แล้วการเลี้ยงดูแบบไหน ส่งผลอย่างไรต่อบุคคลิก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการเลี้ยงดูใน 3 แบบ ที่ส่งผลต่อบุคคลิกและพฤติกรรมของลูกเมื่อเติบโตขึ้น ในลักษณะที่แตกต่างกันมาฝากค่ะ
การเลี้ยงดูในรูปแบบนี้ ถือเป็นการเลี้ยงดูที่สร้างความสุขและความอบอุ่นใจให้กับลูกได้มากที่สุด และถือว่าเป็นรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูลูก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความเอาใจใส่จะต้องตั้งอยู่บนความเหมาะสม ไม่มากเกินไป จนทำให้ลูกรู้สึกว่าถูกบังคับ โดยการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่นั้นไม่ใช่การตามใจ หรือการเอาใจในทุก ๆ เรื่อง แต่เป็นการดูแลและใส่ใจ โดยอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ตกลงกันไว้ พ่อแม่ทำหน้าที่สร้างความอบอุ่นและปลอดภัย เพื่อให้ลูกเติบโตและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (Authoritative Parenting Style)
จะสามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีทักษะทางสังคมที่ดี กล้าแสดงความคิดเห็น และแสดงความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างชัดเจน
การเลี้ยงดูในรูปแบบนี้ คือ การเลี้ยงดูที่มีความเข้มงวดสูง มีการใช้อำนาจควบคุมโดยวิธีบังคับ และไม่ตอบสนองความต้องการของลูก พ่อแม่ในลักษณะนี้มักจำกัดความเป็นอิสระและความเป็นตัวตนของลูกในทุก ๆ ด้าน หากไม่ทำตามก็จะถูกลงโทษ ไม่ให้โอกาสลูกแสดงความคิดเห็นหรือแสดงความเป็นตัวของตัวเองเลย
เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบควบคุม (Authoritarian Parenting Style)
มักควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ หรือมีความฉลาดทางอารมณ์น้อย มีความหวาดกลัวและวิตกกังวลต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ง่าย ใช้ชีวิตอยู่กับผู้อื่นได้ลำบาก เพราะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง และขาดทักษะความเข้าใจผู้อื่น
การเลี้ยงดูในรูปแบบนี้ คือ การที่พ่อแม่ไม่ให้ความสนใจ ไม่ดูแลเอาใจใส่ หรือเพิกเฉยกับพฤติกรรมใด ๆ ก็ตามของลูก ถึงแม้ลูกจะทำในเรื่องที่ไม่ดี พ่อแม่ก็ไม่มีการสร้างกฎเกณฑ์ หรือวางมาตรการใด ๆ เพื่อให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้
เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (Uninvolved Parenting Style)
จากงานวิจัยยังพบว่า เด็กมักมีลักษณะต่อต้านสังคม มีความบกพร่องทางสังคมและการเรียน จนกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา จึงไม่แปลกที่เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสติดยาเสพติด ทำผิดกฎหมาย หรือตั้งตัวเป็นแก๊งส์อันธพาล เพราะนี่คือวิธีที่จะเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง
สุภาพรรณ ศรีสุข (ครูแหม่ม)
ที่ปรึกษาวิชาการ โรงเรียนศิลปพัฒนาการสมองเด็ก K.D.S.