ปฏิเสธเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเชิงวิพากษ์ด้วยการเอาอายุมาเป็นเกณฑ์ ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกว่าต้องเชื่อฟังครูเพราะอายุมากกว่า ต่างจากการเรียนการสอนในต่างประเทศ เช่น ฟินแลนด์ ที่ครูและนักเรียนต้องเท่ากัน เด็กไม่ต้องเรียนครูว่า ครู แต่ให้เรียกชื่อแทน ทำให้เด็กมีความกล้าที่จะถาม กล้าที่จะพูดแสดงความคิดเห็นโดยไม่กลัวว่าจะผิดหรือถูก
สำหรับเด็กที่เรียนไม่เก่งก็จะเกิดความอาย ส่วนคนที่เรียนเก่งก็อาจจะเกิดความภูมิใจเกินไป เพราะระบบการศึกษาถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการเข้าสู่มหาวิทยาลัย และผลก็คือมีหลายคนที่มีพรสวรรค์ มีความสามารถเฉพาะตัว เก่ง และมีความคิดสร้างสรรค์ พวกเขากลับคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถอะไรเลย เพียงเพราะว่าเรียนไม่เก่ง สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ เช่น การติดป้ายเด็กที่สอบติดไว้ที่หน้าโรงเรียน แล้วเด็กที่สอบไม่ติดล่ะ พื้นที่ของพวกเขาอยู่ที่ไหน ? เด็กอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งและหยุดพัฒนาตัวเองไปเลยก็ได้
เพราะการเรียนถูกทำให้เป็นการแข่งขันมากกว่าจะร่วมมือกัน ทำให้ความหลากหลายทางทักษะ ความรู้ และวิธีการเรียนลดลง เพราะทุกคนต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานหลักสูตรเดียวกัน คือ เก่งคณิตศาสตร์ เก่งภาษา ไม่มีการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้หลากหลายเป็นรายคน แต่ถูกทำให้อยู่ในกรอบ จึงทำให้เด็กที่แม้จะมีความคิดสร้างสรรค์แค่ไหน ก็ไม่ได้ต่อยอดหรือไปต่อได้เลย ทั้งที่ในหลายประเทศเขาเน้นสร้างเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์พอ ๆ กับการรู้หนังสือ และพัฒนาสองอย่างนั้นอย่างเท่าเทียมกัน
นักเรียนกว่า 90% ไม่รู้เลยว่าตัวเองชอบอะไรหรืออยากเรียนอะไร เพราะถูกตั้งโปรแกรมให้เรียนเพื่อสอบ เรียนเพื่อจบปริญญา เมื่อจบแล้วก็พบว่าต้องมีปริญญาโท เพื่อขยับจากงานเก่าที่ต้องการคนจบปริญญาตรี แล้วก็ต้องมีปริญญาเอกเพื่อให้ได้อีกงานหนึ่ง หรือที่เราเรียกว่าการเฟ้อของการศึกษา เพราะเด็ก ๆ ไม่เคยได้ถูกฝึกให้ตั้งคำถามเลยว่าตัวเองชอบอะไรจริง ๆ และไม่เคยได้รับการสนับสนุนในสิ่งที่ชอบจริง ๆ ตั้งแต่ตอนที่เป็นนักเรียน ทั้งที่จากนี้ไปอีก 30 ปีข้างหน้าทั่วโลกจะมีคนจบการศึกษามากกว่าจำนวนคนทั้งหมด ถึงตอนนั้นการมีปริญญาอาจจะไ่ม่มีความหมายอีกต่อไปแล้วก็ได้
ใครที่เรียนเข้าใจช้ากว่าคนอื่นก็เกิดความกังวลในการสอบ และบางคนก็มองว่าการบ้านเป็นงานที่ต้องทำให้เสร็จก่อนถึงจะออกไปเล่นได้ เป็นหน้าที่ที่หนักอึ้งมาโดยตลอด การเรียนรู้เลยเหมือนเป็นสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จไปวัน ๆ ไม่ได้ทำให้รู้สึกสนุก ชอบ หรือสนใจอยากจะทำอย่างแท้จริง ทำให้เด็กหมดไฟง่าย ไร้ความคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพราะที่มีอยู่ก็ล้นไม้ล้นมือ ทำไม่หมด ทั้งที่ธรรมชาติของเด็กทุกคนนั้นกล้าที่จะลองถึงพวกเขาจะไม่รู้ก็ตาม
ปาโบล ปิกัสโซ เคยกล่าวไว้ว่า “เด็กทุกคนเกิดมาเป็นศิลปิน ปัญหาก็คือจะทำยังไงให้ความเป็นศิลปินนั้นยังคงอยู่เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่” อยู่ที่เราแล้วล่ะว่าจะปรับตัวยังไงให้ทันโลก เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะถูกพัดให้เข้าไปในกระแสความสำเร็จแบบสำเร็จรูป เพราะปัจจุบันโรงเรียนไม่ใช่แค่ไม่ส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์มากพอ แต่ยังไม่ส่งเสริมให้มีความเป็นตัวของตัวเอง (Individuality) ความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self Esteem) และความเชื่อ (The Soul) อย่างเห็นได้ชัดด้วย
แหล่งข้อมูล
เคน โรบินสัน I TED2006 หรือโรงเรียนจะเป็นแหล่งทำลายความคิดสร้างสรรค์