‘แอลล์ วู้ดส์’ ถูกแฟนหนุ่มบอกเลิกด้วยเหตุผลที่ว่า เธอมีผมที่บลอนด์เกินไป แถมยังชิลล์เกินไปไม่เหมาะที่จะเป็นภรรยาของเขาในอนาคต ทั้งที่แอลล์ วู้ดส์นั้นเป็นผู้หญิงที่สุดจะเฟอร์เฟค เธอทั้งสวย รวย และเรียนเก่ง แต่ก็โดนบอกเลิกด้วยเหตุผลงี่เง่า เธอจึงสะบัดบ๊อบและตั้งใจสอบเข้าเรียนกฎหมายเพื่อพิสูจน์ให้อดีตแฟนเห็นว่า เขาคิดผิด
หนังเรื่องนี้ นอกจากว่าด้วยเรื่องการปรับตัวสอบเข้าเรียนกฎหมายแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าถ้าใครที่ไม่เชื่อมั่นในตัวเองก็จะตกเป็นเหยื่อของสังคมที่มักจะบอกว่าเราทำไม่ได้ เราไม่เหมาะ ทั้ง ๆ ที่ถ้าเราพยายามทำด้วยความตั้งใจ สุดท้ายก็ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้
ซีรีส์เรื่องนี้สร้างมาจากเรื่องจริงของ ‘มาดาม ซี.เจ.วอล์คเกอร์’ ที่สร้างธุรกิจผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับคนผิวสีจนกลายเป็นเศรษฐีนีคนแรก ๆ ของอเมริกา ด้วยการคิดค้นครีมบำรุงผมสำหรับคนผิวสี เธอได้ทิ้งคำพูดที่สร้างแรงบันดาลใจมาจนถึงทุกวันนี้แม้เธอจะเสียชีวิตไปแล้วกว่า 100 ปีว่า “ในเมื่อฉันทำได้ ผู้หญิงนิโกรทุกคนก็ต้องทำได้ อย่าเอาแต่นั่งเฉย ๆ แล้วรอให้โอกาสมันเดินมาหา เธอต้องลุกขึ้นมาสร้างมันด้วยตัวเอง”
หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่หนังที่เกี่ยวกับ ’การเรียน’ เลย แต่เป็นตัวอย่างที่ดีของคนคนหนึ่งเกี่ยวกับ ‘การเรียนรู้’ ที่มักจะหายไปจากเด็กไทย เพราะการศึกษาไทยเน้นเรียนโดยการท่องจำที่ผ่านครูผู้สอนมากเกินไป จนนักเรียนไม่มีเวลาที่จะเรียนรู้อะไรด้วยตัวเองซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการใช้ชีวิต
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รางวัลออสการ์สาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 1998 เนื้อเรื่องเล่าถึงภารโรงชื่อ ‘วิลล์’ ที่เป็นคนไม่เอาไหน ขี้เหล้าเมายา ชอบต่อยตีกับคนอื่นไปทั่ว แต่เขากลับเป็นอัจฉริยะที่สามารถแก้โจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากที่สุดได้โดยที่นักศึกษาในชั้นไม่มีใครแก้ได้เลยสักคน ถึงแม้จะมีคนเห็นแววและอยากช่วยให้วิลล์เป็นนักคณิตศาสตร์ แต่เขากลับไม่เชื่อว่าตัวเองจะเป็นได้ เพราะเขาเป็นไอ้ห่วยมาทั้งชีวิต จากการถูกพ่อแม่ล่วงละเมิดทางเพศตั้งแต่เด็ก และมีปัญหาทางจิตอย่างรุนแรง
การเรียนมันเครียดก็จริง แต่บางคนอาจจะไม่ได้เครียดเพราะเรื่องเรียนอย่างเดียว ยังมีอีกหลายเรื่องในชีวิตที่ทำให้เราเครียด จนทำให้เราคิดผิด ตัดสินใจพลาด ไปอยู่ผิดที่ผิดทาง ทำให้ไม่ได้มีโอกาสใช้ความสามารถที่มี ขอให้หนังเรื่องนี้เป็นตัวอย่างให้หลายคนเห็นถึงการพัฒนาตัวเอง จากคนก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง มีปัญหาทางจิตอย่างรุนแรงแบบวิลล์ เขาสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นคนที่ดีขึ้นและได้ใช้ความอัจฉริยะของเขาให้เป็นประโยชน์
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงของ ‘ลิซ เมอร์เรย์’ เด็กสาวอายุ 9 ขวบที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด พ่อแม่ติดยา ในย่านบร็องซ์ รัฐนิวยอร์ก เมื่อแม่เสียชีวิต พ่อถูกส่งไปบ้านพักคนชรา ลิซจึงกลายเป็นเด็กข้างถนน แทนที่เธอจะใช้ความลำบากเป็นข้ออ้างให้ยอมแพ้ แต่ลิซกลับใช้มันเป็นแรงผลักดัน เธอนำความล้มเหลวของพ่อแม่ตัวเองเป็นเครื่องเตือนใจว่าเธอจะต้องไปได้ไกลกว่าพ่อแม่
‘ลิซ เมอร์เรย์’ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่วัยรุ่นผู้ด้อยโอกาสทั่วโลกเป็นจำนวนมาก จากความตั้งใจสอบชิงทุนของ New York Times เพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก เธอไม่ใช่เด็กหัวดีมากมาย แต่ความพยายามนั้นเกินร้อย
Unorthodox จะคล้าย ๆ หนังเรื่อง Billy Elliot ที่ตัวละครมีความฝันอยากจะเป็นอย่างหนึ่ง แต่ถูกครอบครัวคาดหวังให้เป็นอย่างอื่น แต่ Unorthodox จะสาหัสกว่าเพราะเป็นเรื่องของ ‘เอสตี้’ วัยรุ่นสาวชาวยิวที่เกิดมาในครอบครัวที่เคร่งศาสนามาก ชีวิตของเธอถูกกำหนดให้เกิดมาเพื่อแต่งงานและมีลูกให้ได้มากที่สุดเท่านั้น ห้ามเป็นอย่างอื่นเด็ดขาด
ในหนังเรื่องนี้เราจะได้เห็นการต่อสู้ของวัยรุ่นอายุ 19 ที่เกือบจะรู้ตัวเองเมื่อสาย การค้นหาตัวเองไปสู่อิสระเพื่อใช้ชีวิตที่เธอฝันอยากจะเป็นคือนักเปียโน ไม่แน่ว่าดูจบแล้วหลายคนอาจจะรู้สึกว่ามีเศษเสี้ยวหนึ่งที่เข้าใจ ‘เอสตี้’ เพราะวัยรุ่นในสังคมไทยก็ถูกกดดันไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่งไม่ต่างกัน