม่ลืมง่าย ๆ ด้วย
การจะเป็นคนจำแม่นนั้น นอกจากหมั่นฝึกฝนเทคนิคการจำอย่างสม่ำเสมอแล้ว แนะนำให้บริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้สมดุลกันด้วย พร้อมกับทานอาหารที่จะช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงให้มีความจำดีขึ้น และอย่าท้อ เพราะช่วงแรก ๆ ที่ฝึกก็อาจจะยังมีลืมได้บ้าง แต่ถ้าตั้งใจและฝึกฝนอย่างเป็นประจำ รับรองว่าจะกลายเป็นคนจำแม่น อ่านอะไรก็ไม่ลืมแน่นอน
แหล่งข้อมูล
ลุงไอน์สไตน์. (2553). เพิ่มพลังความจำแบบอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสคิต