Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Grammar: ครบเครื่องเรื่องควรรู้ในการใช้ Can และ Could

Posted By Benjamaporn | 03 ส.ค. 63
60,788 Views

  Favorite

Can และ Could แปลว่า “สามารถ” “ทำได้” หรือ “เป็นไปได้” นั้น มีรายละเอียดของคำและการใข้งานอย่างไร มาทำความเข้าใจกันค่ะ


ทั้ง Can และ Could เป็น Modal Verb หรือ กริยาช่วยที่สำคัญอย่างมาก โดย Can คือรูปปัจจุบัน และ Could คือรูปอดีต มักบ่งบอกถึงความสามารถที่ผ่านมาแล้วในอดีต
Modal Verb นั้นมีหลายคำ ที่มีความหมายในตัวเองที่ต่างกันไปค่ะ นอกเหนือจากสองคำนี้ก็จะมี Shall – Should – Will – Would – May – Might – Must 


หลักการใช้งานง่าย ๆ คือ Can/Could  + Verb infinitive หรือกริยาที่ไม่ผันรูปเสมอ เช่น
I can go alone, no worry. (ฉันไปคนเดียวได้ ไม่ต้องห่วง)
**ต้องระวังมักจะใช้กันผิดเป็น I can to go alone.

ไม่ว่าจะใช้กับประธานเอกพจน์ หรือ พหูพจน์ Can/Could ก็ไม่ต้องมีการผันรูปกริยา เหมือนกับกริยาธรรมดาอื่นๆ เช่น
I can buy you lunch. 
They can buy you lunch. 
ไม่ว่าจะเราคนเดียว หรือว่าพวกเราหลายคน ที่จะซื้อข้าวกลางวันให้เธอ ก็ใช้ can โดยที่ไม่ต้องผันรูปเป็นอย่างอื่น

Can และ Could สามารถนำมาใช้งานกับประโยคได้ถึง 5 สถานการณ์ด้วยกัน โดยหลักแล้วจะใช้แทนกันได้ทั้ง Can และ Could โดยที่ can มีความเป็นกันเองมากกว่า และ Could ใช้เมื่อเราอยากแสดงความสุภาพกับคู่สนทนามากกว่า หรือในเวลาที่เราจะพูดถึงความสามารถในอดีต ดังนี้


บอกถึงความสามารถ (Ability) ว่าเราทำได้

Ex. I can swim. 
(ฉันว่ายน้ำได้ *และตอนนี้ก็ยังว่ายได้อยู่)

Ex. I could play violin when I was a child.
(ฉันเคยเล่นไวโอลินได้ตอนยังเด็ก [ตอนนี้เล่นไม่ได้แล้ว])


บอกถึงการนำเสนอความช่วยเหลือ หรือคำแนะนำ (Offer or suggestion)

Ex. I can write this letter for you. 
(ฉันเขียนจดหมายนี้ให้คุณได้)

Ex. I could help you write this letter. 
(ฉันเขียนจดหมายนี้ให้คุณได้)
**สองประโยคที่ความหมายเหมือนกันนี้ การใช้ Could จะให้อารมณ์ที่ถามด้วยความสุภาพ เกรงใจ มากกว่า


บอกถึงความเป็นไปได้ (Possibility) 

Ex. It can get very cold there at night, we never knew. 
(ที่นั่นมันอาจจะหนาวมากตอนกลางคืนก็ได้นะ เราไม่มีทางรู้หรอก)

ความเป็นไปได้ที่อาจเกิดในอดีตนั้นมีวิธีการใช้งานที่น่าสนใจดังนี้
Could + have + past participle (กริยาช่อง3) 
Ex. Please be aware, you could have broken your arm! 
(ต้องระวังนะ เธออาจจะแขนหักก็ได้)
*ในที่นี้ อาจจะพูดถึงการเล่นกีฬาบางอย่างที่ผู้พูดให้ระวัง เพราะอาจจะเกิดแขนหักได้ แต่ในความจริงแล้วไม่ได้เกิดขึ้น


บอกถึงการขอความช่วยเหลือ(Request)

Ex. Can you pass me the salt? 
(คุณช่วยหยิบเกลือให้หน่อยได้มั้ย)

Ex. Could you pass me the salt please? 
(คุณช่วยหยิบเกลือให้หน่อยได้มั้ย)
**สองประโยคที่ความหมายเหมือนกันนี้ สังเกตว่ามีการใช้ please ในประโยค Could เพราะเป็นการขอความช่วยเหลือที่สุภาพมากกว่า


บอกถึงการขออนุญาต (Permission)

Ex. Can I borrow your book? (ฉันขอยืมหนังสือคุณได้ไหม)
Ex. Could I borrow your book please? (ฉันขอยืมหนังสือคุณได้ไหม)
**เช่นกันในที่นี้ ที่สองประโยคที่ความหมายเหมือนกันในประโยค Could เพราะเป็นการขออนุญาตที่สุภาพมากกว่า


รูปปฏิเสธของทั้ง Can และ Could คือ

Cannot (Can’t) 
Ex. You can’t smoke here. (คุณสูบบุหรี่ที่นี่ไม่ได้)
Ex. I can’t ride a bicycle. (ฉันขี่จักรยานไม่เป็น)

Could not (Couldn’t) 
Ex. I couldn’t speak Japanese before I moved here.  (ฉันพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ก่อนที่จะย้ายมาที่นี่)
Ex. My brother couldn’t cook when he was a child. (น้องชายฉันทำอาหารไม่เป็นตอนเขายังเด็ก)


**เกร็ดความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cannot และ Can not 

เรามักจะใช้ cannot ที่เขียนติดกันเป็นหลัก สำหรับรูปปฏิเสธของ can ค่ะ ในประโยคปฏิเสธที่มาเกี่ยว โดยที่ Can not นั้น ไม่ได้มีความหมายว่า ทำไม่ได้ แต่ มักจะใช้ในกรณีที่เป็นประโยคต่อกัน ในรูปของ (Can) Not only… but also เช่น 

We can not only clear our house, but also donate unused stuff to other people in need. 
(พวกเราไม่ใช่แค่เคลียร์บ้านได้เท่านั้นนะ แต่ยังได้บริจาคของที่ไม่ได้ใช้แล้วให้คนที่ต้องการได้อีกด้วย) 

ในประโยคนี้ หลักเลยคือ We can… พวกเราสามารถ ทำได้ถึงสองอย่างย่อย ๆ ที่ตามมา เห็นไหมคะว่าไม่ได้มีความหมายว่า ทำไม่ได้ แต่อย่างใด


หวังว่าวันนึ้คงจะได้ความรู้แน่น ๆ กันไปเกี่ยวกับ Can และ Could ไปไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วกลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษดี ๆ กัน สวัสดีค่า

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Benjamaporn
  • 9 Followers
  • Follow